การพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษโดยใช้การสอนแบบโฟนิกส์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การสอนแบบโฟนิกส์ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผล ของการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การสอนแบบโฟนิกส์ 3) เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้การสอนแบบโฟนิกส์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/1 จำนวน 25 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษาที่ 2565 โรงเรียนหนองฮางวิทยา อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ดซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เนื่องจากผู้เรียนไม่สามารถแยกแยะพยัญชนะและหน่วยเสียง และไม่สามารถอ่านภาษาอังกฤษได้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษโดยใช้การสอนแบบโฟนิกส์ จำนวน 6 บทเรียน บทละ 3 แผน รวม 18 ชั่วโมง 2) แบบวัดทักษะในการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ เพื่อใช้ทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน จำนวน 1 ชุด 10 คำ 20 คะแนน มีค่าความยาก (P) ตั้งแต่ 0.46-0.67 มีอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.25-1.00 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (rcc) เท่ากับ 0.58 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้ 1) ขั้นตอนการสอนประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1. ขั้นเตรียมความพร้อมการสอน 2. ขั้นนำเสนอเนื้อหา 3. ขั้นฝึกปฏิบัติ 4. ขั้นทบทวน ซึ่งผลของประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การสอนแบบโฟนิกส์ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.06/82.60 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80 2) ค่าดัชนีประสิทธิผลของการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การสอนแบบโฟนิกส์ มีค่าเท่ากับ 0.7184 3) ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้การสอนแบบโฟนิกส์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 พบว่า ผู้เรียน มีทักษะการอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้การสอนแบบโฟนิกส์ อยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 80.06 ซึ่งมีระดับคุณภาพดีเยี่ยม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
กรมวิชาการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช. 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
จารุวรรณ สายสิงห์. (2546). การผสมผสานการเรียนการสอนแบบโฟนิกส์และการสอนภาษาโดยรวมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านออกเสียง ความเข้าใจในการอ่านการเขียนสะกดคำและความคิดเห็นต่อการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การสอนภาษาอังกฤษ บัณฑิตวิทยาลัย. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ฐาปนีย์ พันธ์วิศวาส. (2558). RSU National Research Conference. การสอนอ่านแบบโฟนิกส์เพื่อพัฒนาทักษะ การอ่านภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในระบบการศึกษาสองภาษา โรงเรียนไทยนิยมสงเคราะห์ เขตบางเขน สังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2558 24 เมษายน 2558, 1430-1439.
ณัฐพล สุริยมณฑล. (2560). การสอนแบบโฟนิกส์เพื่อส่งเสริมการออกเสียงและความรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรการสอนและเทคโนโลยีการเรียนรู้). เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
บุญชม ศรีสะอาด. (2546). การวิจัยสำหรับครู. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
เผชิญ กิจระการ. (2544). ดัชนีประสิทธิผล. มหาสารคาม: ภาควิชาเทคโนโลยีและการสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
โรงเรียนหนองฮางวิทยา. (2565). รายการประเมินตนเองของสถานศึกษา. ร้อยเอ็ด: โรงเรียนหนองฮางวิทยา.
สาวิตรี อานมณี. (2562). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านสะกดคำโดยใช้เสียงโฟนิกส์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). นนทบุรี: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). แนวดำเนินงานของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.
สุนันทา ปัญญารัตน์. (2554). การพัฒนาการสอนอ่านออกเสียงและเขียนสะกดคำภาษาอังกฤษด้วยวิธีสอนแบบโฟนิกส์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนลำสนุ่น อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา). กรุงเทพฯ:บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
อินทิรา ศรีประสิทธิ์. (2552). ทฤษฎีใหม่ในการสอนภาษาอังกฤษสำหรับคนไทยที่รวมการวางพื้นฐานด้วย Phonemic awareness & Phonics ตามด้วยการสอนอ่านเป็นคำ (whole language) เพื่อแก้ปัญหาอาการภาษาอังกฤษบกพร่อง (dyslexia) ของคนไทย. ใน เอกสารการอบรมครูในสภาพแวดล้อมที่มีนักเรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ วันที่ 24-26 มีนาคม 2552 (หน้า 1-14). กรุงเทพฯ: UNESCO-APEID.
Lewis, M. and Ellis, S. (2006). Phonics Practice, Research and Policy. London: Paul Chapman Publishing.
Zanuwar, H.A. (2012). The use of phonics method to improve pronunciation for young Learners. Retrieved August 17, 2022, from http://lib.unnes.ac.id/13804/.