การพัฒนาหลักสูตรเสริมความเข้าใจวรรณคดีจีนโดยใช้การอ่านและการเขียนภาษาจีนสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 3

Main Article Content

Wang Huan
ดวงจันทร์ เดี่ยววิไล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรเสริมความเข้าใจวรรณคดีจีนโดยใช้การอ่านและการเขียนภาษาจีน สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 3 และ 2) ศึกษาผลการใช้หลักสูตรที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง จำนวน 21 คน ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาวรรณคดีจีนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566    ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เป็นการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น แบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อน-หลังการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย หลักสูตร หน่วยการเรียนรู้ และ แบบทดสอบวัดความเข้าใจวรรณคดีจีน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละพัฒนาการสัมพัทธ์


ผลการวิจัยพบว่า หลักสูตรเสริมความเข้าใจวรรณคดีจีนโดยใช้การอ่านและการเขียนภาษาจีน สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 3   มี 7 องค์ประกอบ โครงสร้างเนื้อหาของหลักสูตรมี 3 หน่วยการเรียนรู้ รวมเป็น 15 ชั่วโมง ได้แก่ หน่วยที่ 1 วรรณคดีจีนสมัยปัจจุบัน  3 ชั่วโมง หน่วยที่ 2 บทร้อยกรอง 6 ชั่วโมง และหน่วยที่ 3 บทร้อยแก้ว 6 ชั่วโมง ในภาพรวมหลักสูตรมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก  (equation= 4.33, S.D. = 0.40) หน่วยการเรียนรู้ในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (equation= 4.48, S.D. = 0.48) นักศึกษามีคะแนนพัฒนาการความเข้าใจวรรณคดีจีนหลังเรียนสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตร โดยพัฒนาการสัมพัทธ์ของนักศึกษาโดยเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 74.03

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาจีน. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

จินดารัตน์ ฉัตรสอน. (2558). การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL ร่วมกับแบบฝึก. (วิทยานิพนธ์ปริญญา ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จิรธัตริ์ เรืองเขียน และบุญช่วย สนสี. (2563). ประโยชน์ของวรรณคดี(1): กลวิธีการสร้างตัวละครในวรรณกรรมกับการใช้ประโยชน์เชิงการสื่อสารที่ปรากฏในการทำงานและการใช้ชีวิตจริง. สมุทรปราการ: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

ชฎานิศ ช่วยบำรุง. (2564). การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา เรื่องการถนอมอาหารจากผลไม้ท้องถิ่นจังหวัดระยอง สำหรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. (ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

นพาวรรณ์ ใจสุข. (2556). การพัฒนาทักษะการจดจำคำศัพท์ภาษาจีนของนักเรียนระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นปีที่ 2. วิจัยในชั้นเรียน. นนทบุรี: วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์.

นันทญ์ณภัค พรมมา. (2563). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีไทยของนักเรียน ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิด. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10) แก้ไขเพิ่มเติม. กรุงเทพฯ: สุวีรยาสาส์น.

บุญเหลือ เทพยสุวรรณ. (2556). วิเคราะห์รสวรรณคดีไทย.กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

บุญกว้าง ศรีสุทโธ. (2563). การอ่านวรรณคดี. สืบค้นเมื่อ 29 เมษายน 2566, จาก https://sites.google.com/a/htp.ac.th/reuxng-kar-xan-wrrnkhdi/1-khwam-sakhay-khxng-wrrnkhdi/.

ประภาศรี สีหอำไพ. (2550). วัฒนธรรมทางภาษา (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

ปราโมทย์ จันทร์เรือง. (2552). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบบรูณาการทักษะการคิดและการสร้างสรรค์ความรู้สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2. Journal of Education, 21(1).

เปลื้อง ณ นคร. (2544). พจนะภาษา. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.

พงษ์สิทธิ์ พิริ. (2563). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง การจัดตกแต่งสถานที่เพื่อการประกอบอาชีพสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาการโรงแรมและการท่องเที่ยว. (ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน), จันทบุรี:มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

มธุรส ประภาจันทร์ และคณะ. (2559). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเสริมสร้างความสามารถในการสอนอ่านและการวินิจฉัยการอ่าน สำหรับครูระดับประถมศึกษาตอนต้น. (ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. (2561). หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาภาษาจีน (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561). ลำปาง: มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.

รจนีย์ มนคง และปริญญภาษ สีทอง. (2565). การพัฒนาหลักสูตรส่งเสริมความสามารถการอ่านจับใจความสำคัญภาษาจีนโดยใช้เทคนิคการสอน เค ดับเบิลยูแอล เอช พลัส สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). ลำปาง:มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.

วรุณยุพา เทพสุภรณ์กุล. (2560). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นเรื่องกระท้อนแปรรูป กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1.(วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา หลักสูตรและการสอน). ลพบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2552). “หลักสูตร” ใน สารานุกรมวิชาชีพครูเฉลิม พระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาส มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา. กรุงเทพฯ:สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2554). การพัฒนาหลักสูตรระดับอุดมศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: อาร์ แอนด์ ปริ้นท์.สงัด อุทรานันท์. (2532). การพัฒนาหลักสูตรและการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เอ็กซ์ เพรสมีเดีย.

Cai Yuqin. (2009). 识字教学方法及改革.学术论文.人民教育出版社小学语文编辑室.

John Langan. (2013). Reading and Study Skills. Published by McGraw-Hill, a business unit of The McGraw.Hill Companies, Inc.,1221 Avenue of the Americas, New York, NY 10020. Copyright 2013 by The McGraw-Hill Companies, Inc. TENTH EDITION. Approach.

Han Ban. (2012). Confucius Institute Headquarters (Han ban). [Online]. Available: http//www. hanban.edu.cn/.[2019, September 18].

Kanokporn Numtong and Zhang Junxia. (2021). The discussion on the teaching approaches of Chinese literature courses for Chinese majors in Thai Universities. การศึกษาภาษาจีนนานาชาติ แนวทางการเรียนการสอนวิชาวรรณคดีจีนในวิชาเอกภาษาจีน ในระดับอุดมศึกษา. Journal of Sinology and Chinese Language Education, 1(1), 9-16.

Li, KY. (2010). More than 40 million people of the world learning Chinese. [Online]. Available: http://news.xinhuanet.com/2010-08/19/c-13452457.htm. [2019, September 10].

Li Jing. (2023). 高中语文文学阅读与写作融合探究. [Online]. (C)1994-202.China Academic Journal Electronic Publishing House. All rights reserved. Available :http://www.cnki.net.

Saylor, J.G. & Alexander, W.M. (1974). Planning Curriculum for Schools. New York: Holt, Rinehart & Winston.

Taba, H (1962). Curriculum development: theory and practice. New York: Harcourt, Brace and World.Zhou Xiaobing, Zhang Shitao, Gan Hongmei. (2008).“The Theory of Teaching Chinese as a Foreign Language” - Beijing: Peking University Press, 2008.

Trilling, Bernie and Fadel, Charles. (2009). 21st Century Skills: Learning For Life In Our Times. United States of America: Jossey-Bass.

Wang, L.J. (2003). From teaching Chinese to foreigners for International education in Chinese. Global trends in teaching and learning Chinese language: Chinese Teaching in the World.

Zhou Jian. (2009). 汉字教学理论与方法.北京:北京大学出版社.