กษัตริย์นักพัฒนา : แบบอย่างการดำเนินชีวิตของประชาชนและการประยุกต์ใช้กับองค์กรธุรกิจเพื่อความเข้มแข็งและเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นการเทอดพระเกียรติในพระอัจฉริยภาพของในหลวงรัชกาลที่เก้า ที่ทรงเป็นกษัตริย์นักพัฒนาในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ซึ่งเป็นข้อมูลเชิงประจักษ์แล้วว่า พระอัจฉริยภาพที่พระองค์ได้ทรงทุ่มเทอุทิศพระวรกายอย่างหนักในการทรงงานเพื่อประโยชน์สุขแก่ประชาชนเป็นเครื่องยืนยันถึงการเชิดชูพระองค์ว่า “เป็นกษัตริย์นักพัฒนา” และในอีกมิติหนึ่งแบบอย่างการดำเนินชีวิตที่พระองค์ได้ประพฤติเป็นแบบอย่าง ได้กลายเป็นสุดยอดองค์ความรู้ที่สามารถน้อมนำมาประพฤติและปฏิบัติให้เห็นผลได้อย่างเป็นที่ยอมรับไม่เพียงเฉพาะในแต่ประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังรวมถึงนานาอารยะประเทศด้วย องค์ความรู้ที่เป็นแบบอย่างการดำเนินชีวิตดังที่ประชาชนทุกหมู่เหล่าต่างรับทราบและน้อมนำมาปฏิบัติ คือ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และหลักธรรมในทางพระพุทธศาสนา ซึ่งทุกฝ่ายต่างเห็นพ้องกันว่า เป็นหลักการที่ในหลวงได้น้อมนำมาปฏิบัติเป็นตัวอย่างและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างสอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน โดยเฉพาะในองค์กรธุรกิจที่มีความเป็นพลวัตค่อนข้างสูง โดยหลักการและหลักปฏิบัติของในหลวงได้ถูกนำมาหลอมรวมจนกลายเป็น “หลักการพัฒนาองค์กรธุรกิจ” สำคัญของประเทศภายใต้องค์ความรู้ที่ว่า “ศาสตร์พระราชากับศาสตร์องค์กรธุรกิจ” เพื่อความเข้มแข็งและการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
บุญทัน ดอกไธสง.(2553). ขอบข่ายรัฐประศาสนศาสตร์ยุคโลกาภิวัตน์. กรุงเทพฯ : ปัญญาชน.
ประจักษ์ ก้องกีรติ.(2558). ประชาธิปไตยในยุคเปลี่ยนผ่าน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน.
พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส.(2556). เอกสารประกอบการประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15 ประจำปี 2556 “ธรรมราชา”. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.
วงศ์ธีรา สุวรรณิน.(2559). เอกสารประกอบการสอนวิชาการค้าระหว่างประเทศ หน่วยที่ 9 ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการค้าระหว่างประเทศ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วิษณุ เครืองาม.(2557). ธรรมราชา : คุณธรรมผู้ปกครองกับสังคมไทย. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.
สัญญา เคณาภูมิ. (2557). “รูปแบบการเขียนกรอบแนวคิดการวิจัยทางการบริหารจัดการ : The Writing Format of Research Conceptual Frameworks on Management”. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์), 8 (3) : กันยายน-ธันวาคม 2557 หน้า 33-42
สัญญา เคณาภูมิ.(2559). “บทวิเคราะห์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : ความเชื่อมโยงแนวปฏิบัติทฤษฎีอื่น”. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 10 (2) : พฤษภาคม – สิงหาคม 2559.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.(2552). พระบรมราโชวาท พระราชดำรัสเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. กรุงเทพฯ : สสส.
สำนักงานคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญ.(2550). ประมวลพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสฯนับแต่ปี 2493-2548. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : กบข.
สำนักราชวัง.(2538). พระราชพิธีบรมราชาภิเษก. กรุงเทพฯ : สำนักราชวัง.
สุขสรรค์ กันตะบุตร.(2558). องค์ความรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียงในองค์กรธุรกิจ. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
สุนทร สุขทรัพย์ทวีผล. (2559). “การแก้ไขผู้กระทำผิดเชิงพุทธ”. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 10 (1) : มกราคม – เมษายน 2559.