พ่อหลวงของปวงประชา : มหาราชเพื่อราษฎร์ ศาสน์ และรัฐประศาสนการของแผ่นดินไทย

Main Article Content

ธรรมรัตน์ ธรรมยาฤทธิ์
จุฬา เจริญวงค์
พงษ์เมธี ไชยศรีหา

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นการพรรณนาถึงพระเกียรติคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ซึ่งพระองค์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่ออาณาประชาราษฎรทุกหมู่เหล่าที่อยู่ภายใต้ร่มพระบรมโพธิสมภาร โดยพระองค์ทรงประกอบพระราชกรณียกิจนานัปการเพื่อให้ประชาชนอยู่ดีกินดีและมีความสุข ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นได้จากพระราชกรณียกิจบำบัดทุกข์บำรุงที่พระองค์ได้ทรงปฏิบัติมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริต่าง ๆ หรือการพระราชทานพระบรมราโชวาทในโอกาสสำคัญ ล้วนมีนัยสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนทั้งสิ้น ขณะเดียวกัน พระองค์ยังทรงปฏิบัติให้เห็นเป็นแบบอย่างเช่นเดียวกับที่ทรงพระราชทานพระบรมราโชวาทไว้ สิ่งที่เห็นได้อย่างเป็นรูปธรรม คือ ทรงประพฤติและปฏิบัติตามหลักทศพิธราชธรรม ประชาชนทุกหมู่เหล่าต่างยกย่องให้พระองค์เป็น “พระมหาธรรมราชา” หมายถึง กษัตริย์ผู้ทรงธรรมเป็นแบบอย่างกับประชาชน และนัยคำว่า มหาธรรมราชาของพระองค์ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า เมื่อเกิดวิกฤติหรือทางตันของประเทศ พระองค์ คือ ศูนย์รวมจิตใจของประชาชนทั้งประเทศที่ทุกฝ่ายต่างยอมรับและน้อมรับปฏิบัติจนนำไปสู่การยุติปัญหาปัญหาต่างๆได้อย่างเห็นผล นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงเป็นต้นแบบของนักรัฐประศาสนศาสตร์ กล่าวคือ พระราชดำริที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาของประชาชนถูกนำไปแปลงเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาตรงกับความต้องการของประชาชน

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

เกษียร เตชะพีระ. (2557). เสวนาวิชาการหัวข้อ “รัฐธรรมนูญไทย : มองไปข้างหน้า”. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.

จุฬา เจริญวงค์. (2558). เอกสารประกอบการสอนวิชานโยบายสาธารณะและการวางแผน. สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

ไชยยันต์ ชัยพร. (2556). มหาราช, ราชาปราชญ์, ธรรมราชา, และราชาผู้ทรงภูมิธรรม : แนวคิดและการประยุกต์ใช้. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.

ธรรมรัตน์ ธรรมยาฤทธิ์. (2554). ผลสัมฤทธิ์ของการบูรณาการหลักธรรมาธิปไตยเพื่อส่งเสริมหลักประชาธิปไตย โดยรัฐ บ้าน วัดและโรงเรียนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฏีบัณฑิต วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยลงกรณ์.

บรรจบ บรรณรุจิ. (2557). พระธรรมราชา รากฐานของประชาธิปไตยที่คนไทยน่าจะพึงประสงค์. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.

บุญทัน ดอกไธสง. (2557). ขอบข่ายรัฐประศาสนศาสตร์ยุคโลกาภิวัตน์. กรุงเทพฯ : ปัญญาชน.

พงษ์เมธี ไชยศรีหา. (2556). เอกสารประกอบการบรรยายวิชานโยบายสาธารณะ.หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

พระมหาถนัด อตฺถจารี. (2557). ธรรมเทศนา ทศพิธราชธรรม คือ ธรรมสำหรับพระราชาที่ดี. ประเทศสหรัฐอเมริกา : วัดไทยวอชิงตันดีซี.

พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส. (2557). ธรรมราชา. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.

วิษณุ เครืองาม. (2557). ธรรมราชา : คุณธรรมผู้ปกครองกับสังคมไทย. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.

สนธยา ชมภู. (2558). เอกสารประกอบคำสอนวิชาธรรมะกับการปกครอง. เพชรบูรณ์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

สัญญา เคณาภูมิ. (2557). “รูปแบบการเขียนกรอบแนวคิดการวิจัยทางการบริหารจัดการ : The Writing Format of Research Conceptual Frameworks on Management”. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์), 8 (3) : กันยายน - ธันวาคม 2557 หน้า 33 - 42

สัญญา เคณาภูมิ. (2559). “บทวิเคราะห์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : ความเชื่อมโยงแนวปฏิบัติทฤษฎีอื่น”. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์), 10 (2) : พฤษภาคม - สิงหาคม 2559.

สำนักงานคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญ. (2550). ประมวลพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสนับตั้งแต่ปี 2493 - 2548. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : กบข.

Harol Lasswell. (1980). Who gets what, when, how. New York : Meridian Books Publishing company.