การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียรูปแบบสองมิติ ส่งเสริมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย เรื่อง สุนัขกับเงา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสื่อมัลติมีเดียรูปแบบสองมิติ ส่งเสริมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย เรื่อง สุนัขกับเงา และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้สื่อมัลติมีเดียรูปแบบสองมิติ ส่งเสริมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย เรื่อง สุนัขกับเงา โดยสื่อที่พัฒนาขึ้นจะนำไปใช้สำหรับการจัดการเรียนการสอนของนักเรียนระดับชั้นอนุบาล 2 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้เชี่ยวชาญ 3 คน และครูที่สอนระดับชั้นอนุบาล 2 จำนวน 5 คน ใช้วิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ 1) สื่อมัลติมีเดียรูปแบบสองมิติ สำหรับเด็กปฐมวัย เรื่อง สุนัขกับเงา 2) แบบประเมินคุณภาพสื่อมัลติมีเดียรูปแบบสองมิติ ส่งเสริมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย เรื่อง สุนัขกับเงา และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า 1) สื่อมัลติมีเดียรูปแบบสองมิติ สำหรับเด็กปฐมวัย เรื่อง สุนัขกับเงา ที่พัฒนาขึ้น มีความยาว 3.21 นาที เป็นสื่อมัลติมีเดียรูปแบบ สองมิติ สำหรับเด็กปฐมวัย ที่สามารถส่งเสริมทักษะด้านการสื่อสารให้กับนักเรียนระดับอนุบาล 2 ได้ 2) ผลการประเมินคุณภาพ โดยผู้เชี่ยวชาญ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.43, S.D. = 0.40) และ 3) ความพึงพอใจต่อสื่อมัลติมีเดียรูปแบบสองมิติ สำหรับเด็กปฐมวัย เรื่อง สุนัขกับเงา ที่พัฒนาขึ้นโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.32, S.D. = 0.49) แสดงให้เห็นว่าสื่อมัลติมีเดียรูปแบบสองมิติ สำหรับเด็กปฐมวัย เรื่อง สุนัขกับเงา ที่สร้างขึ้น เป็นสื่อที่มีคุณภาพ เหมาะสมที่จะเผยแพร่เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับนักเรียนระดับอนุบาล 2 ได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
กิดานันท์ มะลิทอง. (2548). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2554). การทดสอบประสิทธิภาพของชุดการสอน.ในเอกสารการสอนชุดวิชาสื่อการสอนหน่วยที่ 9. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ณัฐพงษ์ พระลับรักษา. (2562). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียรูปแบบภาพยนตร์สั้น เรื่อง ความรักเรื่องนี้. วารสารวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 6 (2), 1-10.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
รวินันท์ สัจจาศิลป์ และชลาธิป สมาหิโต. (2562). ผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานผ่านการสร้างสื่อจำลอง ที่มีต่อความสามารถด้านมิติสัมพันธ์สำหรับเด็กปฐมวัย. วารสารวิชาการและ วิจัยสังคมศาสตร์, 14 (2), 111-123.
สิทธิวรรต รอบรู้, วัชรี เพ็ชรวงษ์ และ วุฒิพงษ์ เขื่อนดิน. (2558). การพัฒนานิทานพื้นบ้านฉบับมัลติมีเดีย เรื่อง 1. โคกโคเฒ่า, 2. สระเกด. รายงานการวิจัย, คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
อังคณา จัตตามาศ และมณฑิชา รัตนภิรมย์. (2562). การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัยเรื่อง อาหารในฤดูร้อน ด้วยวิดีโอโมชันกราฟิกกรณีศึกษา มูลนิธีการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ครั้งที่ 4 และการประชุมระดับนานาชาติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ครั้งที่ 1.