ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานแบบการทำงานจากที่บ้าน

Main Article Content

ธิดารัชต์ พิมพ์อินทร์
พงศธร ตันตระบัณฑิตย์

บทคัดย่อ

            การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อทัศนคติในการทำงาน จากที่บ้าน และเพื่อศึกษาทัศนคติในการทำงานจากที่บ้านที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานแบบการทำงานจากที่บ้านของพนักงาน กลุ่มบริษัท SME ในกรุงเทพมหานคร ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานบริษัทในกลุ่มธุรกิจ SME ในกรุงเทพมหานครที่มีนโยบายให้พนักงานทำงานในรูปแบบการทำงานจากที่บ้าน ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


            ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยด้านบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ลักษณะงาน และตำแหน่งงานที่แตกต่างกันส่งผลต่อทัศนคติในการทำงานจากที่บ้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 โดยกลุ่มพนักงานที่มีทัศนคติในการทำงานจากที่บ้านมากที่สุด คือ เพศชาย อายุ 23-25 ปี การศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี ทำงานด้านการวางแผนกลยุทธ์ และอยู่ในตำแหน่งระดับหัวหน้าปฏิบัติการ ส่วนปัจจัยแรงจูงใจในการปฏิบัติงานส่งผลต่อทัศนคติในการทำงานจากที่บ้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และทัศนคติในการทำงานจากที่บ้าน ได้แก่ ความพึงพอใจต่องาน ความสมดุลย์ระหว่างชีวิตและงาน ความอยู่ดีมีสุข และความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับงานส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานจากที่บ้านของพนักงานกลุ่มบริษัท SME ในกรุงเทพมหานครอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ดังนั้น   ในการที่จะส่งเสริมให้พนักงานทำงานจากที่บ้านให้ประสบความสำเร็จ เกิดผลงานเป็นไปตามที่ได้รับมอบหมาย จึงควรมุ่งเน้นพนักงาน   กลุ่มเพศชาย มีอายุระหว่าง 23-25 ปี มีการศึกษาในระดับที่สูงกว่าปริญญาตรี และทำงานเกี่ยวกับการวางแผนกลยุทธ์ อาจอยู่ในตำแหน่งระดับหัวหน้างานหรือระดับปฏิบัติการก็ได้ นอกจากนั้นหน่วยงานควรให้การสนับสนุนให้พนักงานเกิดความพึงพอใจต่องาน สร้างสมดุลชีวิตและงาน และความอยู่ดีมีสุข ตลอดจนความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับงานก็จะทำให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานจากที่บ้านในที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กันตพัฒน์ อนุศักดิ์เสถียร. (2564). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 การเว้นระยะห่างทางสังคม การล็อคดาวน์ และการทำงานที่บ้าน(ตอนที่ 2). สืบค้นจาก https://www.thaihealthreport.com/th/articles_detail.php?id=95.

กุลนิษฐ์ เสฐียนโกเศศ และธิดาทิพย์ ปานโรจน์. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการทำงานรูปแบบ Work From Home (WFH) ให้เกิดประสิทธิภาพของพนักงานบริษัทเอกชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. ในการประชุมวิชาการระดับชาติราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงวิจัย (ครั้งที่ 9). ราชบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.

ณัฐฐินันท์ มรกดศรีวรรณ. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานที่บ้าน (work from home) ของพนักงานบริษัทเอกชนในกรุงเทพและปริมณฑลในภาวะวิกฤติโควิด-19. (ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ดิษรินทร์ ไทยประกอบ, เกษม สวัสดี และพูนศักดิ์ แสงสันต์. (2565).ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานจากที่พักอาศัย ของข้าราชการกรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 5(3), 48-65.

นัฐพร ปักษี. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการทำงานที่บ้าน Work from Home ของพนักงานบริษัทในกรุงเทพมหานคร. (ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ประภาสี โพธิปักขิย์. (2563). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานแบบ work from home ของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สำนักงานใหญ่ เมื่อเกิดภาวะวิกฤติการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19, (ปริญญารัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประเสริฐ อุไร. (2559). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานกรณีศึกษา บริษัท เอจีซี ออโตโมทีฟ (ประเทศไทย) จำกัด. (ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการองค์การ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกริก.

ปิยพร ประสมทรัพย์, พิเชษฐ์ เชื้อมั่น และโชติ บดีรัฐ. (2564). Work from Home (WFH) : “ทำงานที่บ้าน” อย่างไรให้เวิร์คและมีความสุข. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(10), 371-381.

ภรัณยู อภิมนต์บุตร และศุภฤกษ์ สุขสมาน. (2566). คุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานจากที่บ้านของบุคลากรในสายสำนักงานกลุ่มบริษัท อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มในช่วงสถานการณ์วิกฤตโควิด-19. วารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์, 8(1), 97-111.

วรรณา วิจิตร, เธียรรัตน์ ธีร์ระพิบูล และณัฐพล ฉายศิริ. (2564). รูปแบบการทำงานที่บ้านของบุคลากรในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก. 8(1), 30-42.

วิจัยกรุงศรี. (2565). ถอดบทเรียน Work-from-Home ช่วงโควิด-19 สู่การทำงานที่ยืดหยุ่นในอนาคต. สืบค้นจาก https://www.krungsri.com/th/research/research-intelligence/work-from-home-22.

วีรยา อิทธิพัฒน์ภาคิน และอานนท์ ทับเที่ยง. (2562). การศึกษาทัศนคติในมุมมองของพนักงานที่มีผลต่อการทำงานจากที่บ้าน. Engineering Transactions, 22(2), 105-111.

สรัญญา ซื่อสัตย์. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความคิดเห็นและความพึงพอใจต่อการทำงานจากบ้านของพนักงานในบริษัทไทยในช่วงการระบาดของไวรัสโควิด-19. (ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

เสาวรัจ รัตนคำฟู และเมธาวี รัชตวิจิน. (2563). ผลกระทบของการทำงานที่บ้าน (Work from home) ในช่วงโควิด-19: กรณีศึกษาของทีดีอาร์ไอ. สืบค้นจาก https://tdri.or.th/2020/05/impact-of-working-from-home-covid-19/.

อภิชล ทองมั่ง กำเนิดว้ำ และสุรสิทธิ์ ระวังวงศ์. (2563). การทำงานที่บ้าน: แนวทางการจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 19(3), 119-130.

Cronbach. L. J. (1951). Coefficient Alpha and the Internal Structure of Tests. Psychometrika, 16(3), 297-334.

Hair Jr., J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. F. (2010). Multivariate Data Analysis: A Global Perspective, (7th ed.). New Jersey: Pearson Prentice Hall.

Nakrosiene, A., Buciuniene, I., and Gostautaite, B. (2019). Working from home: characteristics and outcomes of telework. International Journal of Manpower, 40(1),87-101.

Stevens, J. (1996). Applied Multivariate Statistics for the Social Science (3rd ed.). New Jersey: Lawrence Eribaum Associates.

Yamane, T. (1973). Statistics: on introductory analysis. New York: Harper & Row.