การจัดการความเสี่ยงด้านสุขภาพประชากรวัยทำงานด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

รักขณา สิงห์เทพ
ประภัสสร ปรีเอี่ยม
วิมลมาศ ปฐมวณิชกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์ และสภาพปัญหา พฤติกรรมความเสี่ยงด้านสุขภาพประชากรวัยทำงานของชุมชนบ้านโสกนาค ตำบลวังม่วง อำเภอเปือยน้อย จังหวัดขอนแก่น 2) สร้างและพัฒนารูปแบบ การจัดการความเสี่ยงด้านสุขภาพวัยทำงานด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนบ้านโสกนาค ตำบลวังม่วง อำเภอเปือยน้อย จังหวัดขอนแก่นและ 3) ทดลองใช้รูปแบบ และประเมินผล รูปแบบการจัดความเสี่ยงด้านสุขภาพประชากรวัยทำงานด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น ของชุมชนบ้านโสกนาคตำบลวังม่วง อำเภอเปือยน้อย จังหวัดขอนแก่น เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มเป้าหมายการวิจัย คือ กลุ่มที่ 1 ศึกษาสถานการณ์ สภาพปัญหา จำแนกเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 15 คน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการสนทนากลุ่ม จำนวน 30 คน กลุ่มที่ 2 สร้างและพัฒนารูปแบบ จำแนกเป็น ประชากรวัยทำงานที่มีความเสี่ยงด้านสุขภาพ จำนวน 20 คน ตัวแทนครอบครัวผู้ดูแล (ที่มีสุขภาพปกติ) ของคนวัยทำงานที่เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 20 คน ปราชญ์ชุมชน จำนวน 5 คน ผู้นำชุมชน 5 คน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน แกนนำ จำนวน 15 คน เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังม่วง รวม 30 คน และกลุ่มที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบ จำแนกเป็น ประชากรวัยทำงานที่เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 20 คน ตัวแทนครอบครัวผู้ดูแล (ที่มีสุขภาพปกติ) ของคนวัยทำงาน จำนวน 20 คน ปราชญ์ชุมชน จำนวน 5 คน ผู้นำชุมชน จำนวน 5 คน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน แกนนำ จำนวน 15 คน จ้าหน้าที่สาธารณสุขจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังม่วง จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์
แบบสนทนากลุ่ม แบบสังเกต และแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ค่าเฉลี่ยและค่าร้อยละ และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
สถานการณ์ และ สภาพปัญหา พฤติกรรมความเสี่ยงด้านสุขภาพวัยทำงานของชุมชน พบว่า ชุมชนบ้านโสกนาค ตำบลวังม่วง อำเภอเปือยน้อย จังหวัดขอนแก่นมีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 1,250 คน คนในวัยทำงานส่วนใหญ่ยังมีพฤติกรรมความเสี่ยงด้านสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส. โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดื่มสุราและสูบบุหรี่ชุมชนจะต้องร่วมกันแก้ไขปัญหาของพฤติกรรม ผู้วิจัยใช้กระบวนการ PAOR : วิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนโดยใช้วงจร PAOR 4 ขั้นตอนคือ ขั้นวางแผน (Plan) ขั้นปฏิบัติการ (Act) ขั้นสังเกตการณ์ (Observe) และขั้นสะท้อนผลการปฏิบัติ (Reflect) แต่ใช้กระบวนการ PAOR: ในขั้นวางแผน (Plan) ขั้นปฏิบัติการ (Act) โดยการมีส่วนร่วมของกลุ่มเป้าหมาย ตามกระบวนการ PAOR ได้หลักสูตร “การจัด
การความเสี่ยงด้านสุขภาพในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ผู้มีปัญหาความเสี่ยงด้านสุขภาพโดยการป้องกัน ส่งเสริม บำบัดรักษา ฟื้นฟูสุขภาพ ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น” ที่มีคุณภาพ และผลการทดลองใช้หลักสูตร และประเมินผลหลักสูตร
พบว่า การดำเนินการกิจกรรมเรียนรู้ โดยการสร้างการมีสวนร่วมกันของกลุ่มเป้าหมาย และคนในชุมชน ผ่านรูปแบบการจัดการความเสี่ยงด้านสุขภาพวัยทำงานด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนบ้านโสกนาค ในการประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพวัยทำงาน ของกลุ่มเป้าหมาย และการจัดการความเสี่ยงด้านสุขภาพด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้วยชุดความรู้ใหม่และการขับเคลื่อนตามหลัก ละ มละ 9 ทำให้คนในชุมชุนสามารถจัดการความเสี่ยงสุขภาพมีภูมิคุ้มกันใหม่ ให้กับจิตใจ คือ ละมลทิน ดำรงชีวิตอย่างมีศักดิศรี พอเพียง พึ่งตนเองได้ มีสุขภาพแข็งแรง ทั้งกายและใจ ด้วยภูมิปัญญา ท้องถิ่น โดยมีรูปแบบ การจัดการความเสี่ยงด้านสุขภาพในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ผู้มีปัญหาความเสี่ยงด้านสุขภาพ โดยการป้องกัน ส่งเสริม บำบัดรักษา ฟื้นฟู สุขภาพ ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น ละมลทินโดยการถ่ายทอดผ่านหลักธรรมที่เป็นเครื่องชำระจิตสร้างภูมิคุ้มกันใหม่ ให้กับจิตใจ ในการจัดการความเสี่ยงด้านสุขภาพด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น คือ การละมลทิน 9 ภายใต้ฐานคิด “ นวกะ ละมลทิน สร้างศักดิ์ศรี สร้างสุขภาพดี บนวิถีภูมิปัญญา”

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Office of the National Economics and Social Development Board. (2010). The eleventh national economic and social development plan (2012 – 2016).Bangkok : Prime minister's office.

Office of the nationalhealth. (2012). Sufficiency health system to create good health, good service, good society, happy life, just enough.Nonthaburi : Ministry of Public Health.

Phra Kham Khunaporn (Col. Poyutto). (2014). Dictionary of Buddhist Science The code, 29th edition. Bangkok: Mahachulalongkorn Rajabhat University.

Wang Muang Health Promotion Hospital. (2014). Statistics, statistics and statistical data. Wang Muang Health Promotion Hospital

Prapasorn Prieam. (2013). Removal of the Doctor of Philosophy Curriculum Innovation for Lacal Development. Rajabhat maha sarakham university.

Chanpen Chuppawan. (2012). Care for the physical health of the working-age population. Nonthaburi : Ministry of Public Health.

Ekachai Phum. (2012). Knowledge management, local wisdom for learning in the community. Tambon TKhok Ko Tao Amphoe Meuang Suphanburi Province. Bangkok : Suan Dusit Rajabhat University

Jiraanee Wanichkul. (1999). Study of local wisdom in utilizing community crops. In Tambon Tanao Sri Amphoe Suan Phueng Ratchaburi Province. Thesis Chulabhorn Rajabhat University.

Apichart Jai Ari (2012) Development of multilateral participatory process for sustainable forest management.: Case Study of Baan Pu Toi Kanchanaburi Province. Thesis Ph.D.: Bangkok : Kasetsart University

Viyada Ratanpetch. (2013) Adaptation model to social change in Isaan. Thesis. Mahasarakham: Mahasarakham University

Chitisan Rodpetpai. (1999) Risk management for needle pushing or sharpening in nursing personnel. Accident and emergency Thammasat University Hospital Thesis Thammasat University