การส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบไฮบริดสำหรับนักเรียนระดับชั้น ปวช. วิทยาลัยสารพัดช่างมหาสารคาม

Main Article Content

วชิราภรณ์ ภูเลี่ยมคำ
สนิท ตีเมืองซ้าย
ปัณญาพัฒน์ ขันทอง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปฏิบัติการส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบไฮบริด สำหรับนักเรียนระดับชั้น ปวช. วิทยาลัยสารพัดช่างมหาสารคาม 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนได้รับการจัดการเรียนรู้แบบไฮบริด ใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) แบบ PAOR มี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นวางแผน (Plan) ขั้นการปฏิบัติการ (Act) ขั้นสังเกต (Observe) ขั้นสะท้อนผลการปฏิบัติ (Reflect) กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยสารพัดช่างมหาสารคาม เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้การจัดการเรียนรู้แบบไฮบริด แบบบันทึกอนุทินของนักเรียนแบบสัมภาษณ์นักเรียน แบบบันทึกหลังสอน แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ


ผลการวิจัยพบว่า 1) การส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบไฮบริด ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ขั้นออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนขั้นสรุป และขั้นประเมินผล โดยจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้เป็นแบบไฮบริด ที่ประกอบด้วยการเรียนรู้แบบประสานเวลาและไม่ประสานเวลาส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 และ 2) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้แบบไฮบริดอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการมอบนโยบาย. สืบค้นจาก https://www.moe.go.th/.

วาพัชญ์ บำรุงเศรษฐพงษ์, ภูริสร์ ฐานปัญญา และเกรียงไกร สัจจะหฤทัย. (2563). การเรียนการสอนแบบไฮบริด (Hybrid Learning) กับกรพัฒนาคุณภาพการศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์, 12(3), 213-224.

ชัยวัฒน์ สุภัควรกุล, สุทธิพงศ์ หกสุวรรณ และนิคม ชมภูหลง.ระบบการเรียนการสอนแบบไฮบริดปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 23(1). 66-77.

ฉันทิชย์ สาธิตานันท์. (2554). การพัฒนาโมเดลการเรียนการสอนแบบไฮบริดสำหรับการเรียนรายวิชาฟิสิกส์ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ. (ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เรวดี เกษตรเจริญ. (2564). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ด้วยห้องเรียนออนไลน์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ Hybrid Learning.

Tsoi, M. F.&Goh, N.K. (2008). Addressing Cognitive Processes in E-learning: TSOI Hybrid Learning Model. US-China Education Review,V.5, No.7. Google Scho.