บทวิเคราะห์พระอัจฉริยภาพด้านเศรษฐกิจพอเพียง : สู่เศรษฐกิจการพัฒนาประเทศ

Main Article Content

ศุภชัย คล่องขยัน
สนธยา ชมภู
กฤษฎากรณ์ ยูงทอง

บทคัดย่อ

พระอัจฉริยภาพด้านเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในภายนอก ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี นำทางประเทศไปสู่เศรษฐกิจการพัฒนาประเทศได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแก่สังคมไทยอย่างมากในด้านต่างๆดังนี้ 1)ด้านเศรษฐกิจ 2)การเมือง 3)วัฒนธรรม 4)สังคมและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งกระบวนการของความเปลี่ยนแปลงมีความสลับซับซ้อนจนยากที่จะอธิบายในเชิงสาเหตุและผลลัพธ์ได้ เพราะการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดต่างเป็นปัจจัยเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราโชบายว่า “การที่จะแจกสิ่งของหรือเงินแก่แก่ราษฎรนั้น เป็นการช่วยเหลือชั่วคราวไม่ยั่งยืน การที่จะให้ประชาชนอยู่รอดได้ก็คือ การให้อาชีพ” ทรงปลดแอกความจนด้วยการสอนคนให้จับปลา

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2555). ตามรอย...พระเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ : ซัคเซส มีเดีย. กันยายน 2555. 272หน้า.

เชาวลิต จันทร์ม สุวกิจศรีปัดถา และสมศกดิ์ คำศรี. (2556). “การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเพื่อการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในโรงเรียน สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 3”. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 7 (3) : กันยายน-ธันวาคม 2556 หน้า 119

โชค บูลกุล. (2550). “เศรษฐกิจพอเพียงในแบบ โชค บูลกุล”. หนังสือผู้จัดการออนไลน์ . 9 มีนาคม 2550.เข้าถึงได้จาก http://www.manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9500000024744

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. (2517). “พระบรมราโชวาท” ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2517

มูลนิธิชัยพัฒนา. (2549). เศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่. กรุงเทพฯ. สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา.

มูลนิธิชัยพัฒนา. (2558). เศรษฐกิจพอเพียง. [Online] เข้าถึงได้ http://www.chaipat.or.th/chaipat/content/porpeing/porpeing.html[20ตุลาคม 2558]

สัญญา เคณาภูมิ. (2559). “บทวิเคราะห์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : ความเชื่อมโยงแนวปฏิบัติทฤษฎีอื่น”.วารสารมหาวิทยาลัยราช ภัฏมหาสารคาม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 เลขหน้า : 69-83 ปีพ.ศ. : 2559

หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์. (2559). “เศรษฐกิจพอเพียง” .หน้าบันเทิง. 15 ตุลาคม 2559 เข้าถึงได้จาก http://www.ryt9.com/s/tpd

The world bank. (2016). SUBMITTED BY YANAWIT DECHPANYAWAT ON THU, 08/11/2016