แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างยั่งยืน บ้านผารังหมี อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัย เรื่อง แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างยั่งยืน บ้านผารังหมี อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลกมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของเขตพื้นที่บ้านผารังหมี อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก 2) ประเมินศักยภาพตัวชี้วัดตามมาตรฐานแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรบ้านผารังหมี อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก และ 3) ศึกษาความคิดเห็นต่อการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างยั่งยืน บ้านผารังหมี อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลกเป็นการวิจัยแบบผสมระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญและการวิจัย จำนวน 15 คน การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามกับนักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดพิษณุโลก จำนวน 168 คน และวิเคราะห์โดยใช้เทคนิคทางสถิติคือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวบ้านผารังหมี อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก มีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับองค์ประกอบของแหล่งท่องเที่ยวโดยรวม อยู่ระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน คือ ด้านกิจกรรมการท่องเที่ยว ด้านสิ่งดึงดูดใจ ด้านการรับรู้ และการเข้าถึง อยู่ในระดับมาก และด้านสิ่งอำนวยความสะดวก อยู่ในระดับปานกลาง นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวบ้านผารังหมี อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก มีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับมาตรฐานแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรโดยรวมอยู่ระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน อยู่ในระดับปานกลาง 2 ด้าน คือ ด้านศักยภาพการรองรับของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรและด้านศักยภาพการให้บริการของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร อยู่ระดับมาก 2 ด้าน คือ ด้านศักยภาพการดึงดูดใจของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร และด้านศักยภาพการบริหารจัดการของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวบ้านผารังหมี อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก พบว่า มีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโดยรวม อยู่ระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน อยู่ระดับมากทุกด้าน ดังนี้ ด้านความต้องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ความต้องการในการพัฒนาคนและให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของชุมชน และด้านความต้องการของนักท่องเที่ยวที่สนใจการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
กรมการท่องเที่ยว. (2559). แผนยุทธศาสตร์พัฒนาการท่องเที่ยว พ.ศ. 2566-2570 ของกรมการท่องเที่ยว. สืบค้นจาก https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/63364.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2564). คู่มือการประเมินมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร. สืบค้นจาก https://www.dot.go.th/ebooks/ebooks-view/405.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. สืบค้น จาก https://www.mots.go.th/download/Research/Project ToPromoteSustainableTourism.pdf.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2542). การวางแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน (พิมพ์ครั้งที่ 1). เชียงใหม่: คณะมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เปรมปรีดา ทองลา และนันทภัค บุรขจรกุล. (2565). การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงเกษตรชุมชนปัถวี จังหวัดจันทบุรี.วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 18(2).
สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดพิษณุโลก. (2563). สถิติด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดพิษณุโลก เดือนพฤษภาคม 2563. สืบค้นจาก https://phitsanulok.mots.go.th/article_attach/attch_20200803180725_0.jpg
สุขุม คงดิษฐ์ และคณะ. (2560). รูปแบบและกิจกรรมที่เหมาะสมกับการท่องเที่ยวนิเวศเกษตรอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนสามเรือน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 9(4), 314-326.
Ceballos-Lascurain, H. (20216). Tourism, ecotourism, and protected areas: The state of nature-based tourism around the world and guidelines for its development. Iucn.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities.Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Tourism western of Australia. (2009). Five A's of Tourism. (online). Retrieved from http://www.tourism.wa.gov.au/jumpstartguide/pdf/Quickstart_fiveA's of TourismLOW.pdf.
United Nations Sustainable Development. "Agenda 21." United Nations Conference On Environment & Development Rio de Janerio. Brazil, 3 to 14 June 1992.