ประสิทธิภาพการดำเนินงานตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ของรัฐ ในจังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

อำนวย สังข์ช่วย

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการดำเนินงานตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ในช่วงการแพร่ระบาดไวรัส
โควิด-19 และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาการดำเนินงานตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ในช่วงการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 “โครงการ
คนละครึ่ง” ของรัฐ ในจังหวัดขอนแก่น 4 มาตรการ 4 โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) โดยการใช้ โปรแกรม Google Form ระบบ Online และแบบสอบถามร้านค้าผู้เข้าร่วมโครงการ 8 ประเภท จำนวน 376 ร้านค้า จำแนกตาม เพศ และอาชีพของผู้ประกอบการ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม หาค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ความถี่ร้อยละ และใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเจาะลึก จำนวน 24 ร้านค้า ใช้วิธีคัดเลือกโดยวิธีเจาะจง (In-depth Interview) กระจายตามความเหมาะสมของสถานการณ์ (ชาย โพธิสิตา, 2550) และวิเคราะห์ข้อมูล
เชิงพรรณนา (Descriptive Analysis)


       ผลการวิจัย พบว่า 1).ผลการศึกษาวิเคราะห์ ประสิทธิภาพการดำเนินงานตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ในช่วงการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 “โครงการคนละครึ่ง”ของรัฐ ในจังหวัดขอนแก่น 4 มาตรการ 4 โครงการ พบว่า เป็นมาตรการและโครงการที่ดีเป็นที่ต้องการของประชาชนชนผู้ประกอบการ จำแนกออกเป็นรายโครงการ ดังนี้ 1) โครงการ “เพิ่มกำลังซื้อ” ให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โดยภาพรวม
มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมาก 2) โครงการ” เพิ่มกำลังซื้อ”ให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ พบว่า โดยภาพรวมมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมากที่สุด 3) โครงการ “คนละครึ่ง” สนับสนุนเติมเงินผ่านแอพพลิเคชั่น เป๋าตัง โดยภาพรวมมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมากที่สุด) และ 4) โครงการ”ยิ่งใช้ยิ่งได้”โดยภาพรวมมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับปานกลาง 2) ผลการวิเคราะห์แนวทางพัฒนาการดำเนินงานตามมาตร
การกระตุ้นเศรษฐกิจ ในช่วงการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 “โครงการคนละครึ่ง” ของรัฐ ในจังหวัดขอนแก่น จำนวน 4 มาตรการ 4 โครงการ   พบว่า 1) โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 3 นี้ มีข้อเสนอแนะแนวทางพัฒนาว่าเป็นโครงการที่ดี รัฐควรจัดให้มีต่อไปอย่างต่อเนื่อง รัฐควรช่วยเหลือร้านค้าโดยการลดการเก็บภาษีให้น้อยลง รัฐควรเพิ่มระยะเวลาและวงเงินการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
2) โครงการ “เพิ่มกำลังซื้อ” ให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ ผู้ไม่สามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ต ผู้ไม่มีสมาร์ทโฟน มีข้อเสนอแนะแนวทางพัฒนาการดำเนินงานว่า รัฐควรส่งเสริมจัดให้ต่อไปอย่างต่อเนื่อง โดยเพิ่มและขยายระยะเวลา ขยายวงเงินการใช้จ่ายให้กับประชาชนให้มากขึ้น 3) โครงการ “คนละครึ่ง” ระยะที่ 3 มีร้านค้าที่เข้าร่วม ให้เสนอแนะแนวทางพัฒนาให้รัฐเพิ่มวงเงินค่าใช้จ่ายต่อวัน
ของผู้เข้าร่วมโครงการให้มีมากกว่านี้ รัฐควรช่วยลดภาษีให้กับร้านค้าผู้เข้าร่วมโครงการให้น้อยลง และรัฐควรขยายโครงการให้มีระยะเวลาการใช้จ่ายให้มากกว่านี้ 4) โครงการ “ยิ่งใช้ยิ่งได้” โครงการนี้เป็นโครงการที่ดีประชาชนมีความพึงพอใจ รัฐควรจัดทำต่อ ๆ ไป
อย่างต่อเนื่อง รัฐควรจัดให้มีการสำรวจตามความต้องการของประชาชนโดยรัฐไม่ควรจำกัดวงเงินและระยะการใช้จ่ายเงินต่อการจัดทำโครงการเยียวยาตามมาตรการนี้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการคลัง. (2563). โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และโครงการคนละครึ่ง. สืบค้นจาก http://www.fpo.go.th/main//News/Press-conference/13487.aspx.

กระทรวงการคลัง. (2564). ความคืบหน้าโครงการละครึ่ง. สืบค้นจาก http://www.fpo.go.th/main//News/Press-conference/13893.aspx.

กระทรวงสาธารณสุข. (2564). มาตรการด้านการแพทย์และด้านการสาธารณสุขในช่วงของการแพร่ระบาดของโควิด -19 แนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุข เพื่อการจัดการภาวะระบาดของโรคโควิด -19 ในข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 1) ที่มา: www.covid-19.moph.go.th.

กรมควบคุมโรค. (2563). สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไว้รัสโคโรน่า ในประเทศไทย 2563.

คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบ อนุมัติ. (2564). 4 มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ บรรเทาผลกระทบจากโควิด -19 เพื่อบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์โควิด -19 จำนวน 4 โครงการ.

คณะรัฐมนตรี. (2564). มีมติเห็นชอบ อนุมัติ 4.2 หมื่นล้านบาท: มาตรการช่วยเหลือจะช่วยฟื้นฟูการเยียวยาเศรษฐกิจ จากการล็อกดาวน์ ในช่วงการระบาดของโควิด -19 ในประเทศไทย.

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.). (2564). นโยบายการเงิน เดือน มิถุนายน 2564 ข่าว ธปท. ฉบับที่ 47/2564 เรื่อง รายงานนโยบายการเงิน ฉบับเดือน มิถุนายน 2564. ข้อมูล: ส่วนกลยุทธ์นโยบายการเงิน โทร. 0 2356 7872, 0 2283 6186 E-mail: MPStrategyDiv@bot.or.th.

ปานวาด พิชเคียน. (2564). โครงการ “คนละครึ่ง” ในห้วงการระบาดของเชื้อไวรัส โควิด -19. วารสารทหารพัฒนา, 45(1), มกราคม-เมษายน.

แผนการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม. (2564). จากผลกระทบของไวรัสโควิด-19 ภายใต้กรอบวงเงิน 4 แสนล้านบาทตาม พ.ร.ก.กู้ เงินฯ 1 ล้านล้านบาท หน้า 1-37.

ผู้ประกอบการร้านค้าทั้งรายใหญ่รายย่อย. (2564). แหล่งทะเบียนเข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง 4 มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 (2564). สืบค้นจาก https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG210506202123014.

พระมหาอรุณ ปญฺญารุโณ, กัญจิรา วิจิตรวัชรารักษ, พระครูธรรมคุต (สุทธิพจน์สุทฺธิวจโน) และสุพัตรา สันติรุ่งโรจน (2562), การบริหารจัดการภาครัฐในวิกฤตการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(11), 2-17.

ส่วนการวิเคราะห์เสถียรภาพเศรษฐกิจ สำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กระทรวงการคลัง. (2564). บทความ.

สมศักดิ์ จังตระกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น. (2564). กล่าวว่า จังหวัดขอนแก่น มียอดการใช้จ่ายในโครงการของรัฐ อยู่ในลำดับที่ 2 ของกลุ่มเมืองหลัก 22 จังหวัด และอยู่ในลำดับที่ 4 ของประเทศ.

สยามรัฐออนไลน์. (2564). ข่าวทั่วไทย “คนขอนแก่นเข้าร่วมโครงการ ตามสวัสดิการ-กลุ่มต้องการช่วยเหลือพิเศษ-คนละครึ่ง-ยิ่งใช้ยิ่งได้” ช่วยเหลือครอบคลุม 51 ล้านคน เริ่มใช้จ่าย 1 ก.ค.-31 ธ.ค. 64 เติมเม็ดเงินลงระบบเศรษฐกิจ 4.73 แสนล้านบาท.

สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2563). สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไว้รัสโคโรน่า ในประเทศไทย.

สุภมาศ ประภัสชัย คลังจังหวัดขอนแก่น. (2564).“โครงการคนละครึ่ง” ในส่วนของพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ได้รับเสียงตอบรับที่ดีมากทั้งร้านค้าและประชาชน. มาตรการดูแลเศรษฐกิจในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19, ช้อปเก่ง 4 โครงการรัฐ ทะลุ 4,697 ล้าน บาท รั้งอันดับ 4 ของประเทศ.

ยุวาณี อุ้ยนอง. (2559). Helicopter money: ทางเลือกของมาตรการช่วยฟื้นเศรษฐกิจ. https://www.scbeic.com/th/detail/product/2556.

หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ออนไลน์. (2564). วันที่ 1 มิถุนายน 2564-16: 24 น., กระทรวงการคลัง เปิดเผยรายละเอียด 4 โครงการ เพิ่มกำลังบัตร.

เอกรินทร์ บำรุงภักดิ์. (2564). บทความวิชาการมาตรการเยียวยาประชาชน ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดใหญ่: โควิด-19 ผู้สื่อข่าว บีบีซีไทย วันที่ 29 มิถุนายน 2021.

อำนวย สังข์ช่วย (2565) ประสิทธิภาพการดำเนินงานตามมาตรการ Work Form Home (WFH) ในสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น.วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, 6(2), 566-580.