การพัฒนาทักษะการสร้างแบบจำลองด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

สิรภัทร สายเนตร
สุมาลี ชูกำแพง

บทคัดย่อ

         งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการสร้างแบบจำลองโดยการจัดการเรียนรู้แบบจำลองเป็นฐานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5 ให้มีคะแนนเฉลี่ยผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม และมีจำนวนนักเรียนที่มีคะแนนตามเกณฑ์กำหนดร้อยละ 70 ของนักเรียนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด โดยเป็นรูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ดำเนินการ 3 วงจรปฏิบัติการ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย คือ นักเรียน  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนยางตลาดวิทยาคาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ จำนวน 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) เครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติการทดลอง ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้   โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานเรื่อง ระบบหมุนเวียนเลือด และระบบน้ำเหลือง จำนวน 9 แผน (2) เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลปฏิบัติการ และประเมินทักษะ ได้แก่ 1) แบบทดสอบทักษะการสร้างแบบจำลอง, 2) กิจกรรมการสร้างแบบจำลอง และ 3) แบบสัมภาษณ์นักเรียน  ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐานได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


         ผลการวิจัยพบว่า ในวงจรปฏิบัติการที่ 1 นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยของทักษะการสร้างแบบจำลองเท่ากับ 69.35 คะแนน คิดเป็น ร้อยละ 72.24  และมีจำนวนนักเรียนที่มีคะแนนทักษะการสร้างแบบจำลองผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 จำนวน 19 คน คิดเป็นร้อยละ 61.29  ของนักเรียนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด วงจรปฏิบัติการที่ 2 นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยของทักษะการสร้างแบบจำลองเท่ากับ 75.00 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 78.13 และมีจำนวนนักเรียนที่มีคะแนนทักษะการสร้างแบบจำลองผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 จำนวน 27 คน คิดเป็นร้อยละ 87.10   ของนักเรียนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด และวงจรปฏิบัติการที่ 3 นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยของทักษะการสร้างแบบจำลองเท่ากับ 81.03 คะแนน   คิดเป็นร้อยละ 84.41 และมีจำนวนนักเรียนที่มีคะแนนทักษะการสร้างแบบจำลองผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 จำนวน 31 คน คิดเป็น   ร้อยละ 100.00 ของนักเรียนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด เมื่อพิจารณาแยกออกเป็น 1) คะแนนจากแบบทดสอบทักษะการสร้างแบบจำลอง       มีคะแนนเฉลี่ยในวงจรปฏิบัติการที่ 1 2 และ 3 เท่ากับ 31.26 35.26 38.16 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 65.12 73.45 และ 79.50 ตามลำดับ และ   2) คะแนนจากกิจกรรมการสร้างแบบจำลองโดยมีคะแนนเฉลี่ยในวงจรปฏิบัติการที่ 1 2 และ 3 เท่ากับ 38.10 39.74 และ 42.87 คะแนน  คิดเป็นร้อยละ 79.37 82.80 และ 89.31 ตามลำดับ ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีจำนวนนักเรียนที่มีคะแนนทักษะการสร้างแบบจำลองเพิ่มขึ้นหลังจาก ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน


                  

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณัฐพล กวดขันไทย และ สุมาลี ชูกำแพง. (2563). การพัฒนาความสามารถในการสร้างแบบจำลองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 รายวิชาชีววิทยาด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัย ราชภัฏศรีสะเกษ, 14(2), 63-71.

ธนัฏฐา คงทน, บุญนาค สุขุมเมฆ และชาตรี ฝ่ายคำตา. (2559). การพัฒนาแนวคิดเรื่อง เคมีอินทรีย์ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยอาศัยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม, 7(1), 62-76.

นันทิยา บุญเคลือบ. (2540). การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ตามแนวคิด Constructivist. วารสาร สสวท, 25(96), 11-15.

ภรทิพย์ สุภัทรชัยวงศ์, ชาตรี ฝ่ายคำตา และ พจนารถ สุวรรณรุจิ. (2558). การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานเพื่อพัฒนาแบบจำลองทางความคิดเรื่องโครงสร้างอะตอมและความเข้าใจธรรมชาติของแบบจำลองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้, 1(1), 97-24.

ลือชา ลดาชาต และลฎาภา ลดาชาติ. (2559). ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ของนิสิตครู วิชาเอกชีววิทยา. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้, 2(1), 24-44.

วรวัฒน์ ศีลบุตร และบุญนาค สุขุมเมฆ. (2561). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบจําลองเป็นฐานร่วมกับวิธีการแบบเปิดเพื่อพัฒนาแนวคิด เรื่อง สารชีวโมเลกุล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ “Graduate School Mini-Conference 2018,” 102-112.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). ครูวิทยาศาสตร์มืออาชีพแนวทางสู่การเรียนการสอนที่มีประสิทธิผล. กรุงเทพฯ: อินเตอร์เอ็ดดูเคชั่น ซัพ พลายส์.

สุทธิดา จำรัส. (2555). แบบจำลองและการสร้างแบบจำลองในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์. สืบค้นจาก https://shorturl.asia/X5Dj4.

อารยา ควัฒน์กุล. (2558). ผลการจัดการเรียนรู้วิชาเคมี เรื่องสารชีวโมเลกุล ด้วยการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานเพื่อพัฒนามโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารศึกษาศาสตร์,26(2), 42-55.

เอกภูมิ จันทรขันตี. (2559). รูปแบบของระบบพี่เลี้ยงและให้คำปรึกษาเพื่อพัฒนาความสามารถในการสอนและการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครูวิทยาศาสตร์. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 10(1), 128-141.

Aubusson, P. J., Harrison, A. G., and Ritchie, S. M. (2006). Metaphor and Analogy in Science Education. Springer Netherlands.

Bryce, C. M., Baliga, V. B., Nesnera, K. L. D., Fiack, D., Goetz, K., Tarjan, L. M., Wade, C. E., Yovovich, V., Baumgart, S., Bard, D. G., Ash, D., Parker, I. M., and Gilbert, G. S. (2016). Exploring Models in the Biology Classroom. American Biology Teacher, 78(1), 35-42.

Buckley, B. C., Gobert, J. D., Kindfield, A. C. H., Horwitz, P.,Tinker, R. F., Gerlits, B., Wilensky, U., Dede, C., and Willett, J. (2004). Model-Based Teaching and Learning with Bio Logica TM: What Do They Learn? How Do They Learn? How Do We Know? Journal of Science Education and Technology, 13(1), 23-41.

Gabler, I. C., and Michael, S. (2003). Constructivist methods for the secondary classroom:engaged mind. Pearson Education.

Gobert, J. D., and Buckley, B. C. (2000). Introduction to model-based teaching and learning in science education. International Journal of Science Education, 22(9), 891-894.

Gonzalez, W. J. (2014). Bas van Fraassen’s Approach to Representation and Models in Science (W. J. Gonzalez (ed.); Vol. 368). Springer Netherlands.

Harrison, A. G., and Treagust, D. F. (2000). A typology of school science models. International Journal of Science Education, 22(9), 1011-1026.

Kemmis, S., and McTaggart, R. (1988). The Action research planner (Third edit). [Waurn Ponds, Vic.]: Deakin University: distributed by Deakin University Press.

Ladachart, L., and Ladachart, L. (2017). Science Teachers ’ Perspectives on and Understandings about Scientific Models. Journal of Community Development Research (Humanities and Social Science), 10(3), 149-162.

Leager, C. (2007). Making models: more than child’s play. Science and Children, 44(6), 50-52.

Schwarz, C. V., Reiser, B. J., Davis, E. A., Kenyon, L., Achér, A., Fortus, D., Shwartz, Y., Hug, B., and Krajcik, J. (2009). Developing a learning progression for scientific modeling: Making scientific modeling accessible and meaningful for learners. Journal of Research in Science Teaching, 46(6), 632-654.

Stewart, J., Cartier, J. L., and Passmore, C. M. (2005). Developing understanding through model-based inquiry. The National Academies Press.