ผลการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาแบบหมวกคิด 6 ใบร่วมกับคุณค่า 6 เหรียญ ที่มีต่อการคิดวิเคราะห์และค่านิยมด้านอนามัยเจริญพันธุ์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

ทิพปภา อรุณเนตร
ธัญมา หลายพัฒน์
อนงค์ หาญสกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลการจัดการเรียนรู้แบบหมวกคิด 6 ใบ ร่วมกับการเห็นคุณค่า 6 เหรียญ ที่มีต่อการคิดวิเคราะห์และการเห็นคุณค่าของอนามัยเจริญพันธุ์ ในรายวิชาสุขศึกษาของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนเรียนและหลังเรียน 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการจัดการเรียนรู้หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบหมวกคิด 6 ใบ ร่วมกับการเห็นคุณค่า 6 เหรียญ และการจัด
การเรียนรู้แบบปกติที่มีต่อการคิดวิเคราะห์และค่านิยมด้านอนามัยเจริญพันธุ์ ในรายวิชาสุขศึกษาของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสตรีเศรษฐบุตรบำเพ็ญ ปีการศึกษา 2563 จำนวน 2 ห้องเรียน ซึ่งได้มาโดยวิธี
การเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) แล้วนำกลุ่มที่เลือกมาสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยวิธีการจับสลากเพื่อให้ได้กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยห้อง 3/1 เป็นกลุ่มทดลอง และห้อง 3/3 เป็นกลุ่มควบคุม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัด
การเรียนรู้แบบหมวกคิด 6 ใบ ร่วมการเห็นคุณค่า 6 เหรียญ แบบวัดการคิดวิเคราะห์ และแบบประเมินค่านิยมด้านอนามัยเจริญพันธุ์ สถิติ
ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีทางสถิติ t-test แบบ Dependent Sample และ t-test แบบ Independent Sample


       ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบหมวกคิด 6 ใบ ร่วมกับการเห็นคุณค่า 6 เหรียญ
มีการคิดวิเคราะห์และค่านิยมด้านอนามัยเจริญพันธุ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบหมวกคิด 6 ใบ ร่วมกับการเห็นคุณค่า 6 เหรียญ กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติมีการคิดวิเคราะห์หลังเรียนไม่แตกต่างกัน 3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบหมวกคิด 6 ใบ ร่วมกับการเห็นคุณค่า
6 เหรียญ มีค่านิยมด้านอนามัยเจริญพันธุ์หลังเรียนสูงกว่าการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จินตนา สรายุทธพิทักษ์. (2561). การพัฒนารูปแบบการสอนตามแนวคิดการพัฒนาด้านจิตพิสัย เพื่อสร้างเสริมสุขภาพนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารครุศาสตร์, 42(2), 43-61.

เจษฎา สามี. (2563). ผลการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาด้วยการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับ วิธีคิดแบบหมวก 6 ใบที่มีต่อการรู้เท่าทันสื่อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ชัชวรรณ จูงกลาง. (2562). ผลการใช้กิจกรรม "ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้" เรื่องเพศศึกษา โดยใช้แนวคิดการพัฒนาด้านจิตพิสัยที่มีต่อค่านิยมทางเพศที่เหมาะสมกับสังคมไทย. วารสารคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 47(3), 175-195.

พัชราพร ควรรณสุ. (2566). ปัจจัยที่มีผลต่อการตั้งครรภ์ไม่ถึงประสงค์ในวัยรุ่นหญิง จังหวัดนครพนม. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อม และสุขภาพชุมชน, 8(1), 324-334.

วรรณา การเฉื่อยเฉิน. (2562). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ร่วมกับเทคนิคการคิดแววหมวก 6 ใบเพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณาญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารมนุษยศาสตร์แลสังคมศาสตร์, 25(3), 200-210.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. http://plan.bru.ac.th/.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การจัดการเรียนรู้แบบพัฒนากระบวนการคิดด้วยการใช้คำถามหมวกคิด 6 ใบ.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สำนักงานอนามัยการเจริญพันธุ์. (2562). แผนปฏิบัติการยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นระดับชาติ พ.ศ. 2560 - 2569 ตามพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 ระยะ 3 ปี (ปีงบประมาณ 2562-2564). สืบค้นจาก http://rh.anamai.moph.go.th/.

สำนักงานอนามัยการเจริญพันธุ์. (2566). สถิติการคลอดของแม่วัยรุ่นประเทศไทยปี พ.ศ. 2564. สืบค้นจาก https://rh.anamai.moph.go.th/th/adolescent-mothers-birth-statistics.

De Bono Edward. (1985). Six Thinking Hats. Boston: Little, Brown.