โครงการบ้านตู้เย็น : จากคำสอนพ่อสู่ความสำเร็จเชิงประจักษ์ของชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง

Main Article Content

เทียนชัย สุริมาศ
แทนพันธุ์ เสนะพันธ์ บัวใหม่

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปรับใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับโครงการบ้านตู้เย็น รวมทั้งศึกษาคุโณปการของโครงการบ้านตู้เย็นในฐานะการเป็นเครื่องมือของการพัฒนาชุมชนสู่การเป็นชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง โดยพื้นที่ศึกษาคือบ้านโคกเมือง หมู่ 12 ตำบลบางเหรียง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา การศึกษาในครั้งนี้ใช้วิธีการเชิงคุณภาพ โดยเน้นการเข้ามามีส่วนร่วมของชุมชนในการร่วมถอดบทเรียนตลอดระยะเวลาการศึกษา ซึ่งหลังจากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องแล้ว ได้ใช้การถอดบทเรียนจากการเล่าเรื่องเป็นหลักในการเก็บข้อมูล โดยผู้ให้ข้อมูลหลักคือ ผู้นำชุมชน สมาชิกครอบครัวที่ดำเนินโครงการบ้านตู้เย็น และบุคคลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอาศัยเทคนิคการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง การสังเกต และการสนทนากลุ่ม ผลการศึกษาพบว่าโครงการบ้านตู้เย็นมีการปรับใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นกรอบและแนวคิดในการดำเนินชีวิต ทำให้ครอบครัวสามารถพึ่งตนเองและลดการพึ่งพาปัจจัยจากภายนอก และยังเป็นเครื่องมือการพัฒนาชุมชนสู่ความพอเพียง เพราะเป็นความสำเร็จเชิงประจักษ์ที่ทำให้สมาชิกในชุมชนได้มีพื้นที่สนทนาเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งเป็นเครื่องมือให้เกิดการเรียนรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงทั้งในและนอกชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

อภิชัย พันธเสน. (2552). ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์กองทุนสนับสนุนการทำวิจัย.

ประเวศ วะสี. (2541). ยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ สังคมและศีลธรรม. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนเพื่อสังคม ธนาคารออมสิน.

โกวิทย์ พวงงาม. (2553). การจัดการตนเองของชุมชนและท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: บพิธการพิมพ์.

ปาริชาติ วลัยเสถียรและคณะ. (2546). กระบวนการและเทคนิคการทำงานของนักพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: โครงการเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.).

ยุวัฒน์ วุฒิเมธีและคณะ. (2549). “แนวคิดและปรัชญาการพัฒนาชุมชน” เอกสารการสอนชุดวิชาการพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ปรีชา ไวยะวงษ์. (2554). การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน. วารสารเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 48.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2557). สัจธรรมแห่งแนวพระราชดำริ สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร : บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

ถวิลดี บุรีกุล. (2557). การมีส่วนร่วม: แนวคิด ทฤษฎีและกระบวนการ. เอกสารประกอบการศึกษาดูงานของคณะกรรมาธิการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภาณ สถาบันพระปกเกล้า.

ธันวา จิตต์สงวนและคณะ. (2551). โครงการศึกษาแนวทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง: บทเรียนจาก 40 หมู่บ้าน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

ดิเรก ฤกษ์สาหร่าย. (2527). การพัฒนาชนบท. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สำนักยุทธศาสตร์ด้านนโยบายสาธารณะ. (2554). การน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ. วารสารเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

นคเรศ ณ พัทลุงและยุวัฒน์ วุฒิเมธี. (2555). 6 คุณลักษณะภาวะผู้นำที่มีผลต่อการพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร.

วรวิทย์ อวิรุทธ์วรกุล. (2552). การน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในภาคประชาชน ชุมชน เอกชน และภาครัฐ. วารสารเศรษฐกิจและสังคม.

ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดลำปาง. (2548). การถอดบทเรียนความสำเร็จงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นภาคเหนือ. ลำปาง: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

สำนักยุทธศาสตร์ด้านนโยบายสาธารณะ. (2554). การน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ. วารสารเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.