การพัฒนาการเรียนรู้ผสมผสานแบบร่วมมือกันตามเทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ วิชา วิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

วรากร แจ้งสนาม
สนิท ตีเมืองซ้าย
ปัณญาพัฒน์ ขันทอง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาการเรียนรู้ผสมผสานแบบร่วมมือกันตามเทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ วิชา วิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนรู้ด้วยการเรียนรู้ผสมผสานแบบร่วมมือกันตามเทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการทำงานเป็นกลุ่มกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยการเรียนรู้ผสมผสานแบบร่วมมือกันตามเทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ และ (4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ผสมผสานแบบร่วมมือกันตามเทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านอู่โลก จำนวน 20 คน การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ผสมผสานแบบร่วมมือกันตามเทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดพฤติกรรมการทำงานเป็นกลุ่ม และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสหสัมพันธ์ ค่าที (t-test)


            ผลการวิจัย พบว่า (1) การเรียนรู้ผสมผสานแบบร่วมมือกันตามเทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ที่ได้พัฒนาขึ้นเป็นการนำการเรียนรู้ สองรูปแบบมาบูรณาการร่วมกันคือ การเรียนรู้ผสมผสานและเทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อยู่ทั้งหมด 5 ขั้นตอน ตามเทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ คือ ขั้นสอน ขั้นทบทวนความรู้เป็นกลุ่ม ขั้นทดสอบย่อย ขั้นความก้าวหน้า ขั้นให้รางวัลกลุ่ม และในแต่ละขั้นตอนได้นำรูปแบบการเรียนแบบผสมผสานทั้งในชั้นเรียนปกติและชั้นเรียนออนไลน์เข้าไปร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (2) โดยนักเรียนที่เรียนด้วยการเรียนรู้ผสมผสานแบบร่วมมือกันตามเทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และยังพบว่า (3) พฤติกรรมการทำงานเป็นกลุ่มของนักเรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  มีความสัมพันธ์กันทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้ยังพบว่า (4) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ผสมผสานแบบร่วมมือกันตามเทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์โดยรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ฉบับปรับปรุง 2560.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กรมวิชาการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กองบริหารงานวิจัยและประกันคุณภาพการศึกษา. (2559). Thailand 4.0 โมเดลขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความมั่งคั่งมั่นคง และยั่งยืน. กรุงเทพฯ: กองบริหารงานวิจัยและประกันคุณภาพการศึกษา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). หลักการวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาส์น.

ทิศนา แขมมณี. (2554). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2550). หลักการสอน (ฉบับปรับปรุง) (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2543). เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ทองทิพภา วิริยะพันธุ์. (2551). การบริหารทีมงานและการแก้ปัญหา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่7). กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒประสานมิตร.

ศิริรัตน์ เพ็ชร์แสงศรี. (2555). การเรียนแบบผสมผสาน. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 11(1), 1-5.

จริยา ชุมมุง. (2551). ผลการจัดกิจกรรมด้วยกลุ่มร่วมมือโดยใช้เทคนิค TGT สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ลบ คูณ หารระคน. (วิทยานิพนธ์ กศ.ม.). มหาสารคาม:มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ศิริพล แสนบุญส่ง. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบโครงงานเป็นฐานผ่านสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนคลาวด์คอมพิวดิง เพื่อส่งเสริมผลงานสร้างสรรค์และทักษะการทำงานร่วมกันเป็นทีมของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยภัฏราชภัฏภูเก็ต.

สุจิตรา นาครัตน์. (2561). การพัฒนาบทเรียนบนเว็บ โดยใช้เทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ ชนิดและหน้าที่ของคำ. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ฉัตรฤดี ศรีสนไชย. (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ประกอบแบบฝึกทักษะ. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

นภัทร ไชยบุดดี. (2562). การส่งเสริมความสามารถการทำงานเป็นทีมด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับเว็บสนับสนุน รายวิชาการเขียนโปรแกรมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ปัทมวรรณ หาญคำภา. (2562). การส่งเสริมพฤติกรรมการมีส่วนร่วมโดยใช้การเรียนรู้ผสมผสานแบบท้าทายเป็นหลัก สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสตรีศึกษา. มหาสารคาม:มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

กฤช สินธนะกุล. (2562). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์แบบผสมผสานตามแผนการสอนฐานสมรรถนะ. วารสารวิจัยและนวัตกรรม, 2(2), 118.

ปณิตา วรรณพิรุณ. (2551). การพัฒนารูปแบบการเรียนบนเว็บแบบผสมผสาน โดยใช้ปัญหาเป็นหลักเพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนิสิตปริญญาบัณฑิต.(วิทยานิพนธ์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศูนย์ข้อมูลการวิจัย Digital “วช.”.

สถาบันทดสอบการศึกษาแห่งชาติ. (2564). ค่าสถิติพื้นฐานผลการทดสอบ O-NET. สืบค้นจาก http://niets.or.th/th/catalog/view/3121.