การพัฒนาเครือข่ายเยาวชนเสบียงบุญเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันเยาวชน ตำบลบ่อใหญ่ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

กิตติชัย พิมพ์จ่อง
อวยชัย วะทา
ประภัสสร ปรีเอี่ยม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์ สภาพปัญหาของเยาวชน ชุมชนตำบลบ่อใหญ่ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม จากอดีตจนถึงปัจจุบัน 2) เพื่อพัฒนาหลักสูตรเครือข่ายเยาวชนเสบียงบุญเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันเยาวชน และ 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบและประเมินผล เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์และสภาพปัญหาของเยาวชน ชุมชน ได้แก่ ผู้มีอายุระหว่าง 10-19  และอาศัยอยู่ในบ้านบ่อใหญ่ จำนวน 5 หมู่บ้าน จำนวน 30 คน 2) กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการพัฒนาเครือข่ายเยาวชนเสบียงบุญ ได้แก่ ผู้นำเยาวชน จำนวน 5 คน  ปราชญ์ท้องถิ่นหรือผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน  เจ้าหน้าที่สาธารณสุขหรือนักวิชาการ  จำนวน 5 คน  ผู้แทนกองสาธารณสุข อบต.บ่อใหญ่ จำนวน 5 คน  ผู้แทนครูหรือผู้บริหารการศึกษา จำนวน 5 คน และแกนนำ อสม. จำนวน 5 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 30 คน 3) กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการทดลองใช้รูปแบบและประเมินผล ได้แก่  เครือข่ายเยาวชนเสบียงบุญ ในชุมชนบ่อใหญ่( ทั้ง 5 หมู่บ้าน) จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ประกอบด้วย การสนทนากลุ่ม แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต รวบรวมข้อมูลจากเอกสาร และศึกษาจากภาคสนาม วิเคราะห์ผลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และนำเสนอผลการวิจัยโดยวิธีพรรณนาความ ผลการวิจัยพบว่า 1) สถานการณ์ ชุมชนตำบลบ่อใหญ่ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม จากอดีตจนถึงปัจจุบันพบว่า ตำบลบ่อใหญ่มีเนื้อที่ประมาณ 34,606.30  ไร่ เป็นพื้นที่ลาบลุ่ม มีประชากรทั้งหมด 12,632 คน แยกเป็นชาย 6,320 คน หญิง 6,312 คน ส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้าง และสภาพปัญหาของเยาวชนจากการสัมภาษณ์ และสนทนากลุ่มกับชุมชน พบว่าทุกคนมีความต้องการที่จะให้พัฒนาเยาวชนในชุมชนตำบลบ่อใหญ่เป็นอันดับแรก เนื่องจากในปัจจุบันชุมชนตำบลบ่อใหญ่ กำลังประสบกับปัญหาด้านเยาวชนเป็นอย่างมาก อาจมีสาเหตุเนื่องมาจาก ภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมเปลี่ยนไป มีความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีและการสื่อสาร และในชุมชนเป็นที่ตั้งของสถานศึกษาในระดับมัธยมศึกษาทำให้ชุมชนมีสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น บ้านเช่า โรงแรม รีสอร์ท และหอพัก ทำให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว สิ่งที่ตามมาคือ ปัญหาของเยาวชนที่มีแหล่งมั่วสุม ดื่มสุรา ยกพวกตีกัน และทำให้มีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน จนทำให้ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ส่งผลให้หลังคลอดเยาวชนไม่สามารถเลี้ยงดูบุตรได้จึงสร้างภาระให้กับผู้ปกครอง และก่อให้เกิดปัญหาสังคมตามมาอย่างต่อเนื่อง 2) พัฒนาเครือข่ายเยาวชนเสบียงบุญได้หลักสูตรฯค่ายพัฒนาเครือข่ายเยาวชนเสบียงบุญเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันเยาวชนของชุมชนตำบลบ่อใหญ่  อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม ประกอบด้วย หลักการและเหตุผล แนวคิด  วัตถุประสงค์ ป้าหมาย ระยะเวลา เนื้อหา สื่อที่ใช้ในการดำเนินการ โครงสร้างหลักสูตร/แผนกิจกรรม โดยใช้กระบวนการ พลัง 5 โดย อันประกอบด้วย 1) พลังตัวตน 2) พลังครอบครัว 3) พลังสร้างปัญญา 4) พลังเพื่อนและกิจกรรม 5) พลังชุมชน และประเมินผลหลักสูตร  ซึ่งหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องและเหมาะสมกับเยาวชนชุมชนตำบลบ่อใหญ่ 3) ผลการทดลองใช้และประเมินผลหลักสูตร พบว่า กระบวนการของกิจกรรมพลัง 5 ประกอบด้วย 1) พลังตัวตน 2) พลังครอบครัว 3) พลังสร้างปัญญา 4) พลังเพื่อนและกิจกรรม 5) พลังชุมชน เป็นกิจกรรมที่ทำให้เยาวชนมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปในทางที่ดี กล้าแสดงความคิดเห็น กล้าแสดงออกในเชิงสร้างสรรค์และเป็นประโยชน์แก่ชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Office of the National Economics and Social Development Board. (2010). The eleventh national economic and social development plan (2012 – 2016). Bangkok : Prime minister's office.

National Youth Development Board 2012 – 2016. (2012). National Youth Development Plan 2012-2016.Retrieved on June 2, 2015 from http:http://www.nicfd.cf.mahidol.ac.th/th/index.php/policy/2011-10-13-04-10-00/238-direction-of-development-of-children-and-youth.

Mahasarakham Provincial Development Board, 2557 - 2560 (revision), Office Mahasarakham Provincial Office. Provincial Development Strategy Group 2557. Retrieved 25 July 2016 from http://innovation.kpru.ac.th.

Health Promotion Hospital in Ban Bo Big Yai Geographic Information System Health Resources gishealth.moph.go.th/healthmap/info.php?maincode. Retrieved on April 19.

Development Plan Board of Local Government Organization, 2558. Cognitive Development Plan Local administration of Boonsai subdistrict administrative organization. 2015. Searched on March 2, 2015. From http://boyai.localgov59.in.th.

Prapasorn Prieam. (2013). Removal of the Doctor of Philosophy Curriculum Innovation for Lacal Development. Rajabhat maha sarakham university.

Varathip Kaenjai and his team. (2015). การDevelopment of participatory youth empowerment to create happiness in Nong Khon community, Muang district, Ubon Ratchathani province. Ubon Ratchathani: Pewet Thai.

Samou Sangson. (1997). The development of youth participation to prevent the spread of narcotic drugs in Tambon Tha Mai, Phran Kratai Khampangphet. thesis M.A. : Kamphaeng Phet : Kamphaengphet Rajabhat University.

Dadatphatt Bonvonchai. (2012). Development of life-enhancing curriculum for drug prevention for junior high school students. Schools in Bangkok. Thesis Mahasarakham: Rajabhat Mahasarakham University.

Sittichai Nantaratkul and team. (2015). Develop training courses for youth-driven drug-free training for parents of Mathayom Suksa 3 studentsSurat Thani School Surat Thani, Surat Thani Rajabhat Journal, 2(2), July – December.

Phawadee Phantuwongsa. (2000). Development of understanding and access to and access to the Sufficiency Economy Philosophy and the creation of youth networks in secondary schools using group processes. Thesis M.E. Khon Kaen University: Khon Kaen University.

Kannika Permanent. (2011). Effects of the program on learner development on the intellectual and intellectual power of school children. Prathom 5Bangkhen School (Whale Memorial) Bangkok. Thesis. M.A. Bangkok : Kasetsart University.