การพัฒนารูปแบบคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2

Main Article Content

ธนวรรณ เห็มบาสัตย์
กฤษกนก ดวงชาทม
จำเนียร พลหาญ

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านจิตสาธารณะ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 3) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และ 4) เพื่อทดลองใช้และประเมินผลรูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น แบ่งเป็น 4 ระยะ คือ 1) องค์ประกอบและตัวชี้วัดด้านจิตสาธารณะแล้วทำการสนทนากลุ่มกับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน 2) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาด้านจิตสาธารณะของนักเรียน กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 213 คน 3) สร้างรูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านจิตสาธารณะของนักเรียน และทำการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญกับผู้ทรงคุณวุฒิ 10 คน และ 4) ทดลองใช้และประเมินผลรูปแบบการพัฒนาด้านจิตสาธารณะของนักเรียน กลุ่มผู้ร่วมทดลองเป็นนักเรียน จำนวน 30 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง


            ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบและตัวชี้วัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ 35 ตัวชี้วัด 2) สภาพปัจจุบันโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และสภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีความต้องการจำเป็นในการพัฒนามากที่สุด คือ ด้านการรับผิดชอบในการใช้ของส่วนรวม 3) รูปแบบการพัฒนา ประกอบด้วย  5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการจัดกิจกรรม 4) วิธีดำเนินการ และ 5) การวัดและประเมินผล และ 4) การทดลองใช้รูปแบบการพัฒนามีค่าเฉลี่ยก่อนการทดลองเท่ากับ 53.83 หลังการทดลองเท่ากับ 86.90 หมายความว่าหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กวี วรกวิน. (2560). บทบาทและหน้าที่ของเยาวชนที่มีต่อสังคมและประเทศชาติ โดยเน้น จิตสาธารณะ. หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัทพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) จำกัด.

ขจิตรัตน์ สูงกลาง. (2561). การพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านจิตอาสาของนักเรียนโรงเรียนสงวนศึกษา จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์, 4(2), 1-9.

จุมพล พูนภัทรชีวิน. (2550). นานาทัศนะในการวิจัยประเมินผลคุณภาพของคนไทย: เก่ง ดี และมีความสุข (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด วี.ที.ซี. คอมมิวนิเคชั่น.

ชาตรี อุ่นเรือน, รังสรรค์ สิงหเลิศ และแดนวิชัย สายรักษา. (2561). รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านจิตสาธารณะของนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2. วารสารช่อพะยอม, 29(2), 353-368.

นริศรา ตาปราบ, สมเจตน์ ภูศรี และศิริ ถีอาสนา. (2562). รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนเอกชนจังหวัดชัยภูมิ. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 6(3), 548-565.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9).กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ระพีพรรณ ทองห่อ. (2551). การสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในกลุ่มจังหวัดภาคกลาง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ปภาพินท์ รุณธาตุ. (2559). การพัฒนาจิตสาธารณะด้วยกระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้นำ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 6(2), 25-32.

สิริรัฏฐ์ กาญจนโพธิ์. (2558). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นสักทอง. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส.), 21(2), 127-144.

สุรัตน์ ขวัญบุญจันทร์. (2560). การพัฒนารูปแบบการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านจิตสาธารณะของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสรุปอ้างอิง. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(1), 50-64.

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559).กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.

สำนักงานวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2553). แนวทางการบริหารและจัดกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2.(2562). รายงานประจำปีการศึกษา 2562. สพป:กาฬสินธุ์ เขต 2.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.

Kohlberg, L. (1987). Moral Stage and Moralization: The Cognitive Developmental Approach, In Moral Development and Behavior. New York: Holt Rinehart and winston.