การจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ที่ส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

กฤษณ์ ศิริวรินทร์
ธัญญลักษณ์ เขจรภักดิ์
ทิพาพร สุจารี

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ที่ส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ
เพื่อความเข้าใจ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของนักเรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ที่ส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ระหว่างก่อนและหลังเรียน 3) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 75 และ 4) ศึกษา ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเรียนอนุกูลนารี  ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 36 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้การจัดการเรียนรู้ แบบ SQ4R 2) แบบวัดความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 4) แบบสอบถาม ความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าทีแบบกลุ่มเดียว 


         ผลการวิจัย พบว่า 1) กิจกรรมการเรียนรู้แบบ SQ4R ที่ส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจมีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 76.35/80.19 ซึ่งเป็นไปตามเกณที่กำหนด 2) นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ แบบ SQ4R อยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กมลวรรณ เกตุภูงา. (2563). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับแผนผังความคิด. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

กานต์ธิดา ทองจันทร์. (2564). ผลของการใช้วิธีสอนแบบ SQ4R ร่วมกับการใช้ผังกราฟิกในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. Journal of Buddhist Education and Research, 7(3), 217-228.

ขวัญเกล้า ศรีโสภา. (2560). การจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค CIRC เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาครู.(การค้นคว้าอิสระ). ธนบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

ชุติมา ยอดตา. (2561). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R เพื่อเสริมสร้างความสามารถการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ฐิติวรดา พิมพานนท์. (2560). การพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ SQ4R ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ธนพล พุฒพรึก และทิพาพร สุจารี. (2564). การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบ SQ4R. วารสารสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น, 5(2), 43-51.

บัวลักษณ์ เพชรงาม. (2559). การพัฒนาการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้วิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

พรพรรณ พูลเขาล้าน. (2563). การพัฒนาความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ร่วมกับเทคนิค SQ4R. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21 (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

สายรุ้ง กิมยงค์. (2561). การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมการอ่านภาษาอังกฤษ ในการพัฒนาความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 4 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Maulizan, Z. A., & Khatmi, K. (2020). The effectiveness of SQ4R cooperative learning method on reading learning for EFL students. Journal of English Teaching and Linguistics, 1(2), 126-133.

Moon, R. C., & Kwan, S. H. (2022). Improving Students’ Intensive Reading Ability by Using Survey-Question-Read-Review-Recite-Reflect Method. JELITA, 12-21.