การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการออกแบบเครื่องประดับด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ Rhinoceros สำหรับผู้ประกอบการอัญมณีและเครื่องประดับ จังหวัดจันทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ด้านการออกแบบเครื่องประดับด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ Rhinoceros สำหรับผู้ประกอบการอัญมณีและเครื่องประดับ ตลาดพลอยจันทบุรี ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการออกแบบเครื่องประดับด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ Rhinoceros สำหรับผู้ประกอบการอัญมณี และเครื่องประดับ ที่มีความถนัด และไม่มีความถนัดในการออกแบบเครื่องประดับด้วยการวาดมือ 3) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผล ของผู้ประกอบการอัญมณีและเครื่องประดับ ที่เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ออกแบบเครื่องประดับด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้การออกแบบเครื่องประดับด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ประกอบการ อัญมณีและเครื่องประดับ ตลาดพลอยจันทบุรี จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการออกแบบเครื่องประดับด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ Rhinoceros 2) แบบทดสอบเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 50 ข้อ 3) แบบประเมินความพึงพอใจ จำนวน 12 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานใช้ Independent Sample t-test
กิจกรรมการเรียนรู้ด้านการออกแบบเครื่องประดับด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ Rhinoceros แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ 1. การเรียนรู้คำสั่งพื้นฐานสำหรับการสร้างตัวเรือนเครื่องประดับ 2. การทดลองสร้างตัวเรือนเครื่องประดับ ผลการวิจัยพบว่า 1) กิจกรรมการเรียนรู้ในครั้งนี้ มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 81.2/82.4 2) ผู้ประกอบการอัญมณีและเครื่องประดับ ที่มีความถนัด และไม่มีความถนัดในการออกแบบเครื่องประดับด้วยการวาดมือ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการออกแบบเครื่องประดับด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ Rhinoceros ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 3) ดัชนีประสิทธิผลของผู้ประกอบการอัญมณีและเครื่องประดับ ที่เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ออกแบบเครื่องประดับด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ มีค่าเท่ากับ .71 4) ความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ พบว่า ด้านวิทยากร มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.31 รองลงมาคือ ด้านประโยชน์และการนำไปใช้ มีค่าเฉลี่ย 4.20 และด้านเนื้อหา มีค่าเฉลี่ย 4.10 ตามลำดับ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
กรุงเทพธุรกิจ. (2565). ส่งออกอัญมณี และเครื่องประดับ ปี 64. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2564 จาก https://www. bangkokbiznews.com/business/987415.
จิตใส เกตุแก้ว. (2556). ความพึงพอใจของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 39 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานต่อการพัฒนาครูด้วยชุดฝึกอบรม e-Training. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาบริหารการศึกษาและผู้นำทางการศึกษา), กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.
ณรงค์กร สุทธิศักดา. (2558). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ เรื่องการสร้างเว็บเพจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ได้รับการเรียนรู้แบบปกติ. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6. (368-379) สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
ธนกฤต ใจสุดา, ภรดี พันธุภากร และพรพิมล พจนาพิมล. (2562). เครื่องประดับอัตลักษณ์จันทบุรี: การศึกษาอัตลักษณ์เพื่อพัฒนารูปแบบเครื่องประดับในเชิงพาณิชย์. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม,7(1), 178-193.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2553). เทคนิคการสร้างเครื่องมือและรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: ศรีอนันต์การพิมพ์.
ประภัสสร ประดุจพงษ์เพชร์ และสมลักษณ์ วรรณฤมล กีเยลาโรว่า. (2556). การพัฒนาระบบออกแบบอัตโนมัติ โดยใช้วิธีไวยากรณ์รูปร่าง กรณีศึกษาการออกแบบเครื่องประดับ. วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร: วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 8(2), 20-33.
ประสพชัย พสุนนท์. (2557). ความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม ในการวิจัยเชิงปริมาณ. วารสารปาริชาต, 27(1), 144-163.
เผชิญ กิจระการ. (2546). ดัชนีประสิทธิผล. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 8(1), 30-36.
ภาณุพงศ์ จงชานสิทโธ. (2564). การออกแบบเครื่องประดับเงินเชิงสร้างสรรค์: แรงบันดาลใจจากความสวยงามของอัตลักษณ์ล้านนา. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 13(1), 308-329.
สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ(องค์การมหาชน). (2564). หลักสูตรนักออกแบบเครื่องประดับเชิงสร้างสรรค์. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2564 จาก https://www.git.or.th/creative_jewelry_designer.html.
สมนึก ภัททิยธนี. (2561). ขั้นตอนการสร้างและหาคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลเพื่อการทำวิจัย. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 13(1), 15-26.
สมรัก บูรณะ. (2553). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ รายวิชาชีววิทยา ระหว่างการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กับการเรียนตามปกติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารรามคำแหง, 27(3), 286-298.
สมลักษณ์ วรรณฤมล กีเยลาโรว่า, ประภัสสร ประดุจพงษ์เพชร์ และโชคนิธิ นาคเมธี. (2560). การพัฒนาระบบออกแบบอัตโนมัติเพื่อช่วยในการออกแบบเครื่องประดับแหวนตามความชื่นชอบของนักท่องเที่ยวชาวจีน. วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร:วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 25(4), 107-123.
สาลินี บุญสอน, มะลิวัลย์ ถุนาพรรณ์ และมนชยา เจียงประดิษฐ์. (2565). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยกลวิธี STAR ร่วมกับการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เรื่อง โจทย์ปัญหาร้อยละของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 16(1), 82-93.
ศักดิ์ชาย สิกขา. (2555). กระบวนการสร้างนักออกแบบในท้องถิ่น. อุบลราชธานี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
วรรณี อึ้งสิทธิพูนพร. (2558). ความพึงพอใจในการฝึกอบรมการใช้ภาษาอังกฤษในชั้นเรียนของครูภาษาอังกฤษใน. วารสาร Veridian E Journal Silpakorn University, 8(3), 1023-1036.
Amazing Thailand. (2564). ถนนอัญมณี. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2564 จาก https://thai.tourismthailand.org/Attraction/.
Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. New York: Wiley & Son.
Suwannarat, A. (2009). Finding a quality test for teaching management. Songklanagarind Medical Journal, 27(5), 381-388.