การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โดยใช้การบริหารแบบมีส่วนร่วม ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา และพัฒนาแนวทางการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โดยใช้การบริหาร แบบมีส่วนร่วม ใช้แบบสอบถามในการรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 317 คน ซึ่งเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 15 คน และครูผู้สอน จำนวน 302 คน และใช้แบบสัมภาษณ์และแบบประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ ใช้สถิติ คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น
ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันของการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับปานกลางและสภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการจำเป็นในการดำเนินงานประกันมากที่สุด คือ ประเมินผล และตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา และการพัฒนาแนวทางการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โดยใช้การบริหารแบบมีส่วนร่วมทำให้ได้แนวทางการดำเนินงานที่ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานมีส่วนร่วมในการวางแผน ร่วมดำเนินการ ร่วมในผลประโยชน์ ร่วมติดตามและประเมินผล และได้แนวทางการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาโดยใช้การบริหารแบมีส่วนร่วม ดังนี้ 1. การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา 7 แนวทาง 2. การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา 6 แนวทาง 3. การดำเนินการตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา 6 แนวทาง 4. การประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา 6 แนวทาง 5. การติดตามผลการดำเนินงานเพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานของสถานศึกษา 5 แนวทาง 6. การจัดทำรายงานผลการประเมินตนเอง 7 แนวทาง และ 7. การพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง 4 แนวทาง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม. (2566). รายงานการสังเคราะห์ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SA ) ปีการศึกษา 2565. มหาสารคาม: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม.
ณัฐพล จันทร์พล. (2564). การพัฒนาแนวทางการประกันคุณภาพภายในสำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ธนพล วงศ์ฉลาด. (2564). การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาโดยประยุกต์ใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. (19 สิงหาคม 2542). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 116 ตอนที่ 74 ก, หน้า 1-23.
พิทักษ์ ดวงอาสงค์. (2558). สภาพความต้องการและแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เมตต์ เมตต์การุณจิต. (2553). การบริหารจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม:ประชาชนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและราชการ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บุ๊คพอยท์.
สัมฤทธิ์ กางเพ็ง. (2545). หลักทฤษฎีการมีส่วนร่วมในองค์กร. กรุงเทพฯ: ชวนพิมพ์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). ประกาศสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เรื่อง แนวปฏิบัติการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ 2561. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2566 จาก https://spbkk1.seasao1.go.th/yera2560.
สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2563ก). แนวทางการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: เอ็น. เอ. รัตนะเทรดดิ้ง.