การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคแผนผังความคิดสาระเศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

ปรียาภรณ์ สวัสดิ์รักษา
ทัชชวัฒน์ เหล่าสุวรรณ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคแผนผังความคิด สาระเศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 85/85 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคแผนผังความคิด สาระเศรษฐศาสตร์ (3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคแผนผังความคิด (4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อกิจกรรม การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคแผนผังความคิด กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนศรีกระนวนวิทยาคม จำนวน 40 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ร่วมกับเทคนิคแผนผังความคิด จำนวน 12 แผน  (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ  (3) แบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ จำนวน 15 ข้อ 15 คะแนน (4) แบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติทดสอบ t-test แบบ Dependent


            ผลการวิจัยพบว่า (1) การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคแผนผังความคิด สาระเศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 89.67/87.16 (2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคแผนผังความคิด สาระเศรษฐศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคแผนผังความคิด หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (4) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคแผนผังความคิด โดยรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนิษฐา ภูสมศรี.(2563). ผลการจัดการเรียนรู้สาระเศรษฐศาสตร์โดยใช้การจัดการเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคแผนผังความคิดสาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (รายงานผลการวิจัย). อุตรดิตถ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

กระทรวงศึกษาธิการ.(2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย แผนกวิชาโสตศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กฤตชัย ชุมแสง. (2561). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง ผลงานของบุคคลสำคัญในการสร้างสรรค์ชาติไทย สำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนนครขอนแก่น โดยการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5E (รายงานผลการวิจัย). ขอนแก่น: โรงเรียนนครขอนแก่น.

จุฑามาศ เจริญธรรม. (2549). การจัดการเรียนรู้กระบวนการคิด. นนทบุรี: สุรัตน์การพิมพ์.

ทักษิณา เทพประสิทธิ์. (2553). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เทคนิคแผนที่ทางความคิด แบบเชิงรุก เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ทิศนา แขมมณี. (2548). รูปแบบการเรียนการสอนทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2564). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่16). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2551). การพัฒนาการคิด. กรุงเทพฯ: 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

วาทินี เพชรดี. (2564). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงกับการผลิตสินค้าและบริการ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

สุกัญญา เพ็ชรนาค (2563). พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E รายวิชาภูมิศาสตร์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา. สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2566 จาก http://bet.obec.go.th/index/wpcontent/uploads/2018/08/nn3.pdf

สมศักดิ์ สินธุระเวชญ์. (2542). มุ่งสู่คุณภาพการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

โรงเรียนศรีกระนวนวิทยาคม(2565). รายงานประจำปีของสถานศึกษา Self-Assessment Report : SAR ปีการศึกษา 2565. ขอนแก่น: โรงเรียนศรีกระนวนวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น.

อรัญ ซุยกระเดื่อง. (2557). เอกสารประกอบการสอนวิชาการวิจัยทางการศึกษา (Education Research). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.