การพัฒนาการสร้างสรรค์ทางดนตรีสำหรับนักศึกษาครูปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการสอนอูคูเลเล่ตามแนวคิดของโคดาย

Main Article Content

ธราเทพ เตมีรักษ์
วราพร อัศวโสภณชัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการสอนอูคูเลเล่ตามแนวคิดของโคดายเพื่อเสริมสร้างทักษะการสร้างสรรค์ทางดนตรีสำหรับนักศึกษาครูปฐมวัย 2) ศึกษาผลการใช้กิจกรรมการสอนอูคูเลเล่ตามแนวคิดของโคดายเพื่อเสริมสร้างทักษะการสร้างสรรค์ทางดนตรีสำหรับนักศึกษาครูปฐมวัย การดำเนินงานวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 การพัฒนากิจกรรมการสอนตามแนวคิดของโคดาย กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญสำหรับประเมินคุณภาพด้านความสอดคล้อง ของกิจกรรมการสอนอูคูเลเล่ตามแนวคิดของโคดาย จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์และแบบประเมินความสอดคล้องสำหรับผู้เชี่ยวชาญ ระยะที่ 2 การศึกษาผลการใช้กิจกรรมการสอนอูคูเลเล่ตามแนวคิดของโคดาย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษา    สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 30 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ กิจกรรมการสอนอูคูเลเล่ตามแนวคิดของโคดายเพื่อเสริมสร้างทักษะการสร้างสรรค์ทางดนตรีสำหรับนักศึกษาครูปฐมวัย มีค่าความเหมาะสมทุกกิจกรรมอยู่ระดับมากที่สุด และแบบวัดทักษะการสร้างสรรค์ทางดนตรีสำหรับนักศึกษาครูปฐมวัย ซึ่งเป็นแบบวัดการปฏิบัติดนตรี 15 ข้อ มีคะแนนรวม 75 คะแนน มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.80-1.00 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.33-0.83  และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.84 ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ด้วยสถิติการทดสอบค่าทีกรณีกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่สัมพันธ์กัน  (Paired two sample t-test)


            ผลการวิจัยพบว่า 1) กิจกรรมการสอนอูคูเลเล่ตามแนวคิดของโคดายเพื่อเสริมสร้างทักษะการสร้างสรรค์ทางดนตรีสำหรับนักศึกษาครูปฐมวัย ประกอบด้วย 4 หน่วยการเรียนรู้ ประกอบด้วย 14 กิจกรรม ได้แก่ 1. หน่วยความรู้พื้นฐาน ประกอบด้วย 3 กิจกรรม 2. หน่วยเสียงและคอร์ด ประกอบด้วย 3 กิจกรรม  3. หน่วยการร้องและการบรรเลง ประกอบด้วย 5 กิจกรรม และ 4. หน่วยการสร้างสรรค์บทเพลงและการบันทึกโน้ต ประกอบด้วย 3 กิจกรรม มีค่าความเหมาะสมของกิจกรรมอยู่ระดับมากที่สุด ใช้เวลาหน่วยละ 4 ชั่วโมง รวม 16 ชั่วโมง ทุกหน่วยการเรียนรู้ใช้ขั้นตอนการเรียนรู้ 4 ขั้น คือ ขั้นนำ ขั้นบรรยาย ขั้นปฏิบัติ                   และขั้นสะท้อนผล 2) คะแนนทักษะการสร้างสรรค์ทางดนตรีของนักศึกษาครูปฐมวัย หลังการใช้กิจกรรมการสอนอูคูเลเล่ตามแนวคิดของโคดายสูงกว่าก่อนการใช้กิจกรรมการสอนอูคูเลเล่ตามแนวคิดของโคดายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ธราเทพ เตมีรักษ์. (2560). การจัดประสบการณ์ทางดนตรีและนาฏศิลป์สำหรับเด็กปฐมวัย. ISBN 978-616-474-649-7. มหาสารคาม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ภัทราภรณ์ อู่ไพบูรณ์, ธนพล ตีรชาติ และธิติ ปัญญาอินทร์. (2565). การสร้างชุดกิจกรรมบูรณาการการเรียนรู้ด้านการฟัง การเคลื่อนไหว การร้อง การอ่าน และการเขียน เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางดนตรี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารดนตรีรังสิต มหาวิทยาลัยรังสิต, 17(2), 77-89, (กรกฎาคม-ธันวาคม 2565).

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการฯ.

สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ. (2562). นโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2563-2570 และแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2563-2565.

อัครเดช ลือนาม และสัจธรรม พรทวีกุล. (2565). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางดนตรี โดยใช้กิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวคิดของโคดาย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์, 17(2), 165-176, (พฤษภาคม-สิงหาคม 2565).

อุทัย ศาสตรา. (2561). การสร้างสรรค์ดนตรีไทย แนวคิดและแนวทางการเรียนการสอน. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 46(4), 554-569, (ตุลาคม-ธันวาคม 2561).

Cheng, X. (2019). Eurhythmics goes China Thoughts on Culture-Sensitive Eurhythmics in China Le Rythme, Fier, 8 (1), 127-140.

Stumpf, E. M. (2018). Teaching Musically: Incorporating Dalcroze Pedagogy Into Flute Instruction For The Elementary-Age Student. M.M.E. diss., Univer sity of South Carolina.