การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง เศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวันและสิทธิในการบริโภค ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

จันทร์เพ็ญ วันทอง
อรัญ ซุยกระเดื่อง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเรื่องเศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวันและสิทธิในการบริโภคของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน 3) ศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านการอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อกิจกรรมการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/3 โรงเรียนบ้านป่างิ้วหนองฮี ตำบลหินตั้ง อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ทั้งหมด 20 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดอยู่อย่างพอเพียง แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน สถิติที่ใช้ ในการวิจัย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย หาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที
ผลการวิจัยพบว่า 1) กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเรื่องเศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวันและสิทธิในการบริโภคมีค่าประสิทธิภาพ เท่ากับ 82.15/82.16 2) นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน เรื่อง เศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวัน และสิทธิในการบริโภค มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน เรื่อง เศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวัน และสิทธิในการบริโภค มีคะแนนคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านอยู่อย่างพอเพียงอยู่ในระดับมาก 4) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับ มาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนก จันทร์ทอง และศิริขวัญ ชิณศรี. (2564). การพัฒนาทักษะการคิดและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชา ส 32104 สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงด้วยกระบวนการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) และ วิธีการแบบเปิด (Open Approach) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

กนกวรรณ เขียวน้ำชุม. (2563). การพัฒนาทักษะการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ในโรงเรียนบ้านดงน้อย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

จุฑามาศ กุลศรีโล, สุรกานต์ จังหาร และประยงค์ หัตถพรหม. (2565). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานร่วมกับสื่อประสมเรื่องประโยคเพื่อการสื่อสารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ชฎาพร จันทนา และอรัญ ซุยกระเดื่อง. (2565). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานเรื่องพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ปิยะราช วรสวัสดิ์. (2562). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง วิเคราะห์ประเด็นสำคัญในประวัติศาสตร์ไทยชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

พิศาล เครือลิต. (2565). การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาตอนต้น. (การศึกษาดุษฎีบัณฑิต) พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

มัญชสุ เลานอก. (2565). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานวิชาสังคมศึกษาเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. (ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อมรรัตน์ สิงห์โท และอรัญ ซุยกระเดื่อง. (2564). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานรายวิชาเศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.