การพัฒนากระบวนการจัดประสบการณ์ของครูปฐมวัยโดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะสมองของเด็กปฐมวัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียว โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อพัฒนากระบวนการจัดประสบการณ์ของครูปฐมวัยโดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะสมองของเด็กปฐมวัย และเพื่อศึกษาผลของกระบวนการจัดประสบการณ์ของครูปฐมวัยโดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะสมองของเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูปฐมวัยโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง จำนวน 16 คน และนักเรียนระดับชั้นอนุบาล 1-3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง จำนวน 115 คน รวมจำนวนทั้งหมด 121 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่าง โดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Two Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทักษะสมอง และแบบวัดทักษะสมองสำหรับเด็กปฐมวัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐานค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนากระบวนการจัดประสบการณ์ของครูปฐมวัยโดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะสมองของเด็กปฐมวัย ที่ผู้วิจัยได้สังเคราะห์ข้อมูลจากกระบวนการจัดประสบการณ์ของครูปฐมวัยโดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะสมองของเด็กปฐมวัย ซึ่งประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก 1) ที่มาของการพัฒนากระบวนการจัดประสบการณ์ทักษะสมอง
2) กระบวนการพัฒนาการจัดประสบการณ์ทักษะสมอง 3) ผลการใช้กระบวนการจัดประสบการณ์ทักษะสมอง และ 4) สะท้อนผลการใช้กระบวนการจัดประสบการณ์ทักษะสมอง ผลการทดลองจากการใช้กระบวนที่พัฒนาขึ้นพบว่าหลังการอบรมพัฒนากระบวนการการจัดประสบการณ์ของครูปฐมวัยมีความสามารถในการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะสมองสำหรับเด็กปฐมวัยมีประสิทธิภาพมากขึ้นมีคะแนนเฉลี่ยหลังการอบรมเท่ากับ 4.75 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.44 ซึ่งสูงขึ้นกว่าก่อนการอบรม และทักษะสมองของเด็กปฐมวัยหลังจากได้รับการจัดประสบการณ์มีทักษะสมองคิดเป็นร้อยละ 85.60
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
กมลวรรณ สุภากุล. (2559). การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning เพื่อให้ผู้เรียนรู้จริง. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
กรัณย์พล วิวรรธมงคล. (2561). รูปแบบการพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมความสามารถจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal,Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 11(3), 91-114.
คณะกรรมการพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ. (2562). เอกสารประกอบการประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.
นัตยา หล้าทูนธีรกุล. (2561). แนวคิดและแนวปปฏิบัติ PLC กับการพัฒนาครูเพื่อศิษย์ยุค Thailand 4.0:เอกสารประกอบการจัดการเรียนรู้แนวคิดและแนวปปฏิบัติ PLC กับการพัฒนาครูเพื่อศิษย์ยุค Thailand 4.0. ขอนแก่น: สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา.
วไลพร เมฆไตรรัตน์ และสุชานาฏ ไชยวรรณะ. (2563). ผลการใช้นวัตกรรมการอ่านแบบกระบวนการ 3R โดยพ่อแม่ ผู้ปกครองเพื่อพัฒนาทักษะ EF สำหรับเด็กปฐมวัย. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 14(3), 134
วิจารณ์ พาณิช. (2560). วิถีสร้างครูสู่ศิษย์: ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ: เอกสารประมวลแนวคิดและแนวทางพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับคณะทำงานโครงการพัฒนาระบบกลไกและแนวทางการหนุนเสริมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาผู้เรียน. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน.
ศึกษาธิการ, กระทรวง. (2564). นโยบายการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 254-2565. สืบค้นจาก https//moe36.blog/2021/06/30/education-managemet-policy/.
สุภาวดี หาญเมธี. (2561). คู่มือพัฒนาทักษะสมอง EF Executive Functions สำหรับครูปฐมวัย. กรุงเทพฯ: รักลูกกรุ๊ป.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (พิมพ์ครั้งที่ 1).อ(น.ก). กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สำนักพัฒนาครู และบุคลากรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). คู่มือประกอบการอบรมการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC (Professional Learning Community) “ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทาง วิชาชีพ” สู่สถานศึกษา.สำนักพัฒนาครูและบุคลากรการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน: กระทรวงศึกษาธิการ.
อนุชา กอนพ่วง. (2562). การวิจัยและพัฒนารูปแบบการจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบ STEM Education. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, 25(1), 26-40