การน้อมนำหลักการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 9) มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาท้องถิ่น

Main Article Content

วิไลลักษณ์ เรืองสม

บทคัดย่อ

หลักการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เป็นหลักการที่พระองค์ทรงคิดค้น วิเคราะห์ ปรับปรุงแก้ไข และนำไปสู่การปฏิบัติจนเกิดผลเป็นรูปธรรม ผ่านโครงการตามแนวพระราชดำริต่างๆ มากมาย ยังประโยชน์ให้แก่พสกนิกรทุกหมู่เหล่า ได้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ดังนั้น เพื่อให้การพัฒนาท้องถิ่นซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญของการพัฒนาประเทศชาติได้มีการพัฒนาไปตามแนวทางที่เหมาะสม จึงขอน้อมนำหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 มาประยุกต์ใช้เพื่อให้การพัฒนาท้องถิ่น เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และนำมาซึ่งความเจริญก้าวหน้า และคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

เกษม วัฒนชัย. (2550) “การเรียนรู้จากหลักการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” วารสารอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. ปีที่ 5 ฉบับที่ 4 : ตุลาคม – ธันวาคม: 25-40

เกษม วัฒนชัย. (2550) “หลักการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” วารสารประกันคุณภาพ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 : กรกฎาคม – ธันวาคม: 25-40

ชนินทร์ วะสีนนท์, สมบูรณ์ ชาวชายโขง และธวัชชัย กุณวงษ์. (2554). คนรุ่นใหม่กับการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม – สิงหาคม: 83 -92

ชูสิทธิ์ ชูชาติ. (2554). หลักการทรงงานทรงงานตามรอยพระยุคคลบาท. สถานที่พิมพ์ : วนิดาการพิมพ์ จังหวัดเชียงใหม่.

ทรงรัตน์ ศรีสารคม , ศักดิ์พงศ์ หอมหวล และเนตรชนก จันทร์สว่าง. (2558). เบญจสุขภาวะชุมชน เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนบ้านเม่นใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 : มกราคม – เมษายน : 147 - 158

พิชชาภรณ์ ปะตังถาโต. เนตรชนก จันทร์สว่าง และศักดิ์พงศ์ หอมหวน. (2557). กระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ชุมชนเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม – สิงหาคม ) : 185 - 194

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (2555). หลักการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. สถานที่พิมพ์ : อาคารสำนักงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กรุงเทพมหานคร

เสาวลักษณ์ นิกรพิทยา. (2552). การมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น กรณีศึกษา : องค์การบริหารส่วนตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. งานวิจัย. จังหวัดมหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม