การพัฒนาความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษ โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารร่วมกับเทคนิคช่วยจำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

ชญานุช เข็มทอง
วิชยา โยชิดะ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษ โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารร่วมกับเทคนิคช่วยจำกับเกณฑ์ร้อยละ 70 2) เพื่อเปรียบเทียบการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยการจัดการเรียนรู้             ตามแนวคิดการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารร่วมกับเทคนิคช่วยจำ กับเกณฑ์ร้อยละ 70 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารร่วมกับเทคนิคช่วยจำ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้
คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/4 จำนวน 45 คน โรงเรียนบ้านหมากแข้ง อำเภอเมืองอุดรธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารร่วมกับเทคนิคช่วยจำ จำนวน 6 แผน 2) แบบวัดความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ จำนวน 30 ข้อ 4) แบบวัดความ
พึงพอใจ จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ One-Sample t-test.


       ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีคะแนนความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวคิดภาษาเพื่อการสื่อสารร่วมกับเทคนิคช่วยจำ หลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 75.38 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ.05 2) การเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวคิดภาษาเพื่อการสื่อสารร่วมกับเทคนิค              ช่วยจำ พบว่าการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 78.74 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05
3) ผู้เรียนมีความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนรู้ตามแนวคิดภาษาเพื่อการสื่อสารร่วมกับเทคนิคช่วยจำ ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

การศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน. (2562). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2562. สืบค้นจาก http://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb.

การศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน. (2563). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2563. สืบค้นจากhttp://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การขนส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

ก็ก่อ พิสุทธิ์ และกัลยรัตน์ ชาวันดี. (2561). การพัฒนาทักษะการออกเสียงภาษาอังกฤษ โดยใช้ชุดฝึกทักษะโฟนิกส์ออนไลน์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเต่างอยพัฒนศึกษา. สืบค้นจากhttp://www.ska2.go.th/reis/data/research/25620911_150656_0997.pdf.

ชวลิต ชูกําแพง. (2551). การพัฒนาหลักสูตร. มหาสารคาม: ทีคิวพี จํากัด.

ชลลดา เรืองฤทธิ์ราวี. (2559) ผลการใช้กลวิธีช่วยจำเพื่อพัฒนาการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. (การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พิชญาภา กล้าวิจารณ์. (2560). การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6.(วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต).มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

พิรมลักษณ์ ตันปาน. (2561). พัฒนาความสามารถในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวภาษาเพื่อการสื่อสาร ประกอบเทคนิคนีมโมนิคส์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เพ็ญนภา แป้นอินทร์ และภัทร์ธีรา เทียนเพิ่มพูล. (2559). ผลของรูปแบบการเรียนรู้และการสอนแบบกลยุทธ์ช่วยจำที่มีต่อผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้คำศัพท์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3: กรณีศึกษาของโรงเรียนสุเหร่าคลองจั่น. ใน Proceedings รวมบทความวิจัยระดับบัณฑิต การนำเสนอผลงานวิจัยการประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 2 นวัตกรรมและงานวิจัยกลไกพัฒนา 59 ประเทศ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม (น.197-206).กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม.

แสงระวี ดอนแก้วบัว. (2558). ภาษาศาสตร์สำหรับครูสอนภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุมิตรา อังวัฒนกุล. (2540). วิธีสอนภาษาอังกฤษ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สไบภรณ์ พงศ์ศาสตร์. (2560). การพัฒนาการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษด้วยกิจกรรมการเรียนรู้สมองเป็นฐาน.มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏสารคาม.

Allen, V. F. (1983). Techniques in teaching vocabulary. New York: Oxford University Press.

Searleman, A., and Herrmann, D. (1997).Memory from a broader perspective.New York: McGraw-Hill.

Shumin, K. (2002). Developing Adult EFL Students’ Speaking Abilities in Richards: Methodology in Language Teaching: An Anthology of Current Practices. In: Cambridge University.

Ur p. (1998). A Course in Language Teaching Trainee.Cambridge University Press.