การพัฒนาความสามารถในการอ่านที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์วิชาภาษาไทย ที่เน้นเทคนิค 5W1H ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง เพลิดเพลินเรื่องราว นิทาน ทันข่าวเหตุการณ์ ที่เน้นเทคนิค 5W1H ให้มีคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 50 ของคะแนนเต็ม กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านหวาย อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 15 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นเทคนิค 5W1H แบบทดสอบวัดความสามารถในอ่านคิดวิเคราะห์วิชาภาษาไทย แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสัมภาษณ์ผู้ปกครองของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย ปรากฏ ดังนี้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 หลังจากได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้เทคนิค 5W1H วงจรปฏิบัติการที่ 1 พบว่านักเรียนมีคะแนนความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์วิชาภาษาไทยคิดเป็นร้อยละ 47.33 ซึ่งยังต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด พบว่ามีนักเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 7 คน และมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคิดเป็นร้อยละ 49.33 ต่ำกว่าเกณฑ์ ปัญหาที่สำคัญ คือ นักเรียนยังไม่เกิดการเรียนรู้กับการเรียนการสอนในเทคนิคนี้ และในกิจกรรมการเรียนการสอนนั้นเป็นการทำกิจกรรม ในรูปแบบของกลุ่ม ซึ่งนักเรียนในกลุ่มต้องทำงานร่วมกันแต่มีนักเรียนบางส่วนไม่เข้าใจในการทำกิจกรรมกลุ่มและบทบาทของตนเอง วงจรปฏิบัติการที่ 2 ผู้วิจัยได้ปรับปรุงโดยใช้การจัดกิจกรรมแบบเทคนิค 5W1H เป็นฐานเหมือนเดิม แต่จะให้ความสำคัญในแต่ละขั้นตอนของ 5W1H ดำเนินกิจกรรมให้มีความน่าสนใจเหมาะสมตามวัยของผู้เรียน และสอดคล้องกับตัวชี้วัดอันจะนำไปสู่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ทักษะกระบวนการความสามารถ พฤติกรรมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดยดำเนินการจัดการเรียนรู้ ในการแก้ปัญหาเพื่อพัฒนาผู้เรียน จะใช้การสังเกตผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน มีการดำเนินการทดสอบ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงแก้ไข ผลการจัดการเรียนรู้ปรากฏว่า
นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์วิชาภาษาไทยคิดเป็นเป็นร้อยละ 46.67 ซึ่งอยู่ในระดับต่ำกว่าวงจรปฏิบัติการที่ 1 พบว่า มีนักเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 8 คน เนื่องจากในวงจรปฏิบัติการนี้ ได้มีการนำเสนอสถานการณ์ที่นักเรียนไม่คุ้นเคย ทำให้นักเรียน ไม่เกิดการเชื่อมโยงความรู้ระหว่างข้อคำถามที่จะทำให้นักเรียนสามารถนำความรู้และประสบการณ์ไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาการอ่านคิดวิเคราะห์ในสถานการณ์จริงได้เท่าที่ควร และมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคิดเป็นร้อยละ 49.33 ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด โดยปัญหาสำคัญ คือ นักเรียนยังไม่เกิดการเรียนรู้ในเทคนิคนี้เท่าที่ควร และในกิจกรรมการเรียนการสอนนั้นเป็นการทำกิจกรรมในรูปแบบของกลุ่ม ยังมีนักเรียนบางส่วนไม่ให้ความร่วมมือ วงจรปฏิบัติการที่ 3 ผู้วิจัยปรับปรุงโดยนำข้อมูลจากการสังเกตมาสะท้อนผล วางแผนแก้ไขในวงจรปฏิบัติการต่อไป ให้ผ่านเกณฑ์ที่ตั้งเป้าหมายไว้ร้อยละ 50 ของคะแนนเต็ม จากนั้นให้นักเรียนทุกกลุ่มสรุปความรู้ร่วมกันและกลายเป็นองค์ความรู้ของห้องเรียน ผลปรากฎว่านักเรียนมีคะแนนความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์วิชาภาษาไทยเป็นร้อยละ 68.00 พบว่านักเรียนจำนวน 15 คน ผ่านเกณฑ์ทุกคน และมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคิดเป็นร้อยละ 56.00 ซึ่งผ่านเกณฑ์ร้อยละ 50 ของคะแนนเต็ม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
กรองทิพย์ สุราตะโก. (2559). ผลการใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์ร่วมกับเทคนิค 5W1H และผังกราฟิกที่มีต่อความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 16(11), 51-59.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การการเกษตรแห่งประเทศไทย.
เกสมณี สีโม. (2556). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค 5W1H โดยใช้ชุดหนังสือส่งเสริมการอ่านวิถีชีวิตชนเผ่าเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการอ่านภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เชียงใหม่:บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ณัฏฐกานต์ เส. (2563). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาสารคาม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ทิศนา แขมมณี. (2540). การคิดและการสอนเพื่อพัฒนากระบวนการคิด. กรุงเทพฯ: โครงการพัฒนาการเรียน การสอน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.
ทิศนา แขมมณี. (2548). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัด กระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิมพร ไตรยานุภาพ. (2552). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้เทคนิคคำถามเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านโป่งนก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เชียงราย: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
วรรณภา ศรสายัณห์. (2563). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ วิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านด้ายเทพกาญจนาอุปถัมภ์ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เชียงใหม่:บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
วิมล สำราญวานิช. (2532). การสอนวิทย์ในระดับมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี. (2530, 13 พฤศจิกายน). พระเทพฯทรงชี้ปัญหาการใช้ภาษาไทย. ไทยรัฐ, หน้า 9.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2557). การพัฒนาทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2558). สร้างเด็กไทยให้อ่านเก่ง อ่านเร็ว ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สกสค ลาดพร้าว.
สุวิทย์ มูลคำ. (2547). กลยุทธการสอนคิดวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.สุวิทย์ มูลคำ. (2551). กลยุทธ์การสอนคิดวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
อรรชนิดา หวานคง. (2559). การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 21. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร, 2(7), 303-314.