การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะอาจารย์นิเทศก์การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัย เรื่อง การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะอาจารย์นิเทศก์การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มีวัตถุประสงค์
การวิจัยเพื่อ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างสมรรถนะของอาจารย์นิเทศก์การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู 2) เพื่อพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะอาจารย์นิเทศก์การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู 3) เพื่อนำโปรแกรมไปใช้และติดตามผลการใช้โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะของอาจารย์นิเทศก์การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาความต้องการจำเป็นของอาจารย์นิเทศก์การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ระยะที่ 2 การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะอาจารย์นิเทศการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ระยะที่ 3 การนำโปรแกรมไปใช้และติดตามผลการใช้โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะอาจารย์นิเทศก์การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ อาจารย์ประจำหลักสูตรที่ได้รับมอบหมายให้เป็นอาจารย์นิเทศให้แก่นักศึกษา ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จำนวน 19 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามเกี่ยวกับความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างสมรรถนะอาจารย์นิเทศก์การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง แบบประเมินความเหมาะสมของโปรแกรม ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) แบบทดสอบความรู้ และแบบประเมินความพึงพอใจ
ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างสมรรถนะอาจารย์นิเทศก์การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู พบว่า 1.1 ด้านการจัดการเรียนรู้ ความต้องการจำเป็นมากที่สุด คือ อาจารย์นิเทศก์มีความรู้เกี่ยวกับสาระการเรียนรู้ และการจัดการเรียนรู้ การเตรียมแผนการจัดการเรียนรู้ องค์ประกอบที่สำคัญของแผนและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน 1.2 ด้านความสามารถในการดูแลให้คำปรึกษานักศึกษาของอาจารย์นิเทศก์ พบว่า ความต้องการจำเป็นมากที่สุด คือ อาจารย์นิเทศก์มีความสามารถในการให้คำแนะนําการชี้แนะแนวทางปฏิบัติ แนวทางการแก้ไขปัญหาแก่นักศึกษาเพื่อให้นักศึกษาวิเคราะห์และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม 1.3 ด้านทักษะการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของอาจารย์นิเทศก์ พบว่า ความต้องการจำเป็นมากที่สุด คือ อาจารย์นิเทศมีทักษะ ในการออกแบบการวัด และประเมินผลรูปแบบต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับสถานการณ์และสมรรถนะของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
1.4 ด้านบทบาทหน้าที่ และจรรยาบรรณของอาจารย์นิเทศก์ พบว่า ความต้องการจำเป็นมากที่สุด คือ อาจารย์นิเทศมีการส่งเสริมนักศึกษา ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูให้มีทักษะในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ในการแก้ปัญหาด้วยตนเอง และอาจารย์นิเทศหมั่นศึกษา ค้นคว้า ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและรอบรู้ด้านการนิเทศอย่างต่อเนื่อง 2. ผลการสร้างโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะอาจารย์นิเทศ การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู พบว่า โปรแกรมประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ คือ (1) วัตถุประสงค์ (2) กิจกรรมการอบรม (3) วิธีการฝึกอบรม (4) สาระสำคัญ (5) สื่อ (6) แนวทางการประเมิน และมีเนื้อหา 4 โมดูล คือ (1) การจัดการเรียนรู้ (2) การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ (3) การดูแลให้คำปรึกษานักศึกษาของอาจารย์นิเทศก์ (4) บทบาทหน้าที่และจรรยาบรรณของอาจารย์นิเทศก์ 3. ผลการประเมินผลการใช้โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะอาจารย์นิเทศก์การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู พบว่า 3.1 อาจารย์นิเทศ การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จำนวน 19 คน ที่เข้าร่วมอบรมได้ทำการเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจก่อน และหลังการอบรมโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะอาจารย์นิเทศก์การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู พบว่า หลังจากเข้ารับการอบรมตามโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะอาจารย์นิเทศก์การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูมีความรู้เพิ่มมากขึ้น 3.2 ผลการประเมิน ความพึงพอใจของโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะอาจารย์นิเทศก์การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู พบว่ามีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด 3.3 การติดตามผลการใช้โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะอาจารย์นิเทศการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู พบว่า อาจารย์นิเทศสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการนิเทศและสามารถปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทของตนเองได้อย่างมีคุณภาพและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อนักศึกษาที่รับการนิเทศ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
จรูญ เบญมาตย์. (2559). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมอาจารย์นิเทศก์การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู สาขาวิชาพลศึกษา ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ. (ปริญญานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นฤมล ยุตาคม และคณะ. (2559). การพัฒนาโปรแกรมเพื่อส่งเสริมสมรรถนะด้านความรู้ความสามารถในการสอนเนื้อหาวิชาเฉพาะของนิสิตนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู. วารสารวิทยาเกษตรศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์, 37(2016), 306-318.
นิภาภรณ์ ซ้ายโพธิ์กลาง. (2561). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้าง สมรรถนะครูด้านการบริหารจัดการชั้นเรียนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมาเขต 7. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ปรียาภรณ์ วงศ์อนุตรโรจน์. (2546). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.
ปารณีย์ ขาวเจริญ. (2561). การพัฒนารูปแบบการนิเทศโดยวิธีการสอนงานและการเป็นพี่เลี้ยงของครูพี่เลี้ยงนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์, 19(2561). 125-136.
ฝ่ายพัฒนานักศึกษา บริการวิชาการและการวิจัย. (2563). คู่มือประกอบการเรียนรู้รายวิชาปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา (Internship). คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม: มหาสารคาม.
ศุภวรรณ สัจจพิบูล. (2560). การพัฒนารูปแบบการนิเทศการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของนิสิตครู. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 11(2560), 177-192.
สาลี่ ศิลปสธรรม. (2550). รายงานผลการวิจัยและพัฒนา เรื่อง การพัฒนาความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดีการพิมพ์.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2556). กรอบและทิศทางการวิจัยทางการศึกษาของประเทศ (พ.ศ. 2555-2558) เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามนโยบายด้านการศึกษาของรัฐบาล. กรุงเทพฯ: เจริญผลกราฟฟิค.
Barr,M.J. and L.A,K. (1990). Developing Effective Student Services Programs : Systematic Approaches for Practitioners. San Francisco, CA: Jossey Bass.
Boone,E.J. (1992). Developing Programs in Adult Education. Prospect Heights: Waveland.
Houston, Robert W. and other. (1990). Developing Instruction Modules. College of Education. Taxas: University of Houston.
Oliva, P.F. (1989). Developing the Curriculum. (3 rd ed). New York: Harper Collins.