โรงเรียนนี้ใช่เลย
Main Article Content
บทคัดย่อ
ก่อนอื่นต้องชื่นชมผู้แต่งหนังสือเล่มนี้ และผู้แปลที่ได้นำมุมมองที่ดี เปรียบเสมือนเข็มทิศหางโลกการศึกษาก็ว่าได้ที่จะนำพาผู้ปกครองไปสู่ระบบการจัดการศึกษาที่ดีสำหรับตนเองและบุตรหลานอันเป็นที่รัก หนังสือ “โรงเรียนนี้ใช่เลย: You, Your Child and School”แบ่งเนื้อหาออกเป็น 10 บทด้วยกัน
บทที่ 1 หาทิศทางของตัวเอง ต้องชื่นชมคำกลอนที่กล่าว
“ถึงคุณครูที่รัก” และเห็นด้วยส่วนหนึ่งของบทกลอนที่ปรากฏ
ในหนังสือเล่มนี้ แต่ผู้วิจารณ์เองยังเห็นแย้งในส่วนท้ายที่กล่าวว่า ผู้ปกครองยังรู้สึกว่าพวกเขาไม่มีอำนาจเปลี่ยนแปลงอะไรจากสิ่งที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่งผู้วิจารณ์เห็นว่าระบบการจัดการศึกษาส่วนใหญ่จะมีตัวแทนผู้ปกครองเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการสถานศึกษา ซึ่งสามารถที่จะเสนอแนะแนวทาง รูปแบบการจัดการศึกษาที่เหมาะสมกับบริบทและความต้องการของชุมชน แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นทางออกสำหรับหนังสือเล่มนี้ให้กับผู้ปกครองที่ทำให้ทราบถึงรูปแบบของการจัดการศึกษาที่จำเป็นต่อเด็ก ในปัจจุบันและช่วยให้เข้าใจความท้าทายในการช่วยเหลือลูก ให้ได้รับการศึกษาที่เหมาะสม รวมถึงเห็นทางเลือกและอำนาจของผู้ปกครองในการเอาชนะสิ่งที่ท้าทายเหล่านั้น ซึ่งการเป็นพ่อแม่ผู้ปกครองมันติดตัวเราไปตลอดชีวิต ตราบที่ยังมีลมหายใจ หนังสือเล่มนี้ทำให้เราทราบวิธีการ รูปแบบการสร้างสภาพแวดล้อมให้ผู้เรียนมีความสุขกับการเรียนรู้ของลูกและตัวคุณในฐานะผู้ปกครอง ซึ่งจะพบกับคำศัพท์ที่จะนำไปสู้ประตูแห่งความสำเร็จสูงสุด ได้แก่ การเรียนรู้ คือการพัฒนาทักษะและความรู้ใหม่ การศึกษา คือกระบวนการจัดการเรียนรู้ โรงเรียน คือ ชุมชน ของผู้เรียน แต่เราต้องยอมรับว่ามีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นการอบรมจากสถาบันครอบครัว การเปลี่ยนแปลงของเด็กในโลกปัจจุบันที่สังคมออนไลน์เข้ามามีบทบาท การเปลี่ยนแปลงอาชีพจากผลกระทบของความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ซึ่งส่งผลทั้งทางด้านวัฒนธรรม การเมือง สังคม และสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไป ความเป็นธรรมและความเท่าเทียมจึงเป็นหลักการที่ต้องไปรับการปกป้องให้อู่เคียงคู่กับการศึกษา ซึ่งจุดเริ่มต้นที่ดีที่สุด คือความเข้าใจว่าเราต้องการสิ่งใดสำหรับลูก เด็ก ๆ ต้องการสิ่งใดสำหรับการเจริญเติบโตและการศึกษาจะเข้ามามีบทบาท นั้นคือความท้าทายของผู้ปกครอง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
เคน โรบินสัน, เซอร์. (2566). โรงเรียนนี้ใช่เลย: You, Your Child and School. ปทุมธานี: ยูอาร์ยู.