จากบ้านดอนสู่บ้านนา: ผลการพัฒนาพื้นที่และชุมชนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

Main Article Content

พสุธา โกมลมาลย์
จิตติ กิตติเลิศไพศาล

บทคัดย่อ

กระบวนการและความสำเร็จในการพัฒนา ตามแนวทางการพัฒนาพื้นที่ชุมชนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพื้นที่โครงการศูนย์ศึกษาพัฒนาภูพาน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ พื้นที่ “บ้านนานกเค้า” ตำบลห้วยยาง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาที่มีลักษณะเฉพาะพิเศษที่ไม่ได้เน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมและการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจตามแนวทางการพัฒนากระแสหลัก แต่เป็นแนวทางการพัฒนาที่เน้นรูปแบบความเหมาะสม และความสอดคล้องเฉพาะพื้นที่ ซึ่งการวิเคราะห์ดังกล่าว เป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญในการวางแผนและออกแบบรูปแบบการพัฒนา ภายใต้อาศัยการศึกษาข้อมูลระดับจุลภาค ทั้งในมิติของวัฒนธรรม ระบบนิเวศ และสังคม ที่ทำให้การเปลี่ยนแปลงและการยกระดับคุณภาพชีวิตคนในพื้นที่ประสบผลสำเร็จ ทั้งในด้านการเพิ่มรายได้ทางเศรษฐกิจของชุมชน ความเข้มแข็งของครัวเรือน อันเป็นจุดเริ่มต้นพื้นฐานในการพัฒนาที่ยั่งยืน

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2549). วาทกรรมการพัฒนา อำนาจ ความรู้ ความจริง เอกลักษณ์ และความเป็นอื่น. กรุงเทพ ฯ : สำนักพิมพ์วิภาษา.

นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์. (2544). คำนำ. ในถอดรหัสการพัฒนา (หน้า (8)-(10)). กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์เดือนตุลา.

พฤกษ์ เถาถวิล. (2555). อีสานใหม่: ความเปลี่ยนแปลงจากการพัฒนาในรอบทศวรรษ. บทความนำเสนอในการประชุมวิชาการระดับชาติ อุบล วัฒนธรรม ครั้งที่ 2 จัดโดยมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 27-28 มกราคม.

พัฒนาชุมชนจังหวัดสกลนคร. (2558). รายงานข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน (กชช.2ค). สกลนคร: สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสกลนคร.

มณีมัย ทองอยู่. (2546). การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจชาวนาอีสาน: กรณีชาวนาลุ่มน้ำพอง. กรุงเทพ ฯ : สร้างสรรค์.

มูลนิธิชัยพัฒนา. (2559). แนวคิดการพัฒนาเพื่อพึ่งตนเองของเกษตรกรอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (Self Reliance). สืบค้นจาก http://www.chaipat.or.th/site_content/70-3/283-self-reliance.html

วิทยา ประสงค์วัฒนา, (บรรณาธิการอำนวยการ). (2555). รอยพระบาทยาตรายังจารึก..สกลนคร. กรุงเทพ ฯ :บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิช จำกัด (มหาชน).

ศรีศักร วัลลิโภดม และคณะ. (2553). สังคมทางเลือก: แนวคิดเพื่อการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมที่พึ่งปรารถนา. ขอนแก่น: พิมพ์พัฒนา.

ศุภชัย เจริญวงศ์. (2544). ถอดรหัสการพัฒนา. กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์เดือนตุลา.

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษ เพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.). (2542). ประวัติศาสตร์ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. กรุงเทพ ฯ : บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิช จำกัด (มหาชน).

สุภีร์ สมอนา. (2559). สังคมวิทยาอีสาน. อุดรธานี: สำนักพิมพ์ศักดิ์ศรีอักษรการพิมพ์.

องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง. (2557). แผนพัฒนาสามปี พ.ศ. 2557-2559. สกลนคร: สำนักงานปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง.

อรรถจักร สัตยานุรักษ์. (2557). ความเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นเมืองของชนบท: กระบวนการเคลื่อนไปสู่ประชาธิปไตย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. 6 (2) : กันยายน-ธันวาคม

อานันท์ กาญจนพันธุ์. (2554). ชนบทอีสานปรับโครงสร้าง ชาวบ้านปรับอะไร. วารสารศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. ฉบับพิเศษ. (1).

Pornkantamara Kantamara, EeD. (2016). The ‘new Theory’ for the agricultural sector. In Gayle C. Avery and Harald Bergsteiner (Ed.), Sufficiency Thinking Thailand's gift to an unsustainable world (pp. 55-74). Sydney: Allen & Unwin.