การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบจำลองเป็นฐาน เรื่อง เซลล์และการทำงานของเซลล์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

ฐาปนีย์ แสนใจ
ยุวดี อินสำราญ
เนตรชนก จันทร์สว่าง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบจำลองเป็นฐาน เรื่อง เซลล์ และการทำงานของเซลล์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนหลังได้รับการจัดกิจกรรมด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบจำลองเป็นฐาน เรื่อง เซลล์ และการทำงานของเซลล์ กับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังได้รับการจัดกิจกรรมด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบจำลองเป็นฐาน เรื่อง เซลล์ และการทำงานของเซลล์
กับเกณฑ์ร้อยละ 70  กลุ่มตัวอย่างเป็น นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 34 คน โรงเรียนสิรินธรวิทยานุสรณ์ ได้มาโดยการสุ่มกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบจำลองเป็นฐาน เรื่อง เซลล์ และการทำงานของเซลล์ จำนวน 4 ชุด 2 ) แบบวัดการคิดวิเคราะห์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเป็นแบบทดสอบชนิดปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ใช้เวลา 1 ชั่วโมงมีค่าความยากง่าย ระหว่าง 0.20-0.80 ค่าอำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง 0.20-0.60 ค่าความเชื่อมั่น (KR-20) ทั้งฉบับเท่ากับ 0.93 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเป็นแบบทดสอบชนิดปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ใช้เวลา 1 ชั่วโมง มีค่าความยากง่าย ระหว่าง 0.20-0.77 ค่าอำนาจจำแนก (B) อยู่ระหว่าง 0.25-0.69 ค่าความเชื่อมั่น (Lovett) ทั้งฉบับเท่ากับ 0.90 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมุติฐานโดยการใช้การทดสอบแบบกลุ่มเดียว (One-sample t-test)


       ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบจำลองเป็นฐาน เรื่อง เซลล์และการทำงานของเซลล์ สำหรับนักเรียนระดับ
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 89.46/92.14 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ 80/80 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบจำลองเป็นฐาน เรื่อง เซลล์และการทำงานของเซลล์  มีการคิดวิเคราะห์สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 และ 3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบจำลองเป็นฐาน เรื่อง เซลล์และการทำงานของเซลล์  มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2546). ภาพอนาคตและคุณลักษณะของคนไทยที่พึงประสงค์. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

จุไรรัตน์ อินต๊ะนนท์ (2566). การพัฒนาชุดการสอน เรื่อง โครงสร้างภายในเซลล์สิ่งมีชีวิตด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E)ร่วมกับแบบจำลองสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1.วารสารนวัตกรรมสังคมและเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน ISSN 2822-0463, (Online), 62-71

ชรินรัตน์ จิตสุโภ เนติเฉลยวาเรศ และศรินทิพย์ ภู่สำลี. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 5(3). หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต.สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี จังหวัดลพบุรี.

ณัฐมน สุชัยรัตน์. (2558). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการสืบสอบโดยใช้แบบจำลองเป็นฐานและแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์และการถ่ายโยงการเรียนรู้ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธีระศักดิ์ ไชยสัตย์. (2560). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานและความสามารถในการคิดเชิงผลิตภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนมัธยมขยายโอกาสจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ปรีชาญ เดชศรี. (2552). การเรียนรู้แบบ Active learning:ทำได้อย่างไร. วารสารการศึกษาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี, 30(116).53-55.

ปรีญานันต์ นวลจันทร์. (2563). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต).

โพธิศักดิ์ โพธิเสน. (2558). การพัฒนาแบบจำลองทางความคิดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ใน เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบการสืบเสาะหาความรู้ที่ใช้แบบจำลองเป็นฐาน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต.

พงศกร เผือกสกุล. (2562). การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานร่วมกับภาพยนตร์เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 21, 71-76.

วรรณทิพา รอดแรงค้า (2540). การสอนวิทยาศาสตร์ทีเน้นทักษะกระบวนการ. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาทักษะวิชาการ (พว.).

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: ครุสภาลาดพร้าว.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2546). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มวิทยาศาสตร์หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สิริพัชร์ เจษฎาวิโรจน์. 2546. การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ, กรุงเทพฯ: บุ๊ค พอยท์.

สุคนธ์ สินธพานนท์. (2553).นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน (พิมพ์ครั้งที่ 4). สำานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไอลัดดา ปามุทา. (2560). การศึกษาผลสัมฤทธิ์และความคงทนทางการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง สารและการเปลี่ยนแปลงกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษา มหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Coll, R. K. (2006). Metaphor and Analogy in Science Education. Netherlands: Springer.

Clement, P. (2007). Introducing the Cell Concept with both Animal and Plant Cells: A Historical and Didactic Approach. Science and Education. 16, 423-440.

Gilbert, J. K. (2005). Visualization in Science Education. Netherland: Springer.