การพัฒนากาแฟสดพร้อมดื่มที่มีส่วนผสมของไซรับกล้วยหอมทอง

Main Article Content

ณปภา หอมหวล

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องการพัฒนากาแฟสดที่มีส่วนผสมของไซรับกล้วยหอมทองพร้อมดื่ม มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสูตรกาแฟสดพร้อมดื่มที่มีส่วนผสมของไซรับกล้วยหอมทอง 2. เพื่อศึกษาการยอมรับของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์กาแฟสดพร้อมดื่มที่มีส่วนผสมของไซรับกล้วยหอมทอง และ 3. เพื่อศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลิตภัณฑ์กาแฟสดพร้อมดื่มที่มีส่วนผสมของไซรับกล้วยหอมทองได้ผลการวิจัยดังนี้ กาแฟที่ใช้เป็นสายพันธุ์โรบัสต้า ที่มีการคั่วระดับกลาง คือ การใช้ระยะเวลา 14-16 นาที ที่อุณหภูมิสุดท้าย 200-210 องศาเซลเซียส ส่วนของน้ำกล้วยหอมจะนำมาทำเป็นไซรับกล้วยหอมทองได้มาจาก กล้วยหอมสุก 500 กรัม ต่อน้ำตาลทรายแดง 100 กรัม มีค่าความหวาน 76 องศาบริกซ์ ในการวิจัยกาแฟสดพร้อมดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำเชื่อมกล้วยหอมทอง จะใช้วิธีการชงแบบอเมริกาโน่ โดยใช้ไซรับกล้วยหอมทอง ในอัตราส่วน ร้อยละ 5 10 15 20 และ 25 ทดแทนปริมาณน้ำต้มสุก พบว่า ผู้บริโภคมีความพึงพอใจกาแฟสดที่ใส่ไซรับกล้วยหอมทอง ร้อยละ  15 มากที่สุด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05) และ ในด้านคุณค่าทางโภชนาการ พบว่า กาแฟสดน้ำกล้วยหอมทองพร้อมดื่ม 1 ขวด บรรจุ 180 มิลลิลิตร ให้พลังงานงาน 190 กิโลแคลอรี่ ไขมัน 1.5 กรัม น้ำตาล 42 กรัม และมีปริมาณโซเดียม 10 มิลลิกรัม ด้านอายุการเก็บรักษา ทำการเก็บรักษา 2 เดือน ที่อุณหภูมิห้อง พบว่าด้านจุลินทรีย์นั้นเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน กาแฟดำ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติยา วงษ์ขันธ์. (2566) รูปแบบการวิจัยและพัฒนา (R&D) และรูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) . อุบลราชธานี: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2561 สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2566. จาก:https://www. ubu.ac.th/web/files_up/08f2018072012262188.pdf

ธิดารัตน์ เทพรัตน์. (2556). การผลิตไซรับกล้วยน้ำว้า. Pathumwan Academic Journal, 6(16), May-August 2016, 7-14.

มนตรี ศรีวงษ์. (2566). แนวโน้มธุรกิจกาแฟเมืองไทย ปี 2563.สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2566. https://www. thaifranchisecenter.com/document/show.php?docuID=5613.

วุฒิพงศ์ คงนวลมี. (2557). เรื่องการเลือกซื้อกาแฟพร้อมดื่มมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อกาแฟกระป๋องพร้อมดื่มในเขตกรุงเทพมหานคร. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญญบุรี.

อริศรา พร้อมแก้ว. (2560). เรื่องการเลือกซื้อกาแฟสดของผู้บริโภคที่ใช้บริการร้านแก้วกาแฟ. ชลบุรี: วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

Anna V.A. (1998). Consumer Sensory Testing for Product Development. Maryland: An ASPEN;.

AOAC. (2019). Official Methods of Analysis. 21st Edition, Official Methods of Analysis of Bacteriological Analytical Manual Online (BAM online). (2001). Chapter 18: Yeasts, Molds and Mycotoxin. Retrieved from: https://www.fda. gov/Food/Food Science Research/Laboratory Methods/ ucm071435.htm.

Bacteriological Analytical Manual Online. (2016). Chapter 12; Staphylococcus aureus. Retrieved from https://www.fda.gov/food/laboratory-methods-food/bam-chapter-12-staphylococcus-aureus

Bacteriological Analytical Manual Online. (2002). Chapter 4; Enumeration of Escherichia coli and the coliform bacteria, USFDA. 10 pp. from http://www. cfsan.fda.gov.

Sullivan, D.M. and Carpenter, D.E. (1993). Methods of Analysis for Nutrition Labeling AOAC International, Gaithersburg MD 20877, pp. 115-120.