การจัดการเรียนรู้แบบเปิดที่มีผลต่อทักษะการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

ศุทธินี มณีทัพ
สุภกร หาญสูงเนิน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบเปิดที่มีผลต่อทักษะการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 2) เพื่อพัฒนาทักษะการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเปิดให้ผ่านเกณฑ์ระดับดี และ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในการเรียน เรื่อง เสียง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเปิดกับเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม ตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนวาปีปทุม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม จำนวน 40 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม   (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบเปิด เรื่อง เสียง 2) แบบทดสอบวัดทักษะการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ และ 3) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบสมมติฐาน One sample t-test


ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1) การจัดการเรียนรู้แบบเปิดที่มีผลต่อทักษะโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ มีประสิทธิภาพ (E1/E2)   เท่ากับ 79.63/78.74 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 70/70 ที่กำหนด 2) นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบเปิดที่มีผลต่อทักษะการโต้แย้ง ทางวิทยาศาสตร์ ผ่านเกณฑ์ระดับดี จำนวน 36 คน คิดเป็นร้อยละ 90.00 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด 3) นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบเปิดมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชนกนันท์ จันทร์อร่าม. (2561). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยวิธีการแบบเปิดเพื่อส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารครุพิบูล มหาวิทยาลัยนเรศวร, 118-133.

ณัฐกุล นินนานนท์. (2564). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิด (Open Approach). วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตอุบลราชธานี, 19-31.

ทิศนา แขมมณี. (2562). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นภาพร วรเนตรสุดาทิพย์ และคณะ. (2552). การศึกษาชั้นเรียน (Lesson study) และวิธีการแบบเปิด(Open approach): กรณีศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น(ศึกษาศาสตร์) ระดับประถม. วารสารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 32(2), 76-80.

ประสิทธิ์พร ภูวงษ์ และจันทร์ ติยะวงศ์. (2563). ผลการใช้วิธีการสอนแบบเปิดที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง พันธุกรรมและความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตและความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. The 7th National Conference Nakhonratchasima College, 1276-1284.

ปิยะธิดา ปัญญา. (2562). สถิติสำหรับการวิจัย. มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.

ไพศาล วรคำ. (2559). การวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 8). มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.

ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. (2558). การพัฒนาวิชาชีพครูคณิตศาสตร์ด้วยนวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) และวิธีการแบบเปิด (Open Approach). เอกสารประกอบการอบรมเรื่อง การพัฒนาวิชาชีพครูคณิตศาสตร์ด้วยนวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) และวิธีการแบบเปิด (Open Approach) ในเขตพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

เอกภูมิ จันทรขันตี. (2559). การจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการโต้แย้งในชั้นเรียนวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Dawson, V. M., & Venville, G. (2010). Teaching Strategies for Developing Students’ Argumentation Skills About Socioscientific Issues in High School Genetics. Science Education, 40, 133-148.

Kuhn, D. (1993). Science as argument: Implications for teaching and learning scientific thinking. Science Education, 77, 319-337.

Marttunen, M. j. (2001). Learning of argumentation skills in networked and face-to-face environments. Netherlands: Kluwer Academic Publishers, 29, 127-153).

Mcdonald, C. V. (2013). An Examination of Preservice Primary Teachers' Written Arguments in an Open Inquiry Laboratory Task. Science Education International, 24(3), 254-281.

Millar, R., & Osborne, J. F. (1998). Beyond 2000: Science Education for the Future: The Report of a Seminar Series Funded by the Nuffield Foundation. London: King’s College London, School of Education.

Rand, K. Y. (2000). Lower Track Science Students’ Argumentation and Open Inquiry Instruction. Journal of Research in Science Teaching, 37(8), 807-838.

Toulmin S. (2003). The uses of argument. Cambridge, England: Cambridge University Press.