การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน เรื่อง ระบบหมุนเวียนเลือด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และเจตคติทางวิทยาศาสตร์

Main Article Content

อิสระพงษ์ โกฎแสน
เนตรชนก จันทร์สว่าง
สมสงวน ปัสสาโก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน เรื่อง ระบบหมุนเวียนเลือดสำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน  เรื่อง ระบบหมุนเวียนเลือดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อเปรียบเทียบเจตคติทางวิทยาศาสตร์หลังจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน เรื่อง ระบบหมุนเวียนเลือดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มที่ศึกษาคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขตร้อยเอ็ด จำนวน 1 ห้องเรียน รวม 36 คน ได้มาโดยใช้วิธีการแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน จำนวน 8 แผนการจัดการเรียนรู้ทั้งหมด 12 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  ชนิดปรนัย จำนวน 40 ข้อ มีค่าความเที่ยงตรง อยู่ระหว่าง 0.80-1.00 มีค่าความยาก อยู่ระหว่าง 0.53-0.69 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.33-0.63 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.88 3) แบบวัดเจตคติทางวิทยาศาสตร์ เป็นแบบสอบถามโดยใช้มาตรประเมินค่า 5 ระดับ จากตรงมากที่สุดไปจนถึงตรงน้อยที่สุด จำนวน 36 ข้อ 6 ด้าน มีค่าความเที่ยงตรง อยู่ระหว่าง 0.80-1.00 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.38-0.63 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.78 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าทีแบบกลุ่มไม่อิสระ Paired Samples t-test


              ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน เรื่องระบบหมุนเวียนเลือดมี 8 แผนการจัดการเรียนรู้  โดยมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน ของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำทางสถิติ ที่ระดับ .05 3) เจตคติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนหลังเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำทางสถิติที่ระดับ .05  

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกรัตน์ วุฒิวิชาภรณ์. (2555). ผลการใช้สื่อมัลติมีเดียร่วมกับวิธีเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ที่มี ผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาชีววิทยา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนทวารวดี จังหวัดนครปฐม. วารสารอิเล็กทรอนิกส์Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร, 5(1), 657-671.

กรวรรณ สิบสม และนพรัตน์ หมีพลัด. (2560). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบห้องเรียน (Flipped Classroom) ด้วยการบูรณาการการเรียนการสอนรายวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดียผ่าน Google Classroom. วารสารวิชาการสถาบันอุดมศึกษาเอกชน, 6(2), 118-127.

จณิสตา กองคำ และคณะ. (2564). รูปแบบของการวัดและประเมินผลการเรียนออนไลน์วิชาปฏิบัติการในยุคโควิด-19:กรณีศึกษา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 15(4), 32-44

ณัฏฐสิน ตลิ่งไธสง. (2562). การพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์วิชาชีววิทยา เรื่องระบบต่อมไร่ท่อ ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า นครราชสีมา. สิกขาวารสารศึกษาศาสตร์, 6(1), 13-23.

ธนทร บับพาน. (2561). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับทางสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารครุพิบูล, 6(1), 52-66.

ชนิสรา เมธภัทรหิรัญ. (2560). ห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) กับการสอนคณิตศาสตร์.นิตยสารสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 46(209), 20-23.

ฐานิตา ลิ่มวงศ์ และยุพาภรณ์ แสงฤทธิ์. (2562). “ห้องเรียนกลับด้าน: การเรียนรู้แนวใหม่สำหรับศตวรรษที่21” (21st Century Skills) Flipped Classroom: new learning for 21st Century Skills. วารสาร Mahidol R2R e-Journal. 6(2), 9-17.

ธนภรณ์ กาญจนพันธ์. (2559). ผลการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียน กลับทางที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยาการกำกับตนเอง และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

นิชาภา บุรีกาญจน์ และเอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์. (2557). ผลการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาโดยใช้แนวคิดแบบห้องเรียนกลับด้านที่มีผลต่อความรับผิดชอบและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 9(4), 253-267.

นิอิบนูรอวี บือราเฮง. (2558). ผลของการสอนแบบบูรณาการด้วยการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน สื่อประสม และนวัตกรรมคุณลักษณ์ศึกษาด้านทักษะทางสังคมที่มีต่อพฤติกรรมและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ปิยะวรรณ ปานโต. (2563). การจัดการเรียนการสอนของไทยภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). กรุงเทพฯ: สถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภา และสำนักวิชาการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

รัตนาภรณ์ สีมาคำ. (2558). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยใช้สื่อมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.

วิจารณ์ พานิช. (2556). ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับทาง. สงขลา: เอสอาร์พริ้นติ้งแมสโปรดักส์ จำกัด.

วสันต์ ศรีหิรัญ. (2560). ห้องเรียนกลับด้านกับการคิดวิเคราะห์.วารสารบัณฑิตศึกษา, 14(65), 19-28.

เสาวลักษณ์ หล้าสิงห์. (2558). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ โดยใช้การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ด้วยสื่อประสม เรื่อง ระบบประสาทและอวัยวะรับความรู้สึกสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร, 8(1), 1243-1255.

อธิพงษ์ ภูเก้าแก้ว. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติต่อวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเคมี โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความแตกต่างระหว่างบุคคล (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาสารคาม:มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

อำไพ คำเคน. (2556). การจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบโมเดลซิปปาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนและเจตคติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

Bergmann, J., and Sams, A. (2013). Students’ Perceptions of the Effect of Flipping Online Classes Using a Synchronous Interactive Online Tool. Journal of the Department of Supervision and Curriculum Development, 70(6), 16-20.

Johnathan D. T., Sturek. M., and Basile D. P. (2013). Flipped Classroom Model Improves Graduate Student Performance in Cardiovascular, Respiratory, and Renal Physiology. Journal of Advances in physiology education, 37(1), 316-320.

Leo, J., and Puzio, K. (2016). Flipped Instruction in a High School Science Classroom. Journal of Science Education Technology, 25(5), 775-781.

Moraros, J., Ashrafi, A., Yu, S., and Banow, R. (2015). Flippingfor Success: Evaluating the Effectiveness of a Novel Teaching Approach in a Graduate Level Setting. BMC Medical Education, 15(1), 1, 27.