ความสามารถด้านสารสนเทศกับการบริหารความเสี่ยงบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

Main Article Content

ฑิมศ์พิกา เถาจู
ฐิตาภรณ์ สินจรูญศักดิ์

บทคัดย่อ

ในยุค Digital Disruption ที่ภาคธุรกิจมีความผันผวนสูงจากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของปัจจัยแวดล้อมภายนอก ซึ่งเป็นปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ และไม่มีกฎเกณฑ์ในการเปลี่ยนแปลง ส่งผลกระทบให้เกิดการแทนที่ด้วยธุรกิจใหม่ ๆ ไม่เว้นแม้กระทั่งบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แนวทางหนึ่งในการหลีกเลี่ยงและลดความเสียหายให้แก่ธุรกิจ คือ การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อสร้างสมรรถนะของบริษัทให้แข็งแกร่ง สร้างความเหนือกว่าคู่แข่งขันอื่น ๆ และทำให้ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของบริษัท โดยเป็นการนำข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ประมวลผล ส่งผลออกมาเพื่อให้ผู้ใช้งานนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจ ซึ่งการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้นี้อาจจะส่งผลกระทบเป็นวงกว้างตั้งแต่ระดับบุคคล องค์กร อุตสาหกรรม ไปจนถึงระดับประเทศ และสิ่งที่ตามมาที่สำคัญอย่างหนึ่งของการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ คือ ความเสี่ยง ซึ่งอาจจะมีสาเหตุมาจากความสามารถ ของสารสนเทศ ได้แก่ (1) ฮาร์ดแวร์ (2) ซอฟต์แวร์ (3) ข้อมูล (4) บุคคลากร และ (5) ขั้นตอนการปฏิบัติงานได้


            ดังนั้นการป้องกันความเสี่ยงให้แก่บริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจึงมีความสำคัญอย่างมากที่จะลดความสูญเสียทรัพยากรของบริษัท และทำให้บรรลุผลสำเร็จจากการมีกำไรสูงสุด ด้วยการนำแนวความคิดการบริหารความเสี่ยงแบบ COSO-REM 2017 ซึ่งเป็นการบริหารความเสี่ยงที่มาจากวัตถุประสงค์ของบริษัท ในด้านต่าง ๆ ได้แก่ (1) การกำกับดูแลกิจการและวัฒนธรรมองค์กร (2) กลยุทธ์และวัตถุประสงค์องค์กร (3) เป้าหมายผลการดำเนินงาน (4) การทบทวนและการปรับปรุง และ (5) สารสนเทศ การสื่อสาร และการรายงานมาใช้ในการวางแผนกลยุทธ์ การป้องกันความเสี่ยง และการรับมือกับความเสี่ยงในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2564). คู่มือการบริหารจัดการความเสี่ยงของ กรมควบคุมมลพิษ. กรุงเทพฯ: กรมควบคุมมลพิษ.

จักรกฤษณ์ โพดาพล. (2564). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์: ผู้นำในยุค Disruptive. วารสารวิจัยศรีล้านช้าง, 1(3), 33-44.

ณัฐพัชร์ ศรีพันธ์ลม. (2560). การบริหารความเสี่ยงที่ส่งผลต่อการบริหารงานทั่วไปของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2.วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 9(1), 257-270.

ธนานันท์ มาซีดี, ปริญ ลักษิตามาศ, ศรายุทธ เล็กผลิผล และชัยพล หอรุ่งเรือง. (2561). ความเสี่ยงและความสามารถในการดำเนินธุรกิจที่ส่งผลต่อการจัดการการตลาดลูกค้าสัมพันธ์ในตลาดขยะรีไซเคิล ในนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออก. MFU Connexion, 7(2), 17-47.

นวพร โตประเสริฐพงศ์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการริเริ่มให้มีการกำกับดูแลเทคโนโลยีสารสนเทศของบริษัทจดทะเบียนไทย. วราสารปัญญาภิวัฒน์, 7 (ฉบับพิเศษ เดือนสิงหาคม)

บุญพร กำบุญ. (2565). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนความสามารถในการทำกำไรกับเงินปันผลของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วราสารสหศาสตร์. 22(1), 70.

พรรคพงศ์ วุฒิพงศ์. (2565). COSO ERM 2017 แนวการบริหารจัดการสู่ THAILAND 4.0. เอกสารการประชุม “Tune Brian 2/65” เพิ่มคุณค่าองค์กรด้วยการบริหารความเสี่ยง. สืบค้นจาก https://www.nhso.go.th/storage/files/ 220309103620/nhso_65%20TB2/nhso_2_TuneBrian2-65_COSOERM2017.pdf.

พิชญธิดา ชุ่มแจ่ม. (2564). การศึกษากระบวนการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กรตามกรอบแนวคิด COSO ERM 2017 กรณีศึกษา: บริษัทผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติก A. (การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ภณิดา วรทวีธำรง. (2561). ความสอดคล้องของการบริหารความเสี่ยงตามหลัก COSO-ERM 2017 ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (การค้นคว้าอิสระ. บัญชีมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เยาวนุช รักสงฆ์. (2562). ผลกระทบของประสิทธิภาพระบบสารสนเทศทางการบัญชีที่มีต่อผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,11(2), 200-213.

ศรัณย์ ชูเกียรติ, จุฑาทิพ อัสสะบำรุงรัตน์, จอมสุรางค์ เรืองประพันธ์ และอุษารัตน์ ธีรธร. (2564). ประเด็นสำคัญของการบริหารความเสี่ยงขององค์กร: การบูรณาร่วมกับกลยุทธ์ และผลการปฏิบัติงาน (COSO ERM (2017). วราสารววิชาชีพบัญชี, 16(49), 60-71.

ศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2555). การบริหารความเสี่ยง: กลไกการกำกับดูแลกิจการ. วาราสารบริหารธุรกิจ, 34(130), 1-3.

เศกสรรค์ คงคชวัน. (2556). การพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ในองค์การบริหารส่วนตำบลควนศรี อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 6(3), 228-247.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2559), เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.

สุณัฏฐา สว่างใจ. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างความสำเร็จของการบริหารความเสี่ยงตามแนวคิด COSO ERM 2017 กับผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์. (2565). ก.ล.ต. ปรับปรุงเกณฑ์เพื่อยกระดับมาตรฐาน ความปลอดภัยระบบ IT ของผู้ประกอบธุรกิจภายใต้การกำกับดูแล. Retrieved from Thai ข่าว ก.ล.ต. (sec.or.th).

โสภาพรรณ ไชยรัตน์. (2566). รูปแบบการจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศส่งผลต่อการดำเนินงานกระบวนการของสำนักงานบัญชีในยุค New Normal จังหวัดภูเก็ต. Journal of Roi Kaensarn Academi, 8(4), 539.

อัจฉราภรณ์ ทวะชารี, ขจิต ณ กาฬสินธุ์ และนงลักษณ์ แสงมหาชัย. (2561). ผลกระทบของสมรรถนะของระบบสารสนเทศทางบัญชีสมัยใหม่ที่มีต่อ ความสำเร็จขององค์กรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 5(2), 267-268.

อุคม เจียรจินดา. (2563). เทคโนโลยีสารสนเทศกับประสิทธิภาพ ในการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานในเขต กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร, 3(2), 59-70.

SET. (2566). การบริหารความเสี่ยงองค์กร. สืบค้นจาก https://www.set.or.th/th/about/ overview/risk-management.

The Committee of Sponsoring Organizations of the Treadway Commission. (2017). Enterprise Risk Management: Integrating with Strategy and Performance Executive Summary. (2017). Retrieved from https://www.coso.org/

Documents/ 2017-COSO-ERM-Integrating-with-Strategy-and-Performance Executive-Summary.pdf

Heinich, Robert and others. (2002). Instructional Media and Technologies for Learning. 6 th ed.New Jersy: Prentice-hall.

Lee, M.K.O. and Turban, E. (2001). A Trust Model for Consumer Internet Shopping. International Journal of Electronic Commerce, 6, 75-91.Retrieved from https://doi.org/10.1080/10864415. 2001.11044227.

Wheelen, T. L. and Hunger, J. D. (2006). Strategic Management and Business Policy: Cases2. Pearson/Prentice Hall. p. 3.