ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โปรแกรมจีโอจีบรา ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และความรู้สึกเชิงจำนวน เรื่อง เศษส่วน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

ศุภกานต์ ชัยประโคน
มะลิวัลย์ ภัทรชาลีกุล
นิภาพร ชุติมันต์

บทคัดย่อ

       การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 6 ที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โปรแกรมจีโอจีบรา ให้มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 70/70 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผล
ของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
โดยใช้โปรแกรมจีโอจีบรา 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และเปรียบเทียบความรู้สึกเชิงจำนวน เรื่องเศษส่วน
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โปรแกรมจีโอจีบรา กับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบ้านเขวาทุ่ง จังหวัดมหาสารคาม จำนวน
1 ห้องเรียนมีจำนวนนักเรียน 16 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โปรแกรมจีโอจีบรา เรื่องเศษส่วน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 18 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นแบบทดสอบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ โดยมีค่าความยาก ตั้งแต่ 0.60-0.80 ค่าอำนาจจำแนก ตั้งแต่ 0.16-0.45 และความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ 0.70 ข้อ 3) แบบทดสอบวัดความรู้สึกเชิงจำนวน เรื่องเศษส่วน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นแบบทดสอบปรนัย 2 ตัวเลือก คือ ถูกและผิด ถ้าเลือกผิดให้แก้ไขให้ถูกต้อง จำนวน 14 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ตั้งแต่ 0.60-1.00 มีค่าความยาก (p) ตั้งแต่ 0.57-0.79 มีค่าอำนาจจำแนก ตั้งแต่ 0.14-0.57 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.73 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ Hoteling's T2


       ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โปรแกรมจีโอจีบรา เรื่องเศษส่วน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ 77.98/75.31 2) ค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.61 แสดงว่า นักเรียนมีคะแนนเพิ่มขึ้นร้อยละ 61  3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และความรู้สึกเชิงจำนวนสูงกว่าเกณฑ์  ร้อยละ 70

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). คู่มือการใช้หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551(ออนไลน์). https://www.scimath.org/.

ฉลาด สายสินธุ์. (2562). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โปรแกรมจีโอจีบรา เรื่อง ลำดับและอนุกรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารการวัดผลการศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 25(2), 82-95

ฑิฆัมพร ภูมิประสาท. (2559). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ STAD ร่วมกับการใช้แบบฝึกเสริมทักษะ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม,10(2), 157-164.

ทิศนา แขมมณี. (2556). ศาสตร์การสอน (17th ed.). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (8th ed.). สุวีริยาสาส์น.

ประสาท เนืองเฉลิม. (2554). หลักสูตรการศึกษา. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ปริยทิพย์ บุญคง. (2546). การศึกษาปัจจัยบางประการที่สัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พงศักดิ์ วุฒิสันต์. (2556). GeoGebra อีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจของครูคณิตศาสตร์. นิตยสาร สสวท, 41(181), 13–16.

ภัณฑิรา ศรีใจ. (2565).การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความรู้สึกเชิงจำนวน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. 17(2), 199-212.

รัฐพงศ์ คงพินิจ. (2565). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยวิธีการของโพลยาร่วมกับสื่อจีโอจีบรา เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เรื่องสี่เหลี่ยมมุมฉาก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 19(3), 215-226.

วุฒิชัย ภูดี. (2558). การสร้างรูปเรขาคณิตสามมิติ ด้วยโปรแกรม GeoGebra. นิตยสาร สสวท, 43(196), 21-24.

สมนึก ภัททิยธนี. (2553). การวัดผลการศึกษา (4th ed.). ประสานการพิมพ์.

สาขาคณิตศาสตร์ประถมศึกษา สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2545). เอกสารเสริมความรู้ทางคณิตศาสตร์เรื่องความรู้สึกเชิงจำนวน.

อธิภูมิ พาสงค์. (2559). การใช้โปรแกรม GeoGebra ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบ 4MAT เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์เรื่องแคลคูลัสเบื้องต้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

อิทธิชัย มาเรือน. (2559). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โปรแกรมจีโอมิเตอร์สเก็ตชแพดที่มีต่อความคิดรวบยอดและความรู้สึกเชิงจำนวน เรื่อง เศษส่วนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่