ความสัมพันธ์ไทย-รัสเซียใต้รัชสมัยรัชกาลที่ 9: กษัตริย์ผู้ทรงส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือกันระหว่างสองประเทศ

Main Article Content

อรุณรัตน์ จินดา

บทคัดย่อ

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและรัสเซียตามหลักฐานประวัติศาสตร์ได้มีการเริ่มต้นความสัมพันธ์จากการเสด็จประพาสรัสเซียของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ในการเสด็จประพาสครั้งนี้นับเป็นจุดเริ่มต้นของการสานความสัมพันธ์ที่ดีทางการทูตของไทยและรัสเซียในลักษณะความสัมพันธ์ที่ดีและมีความใกล้ชิดเป็นอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตามในช่วงเวลาที่รัสเซียได้มีการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบสังคมนิยม ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทยและรัสเซียได้มีการลดระดับความสัมพันธ์แต่ท้ายที่สุดเมื่อรัสเซียมีการจัดสรรความสมบูรณ์และมั่งคงในการปกครองภายในประเทศได้สำเร็จแล้วนั้นทั้งสองประเทศได้มีการสานสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องอีกครั้งจนกระทั่งปัจจุบัน และในปี ค.ศ. 2017 ไทยและรัสเซียครบรอบ 120 ปีของความสัมพันธ์ระหว่างไทยและรัสเซียซึ่งมีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่องในทิศทางที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสัมพันธ์ภายใต้รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 เป็นช่วงเวลาแห่งการส่งเสริมความมั่นคงและพัฒนาศักยภาพความร่วมมือระหว่างสองประเทศได้เกิดผลประโยชน์แห่งชาติสูงสุดและถือได้ว่าเป็นภาพประวัติศาสตร์ครั้งยิ่งใหญ่ของทั้งสองประเทศอีกครั้ง ในกระบวนการพัฒนาและส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับรัสเซีย คือ การเยือนประเทศไทยของประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ในฐานะพระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตพระบรมราชินีนาถ ในปี ค.ศ.2003 เหตุการณ์ครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นการเยือนที่จุดพลังให้ความร่วมมือระหว่างสองประเทศก้าวหน้าอย่างมีพลวัตสูงยิ่งขึ้นอย่างไม่มีข้อจำกัดใดๆแม้ว่าพื้นฐานและอุดมการณ์ของไทยและรัสเซียจะมีความแตกต่างกันก็ตาม อีกทั้งยังเป็นการสร้างความมั่นคงในความสัมพันธ์ภายใต้การส่งเสริมของพระมหากษัตริย์ไทย โดยมุ่งเน้นในทิศทางด้านการเมือง เศรษฐกิจและการค้าการลงทุน ความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและการศึกษา นอกจากนี้ในปี ค.ศ. 2007 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตพระบรมราชินีนาถ เป็นผู้แทนพระองค์มาเสด็จเยือนรัสเซียอย่างเป็นทางการในฐานะพระราชอาคันตุกะของประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย เป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์ที่แสดงให้เห็นถึงการส่งเสริมของพระมหากษัตริย์ไทยและผู้นำประเทศของรัสเซียในการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศร่วมกันเพื่อสร้างความสมบูรณ์และมั่งคงแก่ทั้งสองประเทศภายใต้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่แน่นแฟ้นต่อไปในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

นรนิติ เศรษฐบุตร. (2549). ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหภาพ โซเวียต ใน เอกสารการสอนวิชาความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับต่างประเทศ (หน่วยที่ 1-8). กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2529); 453.

เพ็ญศรี ดุ๊ก. (2542). การต่างประเทศกับเอกราชและอธิปไตยของไทย (ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ถึงสิ้นสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม). กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตสถาน; 215-6.

นรนิติ เศรษฐบุตร.(2542).ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหภาพโซเวียต ใน รวมงานเขียนและปาฐกถาเรื่อง การต่างประเทศของไทยจากอดีตถึงปัจจุบัน, โคริน เฟื่องเกษม, คมกริช วรคามิน, ประภัสสร์ เทพชาตรี,ศิริพร วัชชวัลคุ (คณะบรรณาธิการ). กรุงเทพฯ: คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 220.

ธีระ นุชเปี่ยม. (2532). มหาอำนาจและสันติภาพในเอเชีย, เอเชียปริทัศน์ 10 (มกราคม-เมษายน 2532); 41 และ เวียดนามหลัง 1975. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ดอกหญ้า; 169.

Chantima Ongsuragz. (2550). Thai perceptions of the Soviet Union and Its Implication for Thai-Soviet Relations. ใน รวมงานเขียนและปาฐกถาเรื่อง การต่างประเทศของไทยจากอดีตถึงปัจจุบัน; 385.

รสลิน ธารงวิทย์. (2549). ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับรัสเซีย. 439.

สุณัย ผาสุก. (2542). การรับกัมพูชาเข้าเป็นสมาชิกอาเซียน. เอเชียปริทัศน์ 20.(กันยายน-ธันวาคม), 50-51.

Protocol of the Fourth Session of the Joint Thai-Russian Commission on Bilateral Cooperation, 27 November 2009.

รจนา ระจินดา. (2557). แนวคิดสถาบันพระมหากษัตริย์: วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 [online] http://region7.prd.go.th/ewt_news.php?nid=41677&filename=index

วัฒนะ คุ้นวงศ์. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับรัสเซียและ CIS: วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 [online] http://th.thaiembassymoscow.com/info/?section=d1&artid=46

กลุ่มงานนโยบาย, กรม. (2546). อาเซียน สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) (Association of Southeast Asian Nations - ASEAN): วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ.2559 [online] http://www.baanjomyut.com/library_2/asean_community/02.html

กระทรวงการต่างประเทศ. (2557). ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน. วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ.2559 [online] http://www.mfa.go.th/asean/th/customize/30637.html

Chufrin G. (2549). ASEAN - Russia Relations: Russian Perspectives on ASEAN. Moscow: IMEMO, 2006. – 93 c.

Sumsky V. (2550). ASEAN - Russia: Foundations and Future Prospects. Singapore: Institute of Southeast Asian Studies, 2012. – 376 c.

กรมอาเซียน. (2555). ความสัมพันธ์อาเซียน – รัสเซีย.กรุงเทพมหานคร, 2555.