การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคเกมกลุ่มแข่งขัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

วรรณิดา บุศเนตร
ทัชชวัฒน์ เหล่าสุวรรณ

บทคัดย่อ

            การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคเกมกลุ่มแข่งขัน ให้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 (2) เพื่อพัฒนาพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคเกมกลุ่มแข่งขัน ให้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/3 โรงเรียนร่องคำ อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 40 คน   เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 10 แผน (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ (3) แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า (1) การพัฒนาสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคเกมกลุ่มแข่งขัน ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในวงจรปฏิบัติการที่ 1 นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยเท่ากับ 10.08 จากคะแนนเต็ม 15 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 67.10 เมื่อพิจารณารายบุคคลมีนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 จำนวน 24 คน และมีนักเรียน  ที่ยังไม่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 16 คน และในวงจรปฏิบัติการที่ 2 ผู้วิจัยได้นำเทคนิคเสริมแรงทางบวกมาใช้ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบร่วมมือเทคนิคเกมกลุ่มแข่งขัน ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ทุกคน โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 12.93  จากคะแนนเต็ม 15 คะแนน หรือคิดเป็นร้อยละ 86.17 (2) ผลการพัฒนาพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบร่วมมือเทคนิคเกมกลุ่มแข่งขันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในวงจรปฏิบัติการที่ 1 นักเรียนมีพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม อยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 54.67 เมื่อพิจารณาพฤติกรรมการทำงานกลุ่มเป็นรายด้านทั้ง 5 ด้าน ไม่ผ่านตามเกณฑ์การพัฒนาพฤติกรรมการทำงานกลุ่มร้อยละ 70 และวงจรปฏิบัติการที่ 2 ได้นำการเสริมแรงทางบวกโดยการให้รางวัลกลุ่ม และเสริมแรงทางลบ  โดยการตัดคะแนนกลุ่มมาใช้ร่วมกับการจัดกิจกรรม การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคเกมกลุ่มแข่งขัน ส่งผลส่งผลให้นักเรียนทุกคนมีการพัฒนาพฤติกรรมการทำงานกลุ่มผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ครบทุกด้าน โดยมีพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม อยู่ในระดับ ดีมาก ค่าเฉลี่ย 12.60  จากคะแนนเต็ม 15 คะแนน หรือคิดเป็นร้อยละ 84.00

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ. (2544). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560) แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟิก จํากัด.

ธนาภรณ์ บุญเลิศ. (2561). การส่งเสริมพฤติกรรมการทำงานเป็นทีมโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค TGT ร่วมกับเว็บสนับสนุน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนยางตลาดวิทยาคาร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ประสาท เนืองเฉลิม. (2560). วิจัยการเรียนการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วารีรัตน์ แก้วอุไร. (2564). การพัฒนาหลักสูตร: จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. พิษณุโลก: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สหรัฐ ลักษณะสุต. (2563). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคเกมกลุ่มแข่งขันเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 4(3), 247-262.

อิสระพงศ์ โสภาใฮ. (2560). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม โดยการใช้เทคนิค TGT สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนมหาวิชานุกูล. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

Slavin, R. E. (1995). Cooperative Learning Theory, Research and Practice. Massachsetts: A Simom & Schuster.