การศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2

Main Article Content

ประจักษ์ ภูคงกิ่ง
ศักดิ์สิทธิ์ ฤทธิลัน
สุพจน์ ดวงเนตร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนจำนวน 298 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิอย่างไม่เป็นสัดส่วน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล ด้านสภาพปัจจุบัน มีค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง 0.26-0.85 ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.96 ด้านสภาพที่พึงประสงค์ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.26-0.93 ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.94 และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีลำดับความต้องการจำเป็น ใช้สถิติการทดสอบที การทดสอบเอฟ และการวิเคราะห์เนื้อหา


            ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการจำเป็น โดยภาพรวม เท่ากับ 0.38 ด้านที่มีความต้องการจำเป็นมากที่สุด คือ ด้านวิสัยทัศน์ ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านคุณธรรมและจริยธรรม และด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนที่มีต่อคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 จำแนกตามสถานภาพ สภาพปัจจุบัน โดยภาพรวม พบว่า ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ด้านคุณธรรมจริยธรรมและด้านวิชาการ มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สภาพที่พึงประสงค์ โดยภาพรวม พบว่า มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน และจำแนกตามขนาดของสถานศึกษาสภาพปัจจุบัน โดยภาพรวม มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการทดสอบค่าเฉลี่ยรายคู่ ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ คู่ที่แตกต่างกันคือ ขนาดเล็กกับขนาดกลาง ด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ คู่ที่แตกต่างกันคือ ขนาดเล็กกับขนาดใหญ่ และขนาดกลางกับขนาดใหญ่ สภาพที่พึงประสงค์ โดยภาพรวม มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน 3) ผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 นำเสนอแนวทางการพัฒนา จำนวน 19 แนวทาง ประกอบด้วย 1) ด้านวิสัยทัศน์ ผู้บริหารสถานศึกษาควรศึกษานโยบายเขตพื้นที่การศึกษาและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน กำหนดทิศทางการศึกษา ประชุมครูและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อจัดทำแผนพัฒนาสถานศึกษาให้สอดคล้องกับมาตรฐานการจัดการศึกษา นิเทศ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน และรายงานผลต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา นำจุดเด่นและจุดที่พัฒนา มาวิเคราะห์ ปรับให้สอดคล้องกับบริบทสถานศึกษา ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม 2) ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ผู้บริหารสถานศึกษาควรนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการนิเทศและประเมิน เช่น นิเทศผ่านระบบออนไลน์ หรือสื่ออื่น ๆ ที่เหมาะสม ส่งเสริม สนับสนุน และอำนวยความสะดวกครูในการจัดหาสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในสถานศึกษา แต่งตั้งคณะกรรมการนิเทศ ติดตาม ประเมินผลการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมกับผู้เรียน จัดทำแผนงานโครงการการเข้าการใช้เทคโนโลยีในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้บุคลากรพัฒนาวิชาชีพ และเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ กิจกรรม ผลงานของสถานศึกษาต่อสาธารณะอยู่เสมอ 3) ด้านคุณธรรมและจริยธรรม ผู้บริหารสถานศึกษาควรปฏิบัติตนที่ดีตามหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาและเห็นอกเห็นใจผู้ใต้บังคับบัญชาเสมอ มีแนวคิดเชิงบวก มีเทคนิคสามารถใช้คนให้ถูกกับงานตามความรู้ความสามารถ สนับสนุนในการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริม คุณธรรม จริยธรรม และน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวัน ยึดหลักและปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพมีความซื่อสัตย์สุจริต พัฒนาวิชาชีพอยู่เสมอ สร้างผลงานที่แสดงถึงการพัฒนาความรู้และความคิดในวิชาชีพจนเป็นที่ยอมรับ มีความยุติธรรมวางตัวเป็นกลางและเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน 4) ด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ผู้บริหารสถานศึกษาควรส่งเสริมให้ครูทำข้อตกลงในการพัฒนางาน ซึ่งเป็นประเด็นท้าทายในการสร้างนวัตกรรม นิเทศ ติดตาม และประเมินผล
การปฏิบัติงานครูอยู่เสมอ ส่งเสริม สนับสนุนให้ครูผลิตสื่อและนวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้ในการเรียนการสอน และการวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหา
ในชั้นเรียน สามารถวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกโดยใช้หลักการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2565). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570). สืบค้นจากhttps://www.bic.moe.go.th/index.php/about-us/policy-menu/2023-06-27-04-27-46.

เกียรติเกรียงไกร บุญทน. (2557). ความคิดริเริ่มของผู้บริหารที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ขนิษฐา แก้วละมุล. (2564). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). ศรีสะเกษ: มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.

ขวัญกมล สายเส็น. (2561). ผู้นำสายพันธ์ใหม่ในยุค 4.0.(วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต).กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

คนึงนิตย์ กิจวิธี. (2560). การศึกษาคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรอียุธยาเขต 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

เทอรีส มีเดช. (2557). การศึกษาคุณลักษณะความเป็นมืออาชีพของผู้บริหารตามความคิดเห็นของครูโรงเรียนนานาชาติ อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี.

ธุมากร เจดีย์คํา. (2559). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10 แก้ไขเพิ่มเติม. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปิยณัฐธิดา เคนบุปผา. (2559). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ ค.ม.อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

พัทยา ทวยเศษ. (2558). คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา บุรีรัมย์เขต 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต).บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

โยธิน นิลคช. (2561). คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

วสันต์ บัวชุม. (2561). คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาบึงกาฬ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต).สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

วิภาลัย วงษา. (2563). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนในยุคไทยแลนด์ 4.0 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2557). แนวคิด ทฤษฎี และประเด็นเพื่อการบริหารทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: ทิพยวิสุทธิ.

สดุดี จีระออน. (2561). คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษายุคประเทศ ไทย 4.0 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิเขต 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). ชัยภูมิ: มหาวิทยาลัยภัฎชัยภูมิ.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2. (2565). รายชื่อโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 (ทั้งหมด). สืบค้นจาก https://data.bopp-obec.info/emis/school.php?Area_CODE=4602.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุดารัตน์ สุริเย. (2559). คุณลักษณะของผู้บริหารมืออาชีพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต).บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

อัครพงษ์ สุขมาตย์ พรชัย เจดามาน และคณะ. (2560). ภาวะผู้นำแบบยั่งยืนในศตวรรษที่ 21 ภายใต้กรอบการศึกษาประเทศไทย 4.0. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 16(2), 1-7.

อรพิน อิ่มรัตน์ . (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นาเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.