ผลการทดลองใช้คู่มือกลไกการบริหารจัดการเทคโนโลยีดิจิทัลแพลตฟอร์มตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการจัดจำหน่ายสินค้าสำหรับวิสาหกิจชุมชน

Main Article Content

ธีระพงษ์ เลิศทิฐิวงศ์
วรปภา อารีราษฎร์
ธรัช อารีราษฎร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการรับรู้ของวิสาหกิจชุมชนที่มีต่อการเรียนรู้จากคู่มือระบบกลไกการบริหารจัดการเทคโนโลยีดิจิทัลแพลตฟอร์มตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการจัดจำหน่ายสินค้าสำหรับวิสาหกิจชุมชน 2) ศึกษาผลการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนตามคู่มือระบบกลไกการบริหารจัดการเทคโนโลยีดิจิทัลแพลตฟอร์มตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการจัดจำหน่ายสินค้าสำหรับวิสาหกิจชุมชน 3) ศึกษาความพึงพอใจของวิสาหกิจชุมชน ผู้นำชุมชนและพี่เลี้ยงที่มีต่อคู่มือระบบกลไกการบริหารจัดการเทคโนโลยีดิจิทัลแพลตฟอร์มตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการจัดจำหน่ายสินค้าสำหรับวิสาหกิจชุมชน 4) ศึกษาความพึงพอใจของวิสาหกิจชุมชนที่มีต่อการปฏิบัติหน้าที่ของพี่เลี้ยง และผู้นำชุมชนตามคู่มือระบบกลไกการบริหารจัดการเทคโนโลยีดิจิทัลแพลตฟอร์มตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการจัดจำหน่ายสินค้าสำหรับวิสาหกิจชุมชน และ 5) ศึกษาความคิดเห็นของกลุ่มเป้าหมาย ผู้นำชุมชนและพี่เลี้ยงที่มีต่อการยอมรับคู่มือกลไกการบริหารจัดการเทคโนโลยีดิจิทัลแพลตฟอร์มตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการจัดจำหน่ายสินค้าสำหรับวิสาหกิจชุมชน กลุ่มเป้าหมายคือผู้นำชุมชน 5 ตำบล ตำบลละ 1 คน รวมทั้งสิ้น 5 คน พี่เลี้ยงจำนวนทั้งสิ้น 5 คน และผู้ประกอบการร้านค้าวิสาหกิจชุมชน จำนวน 15 กลุ่ม จำนวนทั้งสิ้น 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่  1) แบบประเมินการรรับรู้ของวิสาหกิจชุมชนที่มีต่อคู่มือกลไกการบริหารจัดการ 2) แบบบันทึกผลการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนตามคู่มือการบริหารจัดการ 3) แบบสอบถาม ความคิดเห็นของวิสาหกิจชุมชนผู้นำชุมชน และพี่เลี้ยงที่มีต่อคู่มือกลไกการบริหารจัดการ 4) แบบสอบถามความคิดเห็นของวิสาหกิจชุมชนที่มีต่อการปฏิบัติหน้าที่ของพี่เลี้ยงและผู้นำชุมชนตามคู่มือกลไกการบริหารจัดการ และ 5) แบบสอบถามความคิดเห็นของวิสาหกิจชุมชน พี่เลี้ยง และผู้นำชุมชนที่มีต่อการยอมรับคู่มือกลไกการบริหารจัดการ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การแจกแจงความถี่ (f) ร้อยละ (%), ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)


ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการรับรู้ของวิสาหกิจชุมชนที่มีต่อการเรียนรู้จากคู่มือระบบกลไกการบริหารจัดการพบว่าร้อยละของวิสาหกิจชุมชนมีการรับรู้กลไกการบริหารจัดการเทคโนโลยีดิจิทัลแพลตฟอร์มตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการจัดจำหน่ายสินค้าสำหรับวิสาหกิจชุมชนอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ระดับ 3 สามารถปฏิบัติได้ด้วยตนเอง คิดเป็นร้อยละ 50.97 รองลงมา คือ ระดับ 2 สามารถปฏิบัติโดยการให้คำแนะนำ คิดเป็นร้อยละ 39.68 และระดับ 1 รับรู้ คิดเป็นร้อยละ 9.35 ตามลำดับ 2) ผลของการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนตามคู่มือกลไกการบริหารจัดการ พบว่า โดยรวมวิสาหกิจชุมชนนำสินค้าขึ้นระบบคนละ 1 รายการ รวมทั้งหมด 31 ชิ้น มีสมาชิกกดไลค์ จำนวน 762  การติดตาม 4,189 การแสดงความคิดเห็นของสมาชิก 152 ครั้ง และมียอดขายสินค้า จำนวน 93 รายการ 3) ความพึงพอใจ   ของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อคู่มือกลไกการบริหารจัดการ พบว่า โดยรวมมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด 4) ความพึงพอใจของวิสาหกิจชุมชนที่มีต่อการปฏิบัติหน้าที่ของพี่เลี้ยงตามคู่มือกลไกการบริหารจัดการ พบว่า โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด และ 5) ความคิดเห็นของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อการยอมรับคู่มือกลไกการบริหารจัดการ พบว่า โดยรวมการยอมรับคู่มือกลไกการบริหารจัดการอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษฎา เสกตระกูล. (น.ป.ป.). การทำธุรกิจยุคแพลตฟอร์ม. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://www.set.or.th/ dat/vdoArticle/attachFile/AttachFile_1610012632966.pdf

ชูศักดิ์ ยาทองไชยและวิไลรัตน์ ยาทองไชย. (2564). การพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ผ้าทอพื้นบ้านสินค้าระดับพรีเมี่ยมกลุ่มชาติพันธุ์เขมร. สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2565 จาก https://ph02.tci -thaijo.org/index.php/itm-journal/article/view/242047/165711.

ญาณิศา พลอยชุม. (2557). อิทธิพลของคุณภาพระบบต่อการใช้งาน ความพึงพอใจ และประโยชน์สุทธิของผู้ใช้บริการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านอินเทอร์เน็ต ในกรุงเทพมหานคร. (ค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ดวงพร ไม้ประเสริฐ. (2564). การพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสวนไผ่ทองสุข ต.โคกตูม อ.เมือง จังหวัดลพบุรี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนยี, 5(2). 101-110.

ธีระพงษ์ เลิศทิฐิวงศ์, วรปภา อารีราษฎร์ และธรัช อารีราษฎร์. (2567). การสังเคราะห์และพัฒนาคู่มือกลไกการบริหารจัดการเทคโนโลยีดิจิทัลแพลตฟอร์มตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการจัดจำหน่ายสินค้าสำหรับวิสาหกิจชุมชน. วารสารวิชาการจัดการเทคโนโลยี, 11(1).

นภัสร์นันท์ เสมอพิทักษณ์. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. (ค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

นฤมล รัตนพันธ์. (2565). การพัฒนาคู่มือการนิเทศภายในด้วยกระบวนการชี้แนะและระบบพี่เลี้ยงสำหรับโรงเรียนในเครือข่ายฉนวนนิพันธ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สุราษฎร์ธานี เขต 3. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 7(3), 741-754.

ปราณี เข็มทอง. (2557). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

ภารดี เทพคายน. (2564). การศึกษาระดับการรับรู้และความเข้าใจของบุคลากรสายสนับสนุน สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ต่อนโยบายความเป็นเลิศด้านการปฏิบัติงานและพฤติกรรมที่สอดคล้องกับนโยบายความเป็นเลิศด้านการปฏิบัติงาน. สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2567, จาก https://www.km.nida.ac.th/th/images/PDF/research/paradeere164.pdf.

ลำไย นียาทองหลาง. (ม.ป.ป.). การจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น. สืบค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://sites.google.com/site/karcadkarphlitphanththxxngthin/kar-cad-cahnay- phlitphanth-thxng-thin.

วนิดา ยาณรักษา, ชวลิต สูงใหญ่ และธีรเชษฐ์ เรืองสุขอนันต์. (2564). การพัฒนารูปแบบการนิเทศที่เน้นการเป็นพี่เลี้ยงทางวิชาการเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูนานาชาติ. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 22(2), 167-187.

วรปภา อารีราษฎ์. (2557). นวัตกรรมระบบการจัดกลุ่มสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเรียนรู้ (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

วิภาวี กฤษณะภูติ. (2559). การจัดการวิสาหกิจชุมชน. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุดารัตน์ เทียนน้อยและวรรณา โชคบันดาลสุข. (2561). การพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนผ่านสื่อพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของกลุ่มสตรีเด็กและเยาวชนปั้นดินไทยประดิษฐ์ จังหวัดราชบุรี. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2565, จาก http://rms.mcru.ac.th/uploads/625431.pdf.

สุธาสินี ตุลานนท์. (2562). การยอมรับเทคโนโลยีที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้สูงอายุ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สุเมธ พิลึก, จิดาพัชญ์ ไชยสิทธิ์และลฎาภา แผนสุวรรณ. (2563). การพัฒนาช่องทางจัดจำหน่ายสินค้าเกษตรแปรรูปในเขตพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ ด้วยระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2565, จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jgsnsbc-journal/article/ download/245884/166237.

ฮวาง ธิ มิ. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาสารคามฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

Davis, F.D. (1985). A Technology Acceptance Model for Empirically Testing New End-User Information Systems: Theory and Results. Massachusetts Institute of Technology.

Fayad, R., & Paper, D. (2015). The Technology Acceptance Model E-Commerce Extension: A Conceptual Framework. Retrieved February 22, 2022, from https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S2212567115009223.

Heerschap, N., Pouw, N., Atme, C. (2018). Measuring online platforms. Retrieved February 5, 2022, from https://www.cbs.nl/-/media/_pdf/2018/51/2018ep58-measuring-online-platforms.pdf.

Herzberg, F., Mausner, B. & Snyderman, B. (1959). The Motivation to Work. 2nd Edition, John Wiley & Sons Inc., New York, 20, 141,147.Maslow, A. H. (1970). Motivation and Personality. New York: Harper and Row.

Purwanto, A., Nurahman, N., & Ismail, A. (2020). Exploring Consumers’ Acceptance of E-Marketplace Using TAM and Flow Theory. Indonesian Journal of Applied Research, 1(3). 170-182.

Turban, E., King, D., Lee, J.K., Liang, T.P., & Turban, D.C. (2015). Electronic Commerce A Managerial and Social Networks Perspective (Eighth Edition). New York: Springer.

Venkatesh, V., & Bala, H. (2008). Technology Acceptance Model 3 and a Research Agenda on Interventions. Decision sciences, 39(2), 273-315.

Venkatesh, V., & Davis, F.D. (2000). A Theoretical Extension of the Technology Acceptance Model: Four Longitudinal Field Studies. Management Science, 46, 186-204.