การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้ปัญหาเป็นฐาน สาระเศรษฐศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

ธิติมา ธาระพันธ์
ทัชชวัฒน์ เหล่าสุวรรณ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้ปัญหาเป็นฐาน สาระเศรษฐศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 85/85 (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้ปัญหาเป็นฐาน    สาระเศรษฐศาสตร์ (3) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้ปัญหาเป็นฐาน สาระเศรษฐศาสตร์ (4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้ปัญหาเป็นฐาน สาระเศรษฐศาสตร์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/4 โรงเรียนศรีกระนวนวิทยาคม จำนวน 40 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดความสามารถ ในการแก้ปัญหา และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ t-test แบบ dependent
ผลการวิจับพบว่า (1) การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้ปัญหาเป็นฐาน สาระเศรษฐศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ 85.73/87.17 (2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้ปัญหาเป็นฐาน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) ความสามารถในการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้ปัญหาเป็นฐาน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (4) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้ปัญหาเป็นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ชฎาพร จันทนา และอรัญ ซุยกระเดื่อง. (2565). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน เรื่อง พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 15(2), 131-140.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8).กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พิชาติ แก้วพวง. (2563). ศาสตร์การจัดการเรียนรู้สังคมศึกษา.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เมธาวลัย จันทะหงส์ ประภัสสรปรีเอี่ยม และอรัญ ซุยกระเดื่อง. (2564). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง กลไกราคาในระบบเศรษฐกิจ วิชาเศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 8(2), 327-340.

โรงเรียนศรีกระนวน. (2565). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษาโรงเรียนศรีกระนวนวิทยาคม. ขอนแก่น: โรงเรียนศรีกระนวนวิทยาคม.

ศิริพร จันลา และนิราศ จันทรจิต. (2560). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้สาระเศรษฐศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต, 8(1), 177-190.

ศิริพงษ์ เสคำพันธ์ และอรัญ ซุยกระเดื่อง. (2566). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ เรื่องสหกรณ์และการรวมกลุ่มเพื่อการพัฒนาชุมชนของไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 7(3), 117-126.

สายสุนีย์ ตั้นปา และปิยลักษณ์ โพธิวรรณ์. (2565). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยการประยุกต์ใช้ปัญหาเป็นฐานเรื่อง เศรษฐกิจ ในชุมชน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4.วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 19(3),107-118.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). การจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการแก้ปัญหา. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สุจินฎา เจียดศรี และอัจฉริยา พรมท้าว. (2564). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานสาระเศรษฐศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 18(3), 93-103.

อมรรัตน์ สิงห์โท และอรัญ ซุยกระเดื่อง. (2564). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานรายวิชาเศรษฐศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 15(2), 113-124.

Silva, A.B.D., Bispo, A. C. K. D. A., Rodriguez, D.G., & Vasquez, F. I. F. (2018). Problem-based learning: A proposal for structuring PBL and its implications for learning among students in an undergraduate management degree program. Revista de Gestão, 25(2), 160-177.

Caesar, M. I. M., Jawawi, R., Matzin, R., Shahrill, M., Jaidin, J. H., & Mundia, L. (2016). The Benefits of Adopting a Problem-Based Learning Approach on Students' Learning Developments in Secondary Geography Lessons. International Education Studies, 9(2), 51-65.