การพัฒนาความสามารถการให้เหตุผลและเจตคติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสืบเสาะหาความรู้แบบเมตาคอกนิชัน และการถ่ายโอนการเรียนรู้

Main Article Content

สุภาวดี กาญจนเกต
นิราศ จันทรจิตร
สฤษดิ์ ศรีขาว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถการให้เหตุผลและเจตคติทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนระหว่าง ก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสืบเสาะหาความรู้แบบเมตาคอกนิชัน และการถ่ายโอนการเรียนรู้ และ           2) เปรียบเทียบความสามารถการให้เหตุผลและเจตคติทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนกลุ่มทดลองที่จัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสืบเสาะหาความรู้แบบเมตาคอกนิชัน และการถ่ายโอนการเรียนรู้ กับกลุ่มควบคุมที่จัดการเรียนรู้แบบปกติ การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental research) ด้วยการสุ่มเพื่อกำหนดกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม (Random assignment) กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนชุมชนเทศบาล 3 (พินิจพิทยานุสรณ์) อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม ห้อง 1/1 และห้อง 1/2 จำนวน 32 คน และจำนวน 30 คน ตามลำดับ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565  ที่ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้จัดเก็บข้อมูล ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ สำหรับจัดการเรียนรู้กับกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม จำนวน 16 แผน แบบทดสอบวัดความสามารถการให้เหตุผล จำนวน 8 ข้อ และแบบทดสอบวัดเจตคติทางวิทยาศาสตร์ จำนวน 6  ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบด้วยสถิติ Dependent sample t-test, Hotelling’s T2 และ Univariate test      


            ผลการวิจัย พบว่า 1) นักเรียนกลุ่มทดลองที่จัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสืบเสาะหาความรู้แบบเมตาคอกนิชัน และการถ่ายโอนการเรียนรู้ มีความสามารถการให้เหตุผลและเจตคติทางวิทยาศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05              ซึ่งมีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 22.97 และ 15.56 และหลังเรียนเท่ากับ 30.88 และ 23.94 ตามลำดับ และ 2) นักเรียนกลุ่มทดลอง             ที่จัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสืบเสาะหาความรู้แบบเมตาคอกนิชัน และการถ่ายโอนการเรียนรู้ มีความสามารถการให้เหตุผลและเจตคติ ทางวิทยาศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่จัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ซึ่งมีคะแนนเฉลี่ยด้านความสามารถ            การให้เหตุผลเท่ากับ 30.87 และ 27.96 และคะแนนเฉลี่ยเจตคติทางวิทยาศาสตร์เท่ากับ 23.94 และ 22.40 ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551, กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สุวรรณโณ ยอดเทพ. (2562). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการสอนแบบการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5Es. Journal of Education Rajabhat Maha Sarkham University, 19(3), (September-December 2022).

อาดีละห์ เจ๊ะแม. (2559). ผลของการจัดการเรียนรู้โดยการสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ที่มีต่อความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. Princess of Naradhiwas University Journal of Humanities and Social Sciences, 5(1), 11-23.

Baldwin, T. and Ford, J. K.. (2009). Transfer of training 1988-2008: An updated review and agenda for future research. International Review of Industrial and Organizational Psychology, 24, 41-70.

Brown, Bernice Greer. (1991). Investigation of learning strategies that promote reading performance and transfer learning to biology. Dissertation of Doctor of Philosophy, University of Pittsburgh.

Henson, Kenneth T. (1996). Methods and Strategies for Teaching in secondary and Middle Schools. 3rd ed. White Plains, N.Y.: Longman.

Huang, J. L., Ford, J. K., & Ryan, A. M. (2017). Ignored no more: Within-person variability enables better understanding of training transfer. Personnel Psychology, 70(3), 557-596.

Janassen, David H. (2011). Learning to Solve Problems: A Handbook for Designing Problem-Solving Learning Environments. New York: Routledge.

Messick S. (1997). The nature of cognitive styles problems and promise in educational practice. Educational Psychologist, 19, 59-74

P W Hastuti, S Nurohman and W Setianingsih. (2018). The Development of Science Worksheet Based on Inquiry Science Issues to Improve Critical Thinking and Scientific Attitude. IOP Conf. Series: Journal of Physics: Conf. Series 1097 (2018) 012004.. Doi:10.1088/1742-6596/1097/1/012004.

Salas, E., Weaver, S. J., & Shuffler, M. L. (2012). Learning, training, and development in organizations. Oxford University Press.

Schon, D. A. (1995). The Reflective Practitioner: How Professionals Think in Action. Aldershot, U.K.: Arena.

Woolfolk, A. (1990). Education Psychology. (8th ed). Boston: Allyn & Bacon.

Woolfolk, A. (2010). Educational psychology. (11th ed). Columbus, OH: Pearson/Allyn & Bacon.