การพัฒนาความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี เรื่อง แก๊สของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้แบบจำลองเป็นฐาน

Main Article Content

บุณยานุช วิชัยโย
กัญญารัตน์ โคจร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ โดยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน เรื่อง แก๊ส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้อยู่ในกลุ่มความเข้าใจที่ถูกต้องแต่ไม่สมบูรณ์และกลุ่มความเข้าใจที่สมบูรณ์ 2) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง แก๊ส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานกับเกณฑ์ร้อยละ 75 ของคะแนนเต็ม กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนเขาวงพิทยาคาร จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน เรื่อง แก๊ส จำนวน 10 แผนการเรียนรู้         2) แบบทดสอบความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง แก๊ส 3) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน และทดสอบสมมุติฐานโดยใช้สถิติ t-test (One sample t-test) ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์อยู่ในกลุ่มความเข้าใจที่ถูกต้องแต่ไม่สมบูรณ์และกลุ่มความเข้าใจที่สมบูรณ์คิดเป็นร้อยละ 86  และมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ย 23.53 คะแนน ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กวิน นวลแก้ว และสมเกียรติ พรพิสุทธิมาศ. (2561). การพัฒนามโนมติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเรื่อง โครงสร้างที่ใช้แลกเปลี่ยนแก๊สของคนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบจำลองเป็นฐาน. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์ วิจัย ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ.

จิราภรณ์ กุลพิมล และวาสนา กีรติจำเริญ. (2563). การเปรียบเทียบมโนมติ เรื่อง ของแข็ง ของเหลว แก๊สของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จากการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานกับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 35 (2) ,50-65.

ดวงเดือน เทพนวล. (2556). การพัฒนาพฤติกรรมด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบของนักคึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ โดยใช้วิธีการสอนแบบกระบวนการกลุ่ม. วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่, 14(2), เมษายน-กันยายน 2556.

นิภาภรณ์ จันทะโยธา และสุวัตร นานันท์. (2558). การพัฒนาวิถีทางมโนมติวิทยาศาสตร์และการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน เรื่อง ของแข็ง ของเหลว และแก๊สของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. ในการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 34 (น.1977-1985).ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ปียะมาศ ชาติมนตรี. (2550). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการกลุ่มแบบร่วมมือโดยใช้สวนพฤกษศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. (ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต).อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

ฝ่ายวิชาการ โรงเรียนเขาวงพิทยาคาร. (2563). รายงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2563.กาฬสินธุ์: โรงเรียนเขาวงพิทยาคาร.

วิมล สำราญวานิช. (2554). การเปลี่ยนแปลงมโนมติ เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน, วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 5(4), 102-109.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงาคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

Akaygun, S. (2016). Is the oxygen atom static or dynamic? The effect of generating animations on students’ mental models of atomic structure. Chemistry Education Research and Practice, 17(May), 788-807.

Esra Bilal and Mustafa Erol. (2012). Effect of teaching via modeling on achievement and conceptual understanding concerning electricity. Journal of Baltic Science Education, 11(3), 236-247

Gilbert, J.K. and Boulter, C. (1998). Learning science through models and modelling.In B. Fraser & K. Tobin (Eds.), International handbook of science education, Vol.2, 53-66. Dordrecht: Kluwer Academic Publishers.

Gilbert, J. K. (2005). Visualization in science education. Netherlands: Springer.

Gilbert, J. K. (2006). On the nature of context in chemical education. International Journal of Science Education, 28(9), 957-976.

Grosslight, L., Unger, C., Jay, E. and Smith, C. L. (1991). Understanding models and their use in science: Conceptions of middle and high school students and experts. Journal of research in science teaching, 28(9), 799-822.

Westbrook, S. L., and Marek, E. A. (1991). A cross-age study of student understanding of the concept of diffusion. Journal of Research in Science Teaching, 28(8), 649-660.