อัตราส่วนทางการเงินที่มีอิทธิพลต่อราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย: กลุ่มธุรกิจการแพทย์

Main Article Content

ณฐภศา เดชานุเบกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินและราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มธุรกิจการแพทย์ และ 2) เพื่อทดสอบผลกระทบของอัตราส่วนทางการเงินที่มีต่อราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มธุรกิจการแพทย์ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากข้อมูลทางการเงินจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมาคำนวณอัตราส่วนทางการเงิน และราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มธุรกิจการแพทย์ ทั้งหมดจำนวน 22 บริษัท เป็นระยะเวลา 3 ปี ตั้งแต่ปี 2563-2565 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ แบบ Stepwise โดยมีตัวแปรอิสระจำนวน 8 อัตราส่วน คือ อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน อัตราหมุนเวียนของสินทรัพย์ อัตราส่วนหมุนเวียนสินค้าคงเหลือ อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น อัตราส่วนกำไรสุทธิ อัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้น กำไรต่อหุ้น และอัตราส่วนราคาตลาดของหลักทรัพย์ต่อกำไรต่อหุ้น ผลการวิจัย พบว่า ตัวแปรอิสระ กำไรต่อหุ้น อัตราส่วน อัตราส่วนราคาตลาดของหลักทรัพย์ต่อกำไรต่อหุ้น (P/E Ratio) อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น และอัตราส่วนหมุนเวียนสินค้าคงเหลือ มีอิทธิพลที่มีต่อ ราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มธุรกิจการแพทย์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ขวัญนภา เศิกศิริ, สมใจ บุญหมื่นไวย, และธนภณ วิมูลอาจ. (2561). อิทธิพลของอัตราส่วนทางการเงินต่อราคาตลาดหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย: กรณีศึกษากลุ่มอุตสาหกรรมบริการ. NRRU Community Research Journal, 12(2), 71-84.

จารุวรรณ ทองมั่น. (2558). อัตราส่วนทางการเงินที่มีความสัมพันธ์กับราคาตลาดของหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หมวดธุรกิจการแพทย์. (การค้นคว้าอิสระปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

เจตรัฐ สหนันท์พร. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับราคาหลักทรัพย์ ด้วยแบบจำลอง Panel VAR. (วิทยานิพนธ์ปริญญาเศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต).กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

เฉลิมพล จตุพร. (2562). คู่มือการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางเศรษฐมิติ (GRETL): การวิเคราะห์การถดถอย. นนทบุรี:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชัญญาณิศา ศุภอักษร, นิรันดิ์เกียรติ ลิ่วคุณูปการ, ฐานกุล กุฏิภักดี, และศิษฏ์ธวัช มั่นเศรษฐวิทย์. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการทากาไรกับอัตราผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาหุ้นของกลุ่มธุรกิจโรงพยาบาล และบริการด้านสุขภาพที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสาร อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี, 9(17), 29-42.

ชุดาพร สอนภักดี, ญาณิศา ทองโปร่ง, ธันยพร วิศรียา, วิมลณัฐ พวงประทุม และศุภิสรา ศิรินาวี. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับราคาหลักทรัพย์ของบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมบริการ หมวดการแพทย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 4(2), 45-57.

ณฐภศา เดชานุเบกษา และณัฐสพันธ์ เผ่าพันธุ์. (2562). การพัฒนาแบบจำลองการพิจารณาความน่าเชื่อถือทางการเงินสำหรับธุรกิจจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์บูรพาปริทัศน์, 14(2), 143-158.

ณัฐพล วชิรมนตรีและ ธัญวรัตน์ สุวรรณะ. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในหลักทรัพย์บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กรณีกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุนธานี, 11(1), 69-80.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2566). ปี 2564 คนไทยสนใจลงทุนในตลาดหุ้นไทย ทำสถิติสูงสุดใหม่อย่างต่อเนื่อง. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2566, https://www.set.or.th/th/ about/setsource/insights/article/17-setnote-volume2.

ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน). (2566). ส่อง ‘6 กลุ่มอุตสาหกรรมด้านสุขภาพ’ แนวโน้มการเติบโตสูงในตลาด AEC.

สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2566, https://www.bangkokbanksme. com/en/23-5up-6-health-industry-groups-in-the-aec.

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน). เจาะลึกธุรกิจ Healthcare ภาคธุรกิจแห่งโอกาสในการลงทุน. สืบค้นเมื่อ 16 กันยายน 2566, https://www.scb.co.th/th/personal-banking/stories/business-maker/healthcare.html.

ประภัสสร อธิกสุรพงศ์. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินต่อราคาหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET100) ในช่วงก่อนและหลังเหตุการ์ COVID19. (การค้นคว้าอิสระปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัญชี สาขาวิชาการบัญชีและการบริหารการเงิน). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เพชรี ขุมทรัพย์. (2544). หลักการลงทุน (พิมพครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ไพรัลยา วิจิตรประดิษฐ์. (2562). อัตราส่วนทางการเงินที่มีอิทธิพลต่ออัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

วสุนันท์ ปุกเสาร์. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานกับผลการดำเนินงานในอนาคตของบริษัทจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (การค้นคว้าอิสระปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต). เชียงใหม่:มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วิทยา แก้วม่วง และอภิชาติ พงศ์สุพัฒน์. (2566). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หมวดธุรกิจการแพทย์. Journal of Buddhist Education and Research, 9(2), 86-102.

วิไลลักษณ์ แสงสุวรรณ. (2564). ความสัมพันธ์ของอัตราส่วนทางการเงินต่อราคาหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่ม SET100. (สารนิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ศรีสุดา นามรักษา. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับราคาตลาดหลักทรัพย์ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (สารนิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ตลาดทุน. (2552). ทฤษฎีตลาดทุน (Capital Market Theory) (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.

หลักทรัพย์อินโนเวสท์ เอกซ์. (2565). การแพทย์เติบโตในระดับปกติอย่างแข็งแรงในปี 2566. สืบค้นเมื่อ 16 กันยายน 2566, https://res.innovestxonline.com/stocks/extra/53896_20221229084219.pdf.

Awalakki, M. and Archanna H. N., (2021), Impact of Financial Performance Ratios on Stock Returns-A Study with Reference to National Stock Exchange. International Journal of Aquatic Science, 12(3), (2151-2167).

Harinurdin, E., (2022). The Influence of Financial Ratio and Company Reputation on Company Stock Prices Financial Sector. The 5th International Conference on Vocational Education Applied Science and Technology 2022. 83(47), 1-12.

Isnawati, E. (2015). Analisis Overreaction terhadap Harga Saham. Ilmu Dan Riset Akuntansi, 4(11), 1-20.

Kotane, Inta & Kuzmina-Merlino, Irina. (2012). Assessment of financial indicators for evaluation of business performance. European Integration Studies, 6, 216-224.