การพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของโรงเรียนอนุบาลลำปาว สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกาฬสินธุ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและการนำเสนอแบบพรรณนาเป็นความเรียง
ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัญหาการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของโรงเรียนอนุบาลลำปาว คือ ครูขาดการพัฒนาตนเองในด้านการสอนขาดการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล เคร่งครัดกับมาตรฐานทางวิชาการเกินไป ขาดเทคโนโลยีในการสืบค้นข้อมูล ขาดความชำนาญในการใช้เครื่องมือวัดให้มีคุณภาพ ครูสอนด้วยวิธีการเดิม และอุปกรณ์ สื่อและวัสดุไม่พร้อม เนื้อหารายวิชายาก 2. แนวทางการพัฒนาครู ในการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ควรใช้กระบวนการประชุมร่วมกันของกลุ่มเป้าหมาย มี 2 แนวทาง คือ 1) การอบรมเชิงปฏิบัติการ กลุ่มเป้าหมายหลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรมมีค่าเฉลี่ยโดยรวมและทุกด้าน อยู่ในระดับมาก กลุ่มเป้าหมายมีความสามารถในการใช้สื่อเทคโนโลยี มีความรู้ ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และการออกแบบการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น 2) การนิเทศการสอน กลุ่มเป้าหมายมีได้การปฏิบัติการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หลังการอบรม (นิเทศครั้งที่ 2) มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการอบรม (นิเทศครั้งที่ 1) โดยรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (μ = 4.24, σ = 0.23) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ กลุ่มเป้าหมายมีการปฏิบัติโดยมีความรู้ ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (μ = 4.41, σ = 0.26) มีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ (μ = 4.33, σ = 0.27) และมีการออกแบบการเรียนรู้ (μ = 3.89, σ = 0.32) ได้เป็นอย่างดี
3. ผลการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของโรงเรียนอนุบาลลำปาว สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกาฬสินธุ์ พบว่า กลุ่มเป้าหมายมีการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (μ = 4.33, σ = 0.27) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้านโดยเรียงลำดับจากมากสุดไปหาน้อยสุด ได้แก่ ความสามารถในการใช้สื่อเทคโนโลยี (μ = 4.40, σ = 0.49) ความรู้ ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (μ = 4.22, σ = 0.42) ความสามารถ ในการจัดการเรียนรู้ของครู (μ = 4.15, σ = 0.48) การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ (μ = 4.12, σ = 0.24) การจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (μ=4.07, σ=0.44) การวิเคราะห์ศักยภาพผู้เรียนของครู (μ = 4.04, σ = 0.41) การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ (μ = 4.00, σ=0.47) และการออกแบบการเรียนรู้ (μ = 3.98, σ=0.37) ส่งผลให้การพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียน เป็นสำคัญของโรงเรียนอนุบาลลำปาวบรรลุวัตถุประสงค์ได้อย่างประสิทธิภาพประสบผลสำเร็จตามความคาดหวัง สามารถนำไปใช้ ในการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
จิราพร มะสุใส. (2565). สภาพ ความต้องการจำเป็นและแนวทางพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. วารสารรัชต์ภาคย์, 16(47), กรกฎาคม-สิงหาคม 2565.
ชาญชัย อาจินสมาจาร. (2547). การนิเทศการศึกษา Education. Supervision. ปัตตานี: สถาบันเพื่อความก้าวหน้าทางวิชาการ.
ณิชกุล ชุ่มแก้ว. (2563). การพัฒนาสมรรถนะครูเพื่อการยกระดับผลสัมฤทธิ์ของโรงเรียนเคียนซาพิทยาคม อำเภอเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา). สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
ดิษพล รุ่งโรจน์วรวัฒนา. (2563). แนวทางใหม่ในการพัฒนาครูโรงเรียนอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ตามอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทักษิณา เครือหงส์. (2550). คู่มือการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. ลำปาง: คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.
นวพัฒน์ เก็มกาแมน. (2565). แนวทางการพัฒนาการรู้ดิจิทัลสำหรับครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). ปทุมธานี: คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
นัตสวีร์ ทานไธสง. (2562). ความต้องการจำเป็นในการนิเทศภายในด้านวิชาการของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตหนองแขม กรุงเทพฯ. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 7(3),กันยายน-ธันวาคม 2565.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
โรงเรียนอนุบาลลำปาว. (2562). เอกสารรายงานการประเมินตนเอง ของโรงเรียนอนุบาลลำปาว. กาฬสินธุ์: โรงเรียนอนุบาลลำปาว.
วันทิวา มูลสาร. (2563). การพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (PAOR) ในการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน โรงเรียนบ้านสุขเจริญ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญษการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
สมิต สัชฌุกร. (2547). ศิลปะการให้บริการ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สายธาร.
สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2553). การพัฒนาครูทั้งระบบตามยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552-2561) วันที่ 28-29 ธันวาคม 2553 ณ โรงแรมนครแพร่ทาวเวอร์จังหวัดแพร่. แพร่: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2.
หวน พินธุพันธ์. (2552). การบริหารโรงเรียน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
องอาจ นัยพัฒน์. (2551). การออกแบบการวิจัย : วิธีการเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ และผสมผสาน วิธีการ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อาภารัตน์ ราชพัฒน์. (2554). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อุกฤษฏ์ อินต๊ะสาร. (2563). ความต้องการจำเป็นในการนิเทศการสอนในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาบริหารการศึกษา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์) นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Kemmis, S.; & Mc Taggart, R. (1988). The Action research planner. 3rd ed. Geelong: Deakin University, Australia.