การพัฒนาหลักสูตรสู่การเป็นหลักสูตรมุ่งเน้นสมรรถนะ: กรณีศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอกต่อสมรรถนะของนักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม 2) เพื่อศึกษาความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายในต่อสมรรถนะของนักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม 3) เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะของนักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ บุคลากรในหน่วยงานที่นักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิตเข้ารับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ จำนวน 295 คน และนักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต ที่กำลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษา 2565 จำนวน 174 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยมีดังนี้ สมรรถนะที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอกคาดหวังมากที่สุด คือ ด้านบุคลิกภาพภายนอก สมรรถนะที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายในคาดหวังมากที่สุด คือ สมรรถนะด้านคุณธรรม จริยธรรม แนวทางการพัฒนาหลักสูตรที่สำคัญ คือ การมุ่งเน้นการพัฒนาบุคลิกภาพภายนอก และการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมให้นักศึกษา
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
แก้วตา ผู้พัฒนพงศ์และนิคม เจียรจินดา. (2561). สมรรถนะของผู้ปฏิบัติงานกับคุณภาพกาให้บริการขององค์การ. วารสารเกษมบัณฑิต. 19 (ฉบับพิเศษ), 1-13.
ณัฐดาวรรณ มณีวร. (2562). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะของพนักงานเทศบาลตำบลหนองป่าครั่ง อำเภอเมืองเชียงใหม่จังหวัดเชียงใหม่. (การค้นคว้าอิสระมหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
บุษยา วงษช์วลิตกุล. (2558). ความคาดหวงัความสามารถหลักในการทำงานของนิสิต นักศึกษาสหกิจศึกษาในทรรศนะของผปู้ระกอบการ. วารสารวิชาการ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย 90 ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, 21(2), 90-102.
ปรียานุช พรหมภาสิต และคณะ. (2564). แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะบัณฑิตที่ประสงค์ของหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. วารสารพิกุล, 19(1), 103-117.
พัชรินทร์ จึงประวัติ. (2560). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาฝึกงานในทัศนะของผู้บริหารสถานประกอบการด้านการท่องเที่ยว. วารสารวิชาการและวิจัย มทร. พระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2(1), 11-21.
มานะศิลป์ ศรทนงค์. (2562). ความคาดหวังและความพึงพอใจต่อคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้ใช้บัณฑิตสาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม โครงการจัดตั้ง ภาควิชาอุตสาหกรรมบริการและนวัตกรรมภาษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสนด้านงานแม่บ้านของโรงแรม ระดับ 4-5 ดาวในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ(สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 5(1), 370-379. 3-5.
สิรินดา กมลเขต. (2558). คุณลักษณะของบัณฑิตพึงประสงค์สาขารัฐประศาสนศาสตร์สำหรับคามต้องการของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 9(1). 115-122.
สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม. (2565). รายงานการศึกษาระบบอุดมศึกษาไทยในบริบทของประเทศพัฒนาแล้วฉบับที่ 1: การผลิตและพัฒนากำลังคนตามความต้องการของประเทศ (2565) กรุงเทพฯ: พริ้นท์เอเบิ้ล
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). สถานการณ์ด้านักศึกษาและกำลังแรงงานนะดับอุมศึกษา. กระทรวงดิจิทัลเพื่อนเศรษฐกิจและสังคม. สืบค้นจากhttps://www.nso.go.th/sites/2014/Pages/home.aspx.
Taro Yamane. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: New York: Harper & Row.