การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับบรรยากาศองค์การของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

Main Article Content

พีระกรณ์ ทะชิตะสิงห์
ศักดิ์สิทธิ์ ฤทธิลัน
สุพจน์ ดวงเนตร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาบรรยากาศองค์การ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับบรรยากาศองค์การ และ 4) ศึกษาแนวทางการพัฒนาแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และการสร้างบรรยากาศองค์การ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 รวมทั้งสิ้น 336 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 9 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ จำนวน 6 ด้าน 45 ข้อ และบรรยากาศองค์การ จำนวน 5 ด้าน 40 ข้อ โดยมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .98 และ .97 ตามลำดับ ซึ่งรูปแบบของคำถามเป็นแบบมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า 1) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์โดยรวมและรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2) บรรยากาศองค์การโดยรวม และรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 3) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับบรรยากาศองค์การในภาพรวมมีความสัมพันธ์ทางบวก อยู่ในระดับสูง (r=.95) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) แนวทางการพัฒนาแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของผู้บริหารสถานศึกษาต้องมีการวิเคราะห์จุดเด่นจุดด้อยของตนเอง เพื่อนำมาตั้งวิสัยทัศน์และพันธกิจ ตั้งเป้าหมาย และกำหนดภาระงานที่จะปฏิบัติให้ชัดเจน ได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย มีการเรียนรู้จากหลักวิชาการหรือคนที่มีประสบการณ์และประสบผลสำเร็จที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ไม่ชำนาญ และแนวทางการพัฒนาบรรยากาศองค์การผู้บริหารสถานศึกษาต้องมีการกำหนดข้อตกลงในการปฏิบัติงาน สร้างการยอมรับข้อตกลงมีการประเมินผลงาน ดำเนินการอย่างรอบครอบให้ถูกต้องตามระเบียบ วินัยกฎหมาย ข้อบังคับ เกิดความถูกต้องและเป็นธรรม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กันทิมา ชัยอุดม. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำ การเปลี่ยนแปลง และพฤติกรรม การบริหารแบบมี ส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม, 10(1), 23-34.

กิรติภาพัชร์ กษิดิศ. (2560). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับองค์ประกอบของบรรยากาศองค์การในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า, 5(3), 15-22.

จารุวรรณ อะคะปัน. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของผู้บริหารกับประสิทธิผลของการบริหารงานโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1. (การศึกษาค้นคว้าอิสระ ครุศาสตรมหาบัณฑิต). กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

ชัยศักดิ์ ขาวสังข์. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของผู้บริหารกับประสิทธิผลโรงเรียนเอกชน อำเภอเมือง จังหวัดยะลา.ใน ลดาวัลย์ แก้วสีนวล, การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติครั้งที่ 49, The 49th National and International Graduate research Conference ,2019: NGRC#49. (น. 843-855). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ดรรชนี จิตคำรพ. (2561). แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 16. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 9 (น. 385-402) สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

เบญจวรรณ อินต๊ะวงศ์. (2554). ปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะครูสายผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2. (การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง กศ.ม.). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

“พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542,” ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 116 ตอนที่ 74 ก. หน้า 2. 19 สิงหาคม 2542.

ภพกมล มุขศรี. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์กับการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2.วารสารวิทยาจารย์, 114 (1), 68-71.

สมพล จีรพรชัย. (2550). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับบรรยากาศองค์การสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครนายก. (วิทยานิพนธ์ ค.ม.). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. (2564). แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2561-2564 [เอกสาร]. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1.

Ginder, David L. (2005). The Impact of School Climatic on School Success. Thesis (Ed.D.) Immaculate College. Abstracts Online. Pub.No.AAT 3160505 Retrieved January 25, 2021, from Dissertation Abstracts Online. http://wwwlib.umi.com/dissertatio ns/fullcit/9821558.

Likert, Rensis. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale, Reading in Attitude Theory and Management. Fishbeic, Matin, Ed. New York: Wiley & Sons.

Litwin, G.H., & Stringer, R.A. (2002). Leadership and organizational climate. New Jersey: Upper Saddle River.

Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis. Tokyo: John Weather Hill.