การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค GI เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาตินักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค GI เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลในการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค GI 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค GI และ 4) ศึกษาความพึงพอใจ ของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค GI กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนวาปีปทุม จำนวน 40 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 10 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจ ต่อกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค GI เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที (t-test Dependent)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาแผนกิจกรรม การเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค GI จำนวน 10 แผน ได้ค่าความเหมาะสมเฉลี่ยตั้งแต่ 4.61 ถึง 4.85 มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ดัชนีประสิทธิผลของกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค GI มีค่าเท่ากับ 0.7010 คิดเป็นร้อยละ 70.10 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค GI เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 4) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค GI โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ฉบับปรับปรุง 2560. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
กิติมา ปรีดีดิลก. (2552). การบริหารและการนิเทศการศึกษาเบื้องต้นสาขาบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เกรียงไกร กิติยศ. (2560). การพัฒนาการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมโดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
กฤตยาภรณ์ วงศ์เพิ่ม. (2561). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือโดยใช้ชุดฝึกทักษะกระบวนการทางภูมิศาสตร์ร่วมกับเทคโนโลยีโลกเสมือนจริง วิชาภูมิศาสตร์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนชุมชนเทศบาลวัดศรีดอยไชย. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 4(10), 53-65, (มกราคม-เมษายน 2564).
เจนจิรา ถาอิ่นแก้ว. (2562). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาภูมิศาสตร์ เรื่องทวีปเอเชียโดยใช้รูปแบบกลุ่มสืบสวน สอบสวน ร่วมกับผังกราฟิกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. (ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาสารคาม:มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ทิศนา แขมมณี. (2558). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 19). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ฐิติยา มูลมาตย์. (2563). การพัฒนาการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือรูปแบบสืบสวนสอบสวนร่วมกับแผนผังความคิด เรื่อง พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ. (ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาสารคาม:มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ญาณา วาจนสุนทร. (2561). ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวน เรื่อง ความเป็นมาของชาติไทยสมัยก่อนอาณาจักรสุโขทัยจนถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนกันทรารมณ์ จังหวัดศรีสะเกษ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เผชิญ กิจระการ. (2554). การวิจัยและทฤษฎีเทคโนโลยีการศึกษา. วารสารภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสาร การศึกษา, 7(1), 45-50.
วันเพ็ญ สืบบุตร. (2561). การพัฒนาทักษะการแสวงหาความรู้ โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือแบบ GI การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์. วารสาร สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะมหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(1), 105-115.
สุวิทย์ มูลคำ. (2557). กลยุทธ์การวิเคราะห์ พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติสำนักนายกรัฐมนตรี. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบเอ็ด. พ.ศ. 2555-2559. กรุงเทพฯ: เดอะบุค.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 26. (2563). รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2560-2563. มหาสารคาม: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 26.
สมชาย ชูชาติ. (2558). กิจกรรมการสอนคณิตศาสตร์ (แคลคูลัส) ด้วยคอมพิวเตอร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
เสาวลักษณ์ มัจฉาชีพ. (2562). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวนที่มีต่อทักษะการแก้ปัญหาและความสามารถในการคิดเชิงเหตุผลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการเรียนรู้). พระนครศรีอยุทธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุทธยา.
สิวิภา พัฒน์มณี (2563). ผลการสอนแบบสืบสวนสอบสวน เรื่อง ประวัติศาสตร์ไทยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนจ่านกร้อง จังหวัดพิษณุโลก. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
อำนวย มีสมทรัพย์. (2553). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานเป็นทีมกับการบริหารวิชาการของสถานศึกษาสำนักงานเขตพื้นการศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต 1. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(1), 59-69.