การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ EIMA ที่ส่งเสริมความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์และการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ การคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ ในการเรียนรายวิชาเคมี เรื่อง กรด-เบสของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ EIMA กับเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนยางตลาดวิทยาคาร จำนวน 34 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ EIMA เรื่อง กรด-เบส จำนวน 8 แผน การจัดการเรียนรู้ ทั้งหมด 12 ชั่วโมง ความเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยอยู่ในช่วงคะแนน 4.52-4.69 หมายถึงแผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบ EIMA ที่สร้างขึ้นนั้นมีความเหมาะสมมากที่สุด 2) แบบวัดความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ เป็นข้อสอบแบบปลายเปิด จำนวน 6 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 มีค่าความยากอยู่ในช่วง 0.50-0.61 มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ในช่วง 0.34-0.71 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับของแบบวัดมีค่าเท่ากับ 0.96 3) แบบทดสอบการคิดวิเคราะห์ เป็นข้อสอบแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 มีค่าความยากอยู่ในช่วง 0.23-0.67 มีค่าอำนาจจำแนก อยู่ในช่วง 0.67-0.85 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับของแบบวัดมีค่าเท่ากับ 0.83 และ 4) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นข้อสอบ แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ เรื่อง กรด-เบส มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 มีค่าความยากอยู่ในช่วง 0.45-0.79 มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ในช่วง 0.48-0.85 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับของแบบวัดมีค่าเท่ากับ 0.89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และสถิติทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ One sample t-test
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ EIMA มีคะแนนความสามารถในสร้างคำอธิบาย ทางวิทยาศาสตร์ คะแนนการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา เคมี เรื่อง กรด-เบส สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
ธันยวิช วิเชียรพันธ์ และปวีณา จันทร์สุข. (2556). รายงานโครงการพัฒนาความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของเด็กและเยาวชนไทยเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.).
ธีระศักดิ์ ไชยสัตย์. (2560). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานและความสามารถในการคิดเชิงผลิตภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนมัธยมขยายโอกาส จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. ใน การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 19. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
พัชรี นาคผง. (2564). การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิค STAD. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 19(1), 176-189.
ไพศาล วรคำ. (2562). การวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 9). มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.
ภรทิพย์ สุภัทรชัยวงศ์. (2558). การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานเพื่อพัฒนาแบบจำลองทางความคิด เรื่อง โครงสร้างอะตอมและความเข้าใจธรรมชาติของแบบจำลองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 1(1), 97-124.
โรงเรียนยางตลาดวิทยาคาร. (2563). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report: SAR). กาฬสินธุ์: โรงเรียนยางตลาดวิทยาคาร.
วนินทร สุภาพ. (2561). ผังมโนทัศน์: เครื่องมือสำคัญสำหรับการจัดการศึกษาคณิตศาสตร์ในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 8(14), 1-14.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2546). สาระการเรียนรู้พื้นฐานคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
สุคนธ์ สินธพานนท์. (2552). นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
สุทธิชาติ เปรมกมล. (2560). ผลของการใช้การสืบสอบเน้นแบบจำลองเป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์และการให้เหตุผลของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 12(1), 259-274.
สุภาวดี เดชสุวรรณรัศมี. (2561). การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน EIMA ที่มีต่อมโนทัศน์ความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารบัณฑิตวิทยาลัยพิชญทรรศน์, 13(2), 223-232.
สุรีรัตน์ จุ้ยกระยาง. (2553). ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอน EIMA ที่มีต่อมโนทัศน์เรื่องบรรยากาศและความสามารถในการสร้างคำอธิบายของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม, 14(1), 286-298.
Berland, Leema & Reiser, Brian. (2009). Making Sense of Argumentation and Explanation. Science Education, 93(1), 26-55.
Bloom. (1956). Taxonomy of Educational Objectives:The Classification of Educational Goals. Handbook I, Cognitive Domain. New York: Longman.
Lehrer, R., & Schuable, L. (2006). Cultivating Model-Based Reasoning in Science Education. Handbook of the learning sciences. New York, USA: Cambridge University Press.
McNeill, K. & Krajcik, J. (2006). Supporting Students’ Constructions of Scientific Explanation through Generic versus Context-Specific Written Scaffolds. Paper presented at the American Educational Research Association annual meeting, San Francisco, CA.
Prins, G. T., Bulte, A. M. W., Van Driel, J. H., & Pilot, A. (2008). Selection of Authentic Modelling Practices as Contexts for Chemistry Education. International Journal of Science Education, (30)14.
Ruiz-Primo, Maria & Li, Min & Tsai, Shin-Ping & Schneider, Julie. (2010). Testing one premise of scientific inquiry in science classrooms: Examining students' scientific explanations and student learning. Journal of Research in Science Teaching, 47(5), 583-608.
Schwarz, C. V., & Gwekwerere, Y. N. (2006). Using A Guided Inquiry and Modeling Instructional Framework (EIMA) to Support Preservice K-8 Science Teaching. Science Education, 91(1), 158-186.