ปัญหาการบอกกล่าวการผิดนัดชำระหนี้ของลูกหนี้กับการคุ้มครองผู้ค้ำประกัน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 686 เจ้าหนี้จะหน้าที่ต้องบอกกล่าวการผิดนัดชำระหนี้ของลูกหนี้ไปยัง ผู้ค้ำประกันหรือผู้จำนองก่อนตามมาตรา 686 วรรคหนึ่ง แต่ในทางปฏิบัติพบว่า กรณีที่เจ้าหนี้ผ่อนผันการชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ และมีแนวคำพิพากษาของศาลฎีกาที่ 1279/2562 โดยวินิจฉัยว่าการที่เจ้าหนี้ผ่อนผันเวลาให้แก่ลูกหนี้นั้น หากลูกหนี้ชำระหนี้ ไม่ตรงกำหนดเวลาตามสัญญาบ้างหรือไม่ครบบ้าง แต่เจ้าหนี้ก็ยอมรับชำระหนี้ไว้โดยไม่ทักท้วง แสดงว่าเจ้าหนี้ไม่ถือระยะเวลาที่กำหนดไว้ ในสัญญาเป็นสาระสำคัญ หากเจ้าหนี้ประสงค์จะเลิกสัญญาจะต้องบอกกล่าวไปยังผู้กู้ให้ชำระหนี้ที่ค้างชำระโดยกำหนดเวลาพอสมควรก่อน ส่งผลให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติว่าลูกหนี้จะเริ่มผิดนัดเมื่อใด จะเริ่มนับตามสัญญาหรือนับจากวันที่ลูกหนี้ได้รับหนังสือบอกกล่าวทวงถาม อันจะเป็นจุดเริ่มต้นในการเริ่มนับระยะเวลา 60 วัน ที่ผู้ค้ำประกันจะหลุดพ้นจากความรับผิดในดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทน ตลอดจนค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้รายนั้นบรรดาที่เกิดขึ้นภายหลังจากพ้นกำหนดเวลาชำระหนี้ ตามมาตรา 686 วรรคสอง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
ปัญญา ถนอมรอด. (2562). คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ว่าด้วยยืม ค้ำประกัน จำนอง จำนำ(พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพฯ: สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา.
ศนันท์กรณ์ โสติถิพันธุ์. (2560). คำอธิบายกฎหมายลักษณะหนี้ (ผลแห่งหนี้) (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: บริษัท สำนักพิมพ์วิญญูชน จำกัด.
ศนันท์กรณ์ โสติถิพันธุ์. (2554). คำอธิบายนิติกรรม-สัญญา (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพฯ: บริษัท สำนักพิมพ์วิญญูชน จำกัด.
รติชัย รถทอง. (2558). กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยนิติกรรมสัญญา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ไชยยศ เหมะรัชตะ. (2548). กฎหมายว่าด้วยนิติกรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Yann Aubin, Louis de Longeaux, and Jean-Claude Vecchiatto, (2017). International bank and other guarantees handbook: Europe, (The Netherland:Wolters Kluwer.
กวินดา เสถียรกานนท์. (2562). มาตรการคุ้มครองสิทธิของผู้ค้ำประกัน. กรุงเทพฯ: คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2557French Civil Code (Code civil)
The Consumer Code (Code de la consummation)
Japanese Civil Code (Law of Obligations)
The Consumer Credit Act 1974
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1279/2562
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1728/2558
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2577/2535
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3874/2562
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3263/2562